ใบนาค
ชื่ออื่นๆ : ใบรวยทอง, ทองลงยา, ทองนพคุณ, ใบทอง, นากนอก
ต้นกำเนิด : โพลินีเซียและเขตร้อนของอเมริกา
ชื่อสามัญ : P. kewense , Gold leaves
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pseuderanthemum atropurpureum.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะของใบนาค
ต้น ลักษณะเป็นพุ่ม ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกจากโคนต้น และเจริญพุ่งตรงขึ้นไปข้างบน ลำต้นกลมเล็กสีขาวปนเทา
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ๆ ตรงกันข้ามลักษณะใบคล้ายรูปหอก ปลายใบแหลมโคนใบสอบ ขอบใบเรียบพื้นใบมีสีเขียวอมม่วง สีขาวม่วงสีชมพูเข้มปนคละกัน ไม่เป็นระเบียบขนาดใบกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร
ดอก ออกเป็นช่อสั้นออกตามส่วนยอดลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร โคนหลอดจะมีกลีบดอก 3 กลีบ ปลายดอกบานมีสีม่วง
การขยายพันธุ์ของใบนาค
ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/แยกต้นมาปลูกได้เลย
ธาตุอาหารหลักที่ใบนาคต้องการ
ประโยชน์ของใบนาค
ปลูกประดับบ้าน ปลูกประดับสวน ปลูกเป็นไม้กระถาง หรือประดับตามแนวรั้ว
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นใบนาคไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเงินมีทองเพราะเป็นไม้มงคลนามนอกจากนี้คนไทยโบราณ
ใบนาค นำมาประกอบพิธีสำคัญทางศาสนาเช่นการทำน้ำพุทธมนน์การขึ้นบ้านใหม่ดังนั้นคนไทยโบราณจึงเชื่อว่า ต้นใบนาคเป็นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นใบนาคไว้ทางทิศตะวันออกหรือทิศใต้ก็ได้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะคนโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นนั้นควรปลูกต้น ใบเงิน ใบทอง ใบนาค ไว้บริเวณเดียว
สรรพคุณทางยาของใบนาค
คุณค่าทางโภชนาการของใบนาค
การแปรรูปของใบนาค
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11517&SystemType=BEDO
www.flickr.com