ผลสุกใช้รับประไข่เน่า
ชื่ออื่นๆ : ขี้เห็น (อุบลราชธานี เลย) ปลู (เขมร-สุรินทร์) คมขวาน ฝรั่งโคก (กลาง)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vitex glabrata R.Br.
ชื่อวงศ์ : LABIATAE
ลักษณะของไข่เน่า
ลักษณะ ไม้ต้น ใบประกอบแบบนิ้วมือ มี 5 ใบย่อย เรียงตรงข้าม ดอกช่อสีม่วงอ่อน ผลสุกสีม่วงดำ
ลักษณะทั่วไป
ต้น :ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปกรวยแตกกิ่งต่ำ
ใบ : ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ก้านช่อใบยาว 7-20 เซนติเมตร มีใบย่อย 3-5 ใบ ใบรูปไข่กลับหรือรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 3-10 เซนติเมตร ยาว 9-22 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบแหลมหรือมน ผิวใบด้านบนเกลี้ยงสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า มีขนสั้นประปราย เส้นแขนงใบข้างละ 9-20 เส้น ก้านใบย่อยยาว 1-7 เซนติเมตร
ดอก : ดอกสีเขียวหรือสีม่วงอ่อน ออกเป็นช่อกระจุกเชิงประกอบตามซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยปลายแยกเป็น 5 แฉกเล็กๆมีขนประปรายทั้งสองด้าน กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปากหลอดบนมี 2 แฉก ปลายกลีบชี้ตั้งขึ้น ปากหลอดล่างมี 3 แฉก ปลายกลีบห้อยลงเล็กน้อยมีขนประปรายด้านนอก ดอกบานเต็มที่กว้าง 0.8-1 เซนติเมตร
เมล็ด( ผล ): ผลอ่อนที่ยังไม่สุกจะมีสีเขียว และแข็งผลที่สุกแก่เต็มที่นั้นสีจะเปลี่ยนเป็นสีดำเทาอ่อนนุ่มนิ่ม ผิว จะมันผลโตประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และมีรสหวานอมเปรี้ยวกลิ่นจะเหม็นผลนั้นจะแก่ในหน้า ฝน ส่วนเมล็ดโตขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย
การขยายพันธุ์ของไข่เน่า
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ไข่เน่าต้องการ
ประโยชน์ของไข่เน่า
ผลใช้รับประทาน กินแล้วหัวดี ช่วยบำรุงสมองได้
สรรพคุณทางยาของไข่เน่า
ราก แก้ท้องเสีย ช่วยเจริญอาหาร แก้ตานขโมย แก้บิด
เนื้อไม้ แก้เลือดตกค้าง
เปลือก แก้ท้องเสีย แก้ตานขโมย ช่วยเจริญอาหาร รักษาโรคเบาหวาน และมีสารจำพวก steroid มีชื่อว่า -sitosterol และecdysterone และ anguside (p-hydroxybenzoic ester of aucubin
ผลสุก แก้ตานขโมย รักษาโรคเบาหวาน แก้โรคเกล็ดกระดี่ขึ้นนัยน์ตา
คุณค่าทางโภชนาการของไข่เน่า
การแปรรูปของไข่เน่า
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12095&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com