ปลาสลิด
ปลาสลิดหรือปลาใบไม้ เป็นปลานํ้าจืด ซึ่งเป็นปลาพื้นบ้านของประเทศไทย มีแหล่งกําเนิดอยู่ในที่ลุ่มภาคกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopodus pectoralis และนิยมเลี้ยงกันมาก บริเวณภาคกลางส่วนที่พบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ นั้นเป็นพันธุ์ปลาที่ส่งไปจากเมืองไทย เมื่อประมาณ 80-90 ปีที่ผ่านมา และเรียกว่า สยามหรือเซียมสำหรับแหล่งปลาสลิดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักว่ามีรสชาติดี เนื้ออร่อย คือ ปลาสลิดบางบ่อจังหวัดสมุทรปราการ แต่ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมได้ขยายตัวอย่างแพร่หลายทําให้น้ำธรรมชาติที่จะระบายลงสู่บ่อเลี้ยงปลาสลิดมี คุณสมบัติไม่เหมาะสม ส่วนพื้นที่ดินพรุทางภาคใต้ในเขตจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวก็สามารถใช้เป็นที่เลี้ยงปลาสลิดได้เพราะปลาสลิดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย อดทนต่อความเป็นกรด และนํ้าที่มีปริมาณออกซิเจนน้อยได้ดี มีห่วงโซ่อาหารสั้น คือ กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารต้นทุนการผลิตตํ่าโดยจะเลี้ยงอยู่ในนาคนเลี้ยงปลาสลิดเรียกว่า ชาวนาปลาสลิด และบ่อเลี้ยงปลาสลิดเรียก แปลงนาปลาสลิดหรือล้อมปลาสลิด กรมประมงจึงได้ส่งเสริมให้เลี้ยงปลาสลิดในพื้นที่จังหวัดอื่น เช่น จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค และส่งเป็นสินค้าออกในรูปผลิตภัณฑ์ปลาสลิดเค็มตากแห้ง
อุปนิสัย ปลาสลิดชอบอยู่ในบริเวณที่มีน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง ตามบริเวณที่มีพันธุ์ไม้น้ำ เช่น ผักและสาหร่าย เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยกําบังตัว และก่อหวอดวางไข่ เนื่องจากปลาชนิดนี้โตเร็วในแหล่งนํ้าธรรมชาติที่มีอาหารพวกพืช ได้แก่ สาหร่าย พืชและสัตว์เล็กๆ จึงสามารถนำปลาสลิดมาเลี้ยงในบ่อและนาข้าวได้เป็นอย่างดี
รูปร่างลักษณะ ปลาสลิดมีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ แต่ขนาดโตกว่า ลําตัวแบนข้างมีครีบ ท้องยาวครีบเดียวสีของลําตัวมีสีเขียวออกเทา หรือมีสีคล้ำเป็นพื้นและมีริ้วดําพาดขวางตามลําตัวจากหัวถึงโคนหาง เกล็ดบนเส้นข้างตัวประมาณ 42-47 เกล็ด ปากเล็กยืดหดได้ ปลาสลิดซึ่งมีขนาดใหญ่เต็มที่จะมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
ปลาสลิดไม่ค่อยจะเป็นโรคร้ายแรง หากนํ้าในบ่อเสียจะสังเกตเห็นปลาขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำเพราะออกซิเจนที่ละลายนํ้าไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขก็คือ ต้องถ่ายนํ้าเก่าออกและระบายนํ้าใหม่เข้าหรือย้ายปลาไปไว้ในบ่ออื่น โดยเฉพาะมักจะเกิดเห็บปลา ซึ่งมีลักษณะตัวแบน สีน้ำตาลใสเกาะติดตามตัวปลามาดูดเลือดของปลากินความเจริญเติบโตของปลาชะงักลง ทำให้ปลาผอมการกําจัดโดยระบายนํ้าสะอาดเข้าไปในบ่อให้มากๆ ตัวเห็บก็จะหายไปได้
การป้องกันโรคระบาดอีกประการหนึ่งก็คือปลาที่จะนํามาเป็นพ่อแม่พันธุ์ ถ้าปรากฏว่า มีบาด แผล ไม่ควรนําลงไปเลี้ยงรวมกันในบ่อ เพราะปลาที่เป็นแผลจะเป็นโรคราและติดต่อไปถึงปลาตัวอื่นได้

การสืบพันธุ์
ลักษณะเพศ
ลักษณะเพศ ปลาสลิดตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถสังเกตความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คือ ปลาตัวผู้มีลำตัวยาวเรียว สันหลัง และสันท้องเกือบเป็นเส้นตรงขนานกัน มีครีบหลังยาวจรดหรือเลยโคนหางมีสีลําตัวเข้มและสวยกว่าตัวเมีย ส่วนตัวเมียมีสันท้องยาวมนไม่ขนานกับสันท้องและครีบหลังมนไม่ยาวจนถึงโคนหางสีตัวจางกว่าตัวผู้ ในฤดูวางไข่ท้องจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้างอัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาสลิด 1:1 เป็นปลาขนาดกลาง นํ้าหนัก 10-12 ตัวต่อกิโลกรัมดีที่สุด
การเพาะพันธุ์ปลา
ปลาสลิด สามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้เมื่อมีอายุ 7 เดือน ขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ยจะมีขนาดตัวยาวประมาณ 6-7 นิ้ว หนัก 130-400 กรัม ปลาสลิดจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม หรือในฤดูฝน แม่ปลาตัวหนึ่งๆ จะสามารถวางไข่ได้หลายครั้ง แต่ละครั้งจะได้ปริมาณไข่ประมาณ 4,000-10,000 ฟอง ในฤดูวางไข่ ท้องแม่ปลาจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้าง ลักษณะของไข่ปลาสลิดมีสีเหลือง ทั้งนี้ควรจัดที่ให้ปลาสลิดวางไข่ภายในเดือนมีนาคม โดยหลังจากที่ได้กําจัดศัตรูระบายนํ้าเข้าและปล่อยพันธุ์ปลาลงบ่อแล้ว ควรปลูกผักบุ้ง รอบบริเวณชานบ่อ นํ้าลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ปลาสลิดจะเข้าไปก่อหวอดวางไข่ และลูกปลาวัยอ่อนจะสามารถเลี้ยงตัวหลบหลีกศัตรูตามบริเวณชานบ่อนี้ได้
การจัดการบ่อเพาะพันธุ์ปลาสลิดเพื่อให้ลูกปลามีอัตรารอดสูง
- ระบายนํ้าเข้าบ่อผ่านตะแกรงที่มีช่องตาขนาด 1 มิลลิกรัม จนท่วมชานบ่อโดยรอบให้มีระดับ สูง 20-30 เซนติเมตร ปลาจะเข้าก่อหวอดวางไข่มากขึ้นอาณาเขตบ่อก็จะกว้างขวางกว่าเดิมเป็นการเพิ่มที่วางไข่ และที่เลี้ยงตัวลูกปลามากขึ้น
- สาดปุ๋ยมูลโคและมูลกระบือแห้งบนบริเวณชานบ่อที่ไข่นํ้าท่วมขึ้นมาใหม่ ตามอัตราการใส่ปุ๋ย จะทําให้เกิดไรนํ้าและผักบนชานบ่อเจริญงอกงามขึ้นอีกด้วย
- ปล่อยให้ผักขึ้นรกในบริเวณชานบ่อ ผักเหล่านี้ปลาสลิดจะใช้ก่อหวอดวางไข่ และเป็นกําบังหลบหลีกศัตรูของลูกปลาในวัยอ่อนจนกว่าจะแข็งแรงเอาตัวรอดได้
การวางไข่
ก่อนปลาสลิดจะวางไข่ ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายเตรียมการเลือกสถานที่และก่อหวอดซึ่งเป็นฟองนํ้าละลายไว้ในระหว่างต้นผักบุ้งโปร่งไม่หนาทึบเกินไป เช่นเดียวกันปลากัดปลากริมและปลากระดี่ ปกติปลาสลิดตัวเมียจะชอบวางไข่ในที่ร่มมากกว่ากลางแจ้ง
เมื่อเตรียมหวอดเสร็จแล้ว ปลาก็จะเริ่ม ผสมพันธุ์กัน โดยตัวผู้จะเริ่มไล่ต้อนตัวเมียเข้าใต้บริเวณหวอด และรัดท้องตัวเมียให้ไข่ออกแล้วปล่อยนํ้าเชื้อเข้าผสมกับไข่ จากนั้น ปลาตัวผู้จะอมไข่เข้าใต้หวอดไข่จะลอยติดอยู่ที่หวอด
นอกจากการเพาะพันธุ์ปลาสลิดในบ่อแล้ว ยังเพาะในภาชนะได้อีกวิธีหนึ่ง คือ ใช้ถังทรงกลม ปากกว้าง 1.50 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 60 เซนติเมตร นํ้าลึกประมาณ 40 เซนติเมตร วางไว้กลางแจ้งโดยทําเป็นเพิงคลุมถังประมาณ 2 ใน 4 ของถัง เพื่อกําบังแดดใช้ผักบุ้งลอยไว้ 3 ใน 4 ของถัง แล้วปล่อยแม่ปลาที่กําลังมีไข่แก่ 10 ตัว ตัวผู้ 10 ตัว หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาเพียง 4-6 วัน ปลาสลิดจะเริ่มก่อหวอดวางไข่ ไข่ปลาจะฟักเป็นตัวและเติบโต เช่นเดียวกับการเพาะฟักในบ่อดิน จากนั้น ให้ช้อนพ่อแม่ปลาออกแล้วเลี้ยงลูกปลาไปแกนโดยให้ไข่ผงหรือไรนํ้าเป็นอาหาร 2 สัปดาห์ จึงให้รําผงละเอียดจนกว่าลูกปลาจะมีขนาดยาว 2 เซนติเมตร เพื่อปล่อยลงบ่อเลี้ยงต่อไป หรือจะนําหวอดไข่จากบ่อเพาะเลี้ยงมาฟักในถังทรงกลมก็จะช่วยให้ลูกปลาสลิดมีชีวิตรอดเป็นจํานวนมากกว่าที่จะปล่อยให้เจริญเติบโตในบ่อเพาะเลี้ยงเองเพราะในบ่อมักมีศัตรูปลาสลิดอยู่ เช่น แมลงในนํ้า กบ งู ปลากินเนื้อ ซึ่งจะคอยทําลายไข่และลูกปลา อัตราลูกปลาจะรอดน้อยกว่าการนําพ่อแม่พันธุ์มาเพาะในภาชนะ
การฟักไข่
ไข่ปลาสลิดจะเริ่มฟักเป็นตัวภายในเวลา 24 ชั่วโมง และทยอยฟักเป็นตัวภายในเวลา 48 ชั่วโมง ไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะเป็นราสีขาว ไม่ออกเป็นตัว ลูกปลาที่ออกจากไข่ใหม่ๆ จะมีถุง อาหารติดอยู่ที่ท้องและยังไม่กินอาหารโดยจะไม่กินประมาณ 7 วัน เมื่อถุงอาหารยุบหมด ลูกปลาจึงเริ่มกินอาหาร ซึ่งจะสังเกตเห็นลูกปลาขึ้นเหนือนํ้าในตอนเช้าตรู่ ลักษณะคล้ายฝนตกลงนํ้าหยิมๆ

การจัดการบ่อเพาะเลี้ยงหรือแปลงนา
ขนาดแปลงนาหรือบ่อปลาสลิด
ถ้าเลี้ยงปลาเป็นอาชีพเสริมเนื้อที่ 1 ไร่ แต่ถ้าเป็นอาชีพหลัก ควรมีเนื้อที่ตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป ในกรณีแปลงนาขนาดเล็กก็สามารถใช้แรงคนได้ โดยปักหลักและขึงเชือกเป็นแนวเขตคันดินและแนวเขตของคู (แนวเขตคันดิน คือ ฐานของดิน ซึ่ง อย่างน้อยต้องกว้างเท่ากับคูและควรห่างแนวเขตคู 1 ศอกถากหน้าดิน หญ้า และกิ่ง ไม้ที่เป็นคันออกให้หมด)
ต่อจากนั้นใช้พลั้วขุดแทงลงดินแล้วดึงขึ้น แทงลงอีกข้างหนึ่งแล้วงัดขึ้นดินจะติดพลั่วขึ้นมา โยนดินไปไว้ในแนวเขตที่จะเป็นคันดิน ซึ่งจะพูนสูงขึ้นเรื่อยๆ และได้คูลึกตามที่ต้องการ ถ้าขุดล้อมนา 1 ไร่จะเป็นความยาวคู 284 เมตร (7 เส้น 2 วา) คูกว้าง 1 วา ลึกครึ่งขา (75 เซนติเมตร) จะเป็นดินที่ขุดขึ้นมา 336 นิ้ว(ลูกบาศก์เมตร) หากขุดคนเดียววันละคิว จะใช้เวลา 168 วัน หรือจ้างคนขุดต้องใช้เงิน 16,800 บาท (ถ้าค่าแรงวันละ 100 บาท) ทั้งนี้ต้องระมัดระวัง คือ อย่าพยายามขุดให้ลึกกว่าครึ่งขาและอย่าเปิดหน้าดินให้มากนัก เพราะถ้า (ดินเปรี้ยว)เปิดหน้าดินมากและลึก นํ้าจะเปรี้ยวมากและเปรี้ยวนานพร้อมกับทําทางนํ้าเข้าออกด้วย
การเตรียมบ่อเลี้ยงหรือแปลงนา
บ่อเลี้ยงปลาสลิดหรือแปลงนาปลาสลิด จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูล้อมทุกด้านหรืออย่างน้อย 2 ด้าน คูต้องกว้างอย้างน้อย 1 วา และลึกอย่างน้อยครึ่งขา (75 เซนติเมตร) ความสูงของคันต้องกันนํ้าท่วมได้ และฐานต้องกว้างกว่าหรือเท่ากับความกว้างของคู ควรมีชานบ่อกว้างอย่างน้อย 1 เมตร สําหรับให้ปลาวางไข่บ่อขนาดเล็กที่สุด มีความกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ลึก 1.50 เมตร ถ้าอยู่ติดกับแม่น้ำลําคลอง ซึ่งมีทางระบายถ่ายเทนํ้าได้สะดวกนับว่าเป็นทําเลดี โดยมีวิธีการเตรียมบ่อ ดังนี้
- การใส่ปูนขาว บ่อที่ขุดใหม่โดยทั่วไปแล้ว ดินมักจะมีสภาพเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อ 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร เพื่อแก่ความเป็นกรดของดินให้เจือจางลง นํ้าก็จะเปลี่ยนแปลงสภาพไปจากธรรมชาติ คือ รักษาความเป็นกลางหรือเป็นด่างเล็กน้อยไว้ได้ ซึ่ง เป็นนํ้าที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะใช้เลี้ยงปลา คือ มีพีเอชอยู่ระหว่าง 6-7 การตรวจสอบนํ้าจะชิมหรือตรวจด้วยกระดาษลิตมัส
- การกําจัดสิ่งรกถ้าเป็นบ่อเก่าที่ไม่เคยใช้เลี้ยงปลา ควรกําจัดวัชพืชต่างๆ ที่รกรุกรังในบ่อปลาให้หมด หากบ่อตื้นเขินไม่เหมาะแก่การเลี้ยงปลาควรสูบนํ้าออกลอกเลนและตกแต่งพื้น บ่อให้มั่นคงแข็งแรง แล้วตากบ่อให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อให้แสงแดดช่วยฆ่าและกําจัดเชื้อโรคต่างๆ
สําหรับบ่อเก่าที่ไม่จําเป็นจะต้องลอกเลน หลังจากได้กําจัดสิ่งรกต่างๆ ในบ่อหมดสิ้นแล้ว ถ้ามีนํ้าอย่างพอเพียงก็สามารถใช้เลี้ยงปลาได้แต่ก่อนจะปล่อยพันธุ์ปลาลงเลี้ยง ควรใช้โลติ๊นฆ่าศัตรูต่างๆ ของปลาในบ่อให้หมดสิ้นเสียก่อน โดยใช้โล่ติ๊นสดหนัก 1 กิโลกรัมต่อนํ้า 100 ลูกบาศก์เมตร ทุบโล่ติ๊นให้ละเอียดแช่นํ้าไว้ โล่ติ๊นสดหนัก 3 กิโลกรัม ใช้น้ำประมาณ 2 ปี๊บ ขยําเอานํ้าสีขาวออกหลายๆ ครั้งจนหมด แล้วนําไปสาดให้ทั่วๆ บ่อปลาต่าง ๆ ที่เป็นศัตรูจะเริ่มตายหลังจากที่ใส่โล่ติ๊นลงไปประมาณ 30 นาที จากนั้นจะตายต่อไปจนหมดบ่อที่ใส่โล่ติ๊นแล้วปล่อยทิ้ง ไว้ประมาณ 7-8 วัน เพื่อให้พิษของโล่ติ๊นสลายตัวหมดเสียก่อน จึงนําพันธุ์ปลาสลิดปล่อยลงเลี้ยงต่อไป
การเตรียมเพาะตะไคร่น้ำ
เนื่องจากตะไคร่น้ำเป็นอาหารจําเป็นสําหรับลูกปลาสลิดขนาดใหญ่ ดังนั้นในขณะที่กำลังตากบ่ออยู่เพื่อมิให้เสียเวลาควรจะเตรียมการเพาะอาหารธรรมชาติสำหรับปลาไปด้วยวิธีการเพาะอาหารธรรมชาติ โดยใช้ปุ๋ยคอกโรยให้ทั่วบ่อ อัตราส่วนปุ๋ยคอก 100 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ไร่ แล้วระบายนํ้าเข้าบ่อให้มีระดับสูงจากพื้นบ่อ 10-20 เซนติเมตร ปล่อยไว้ 7-10 วัน จะเกิดตะไคร่น้ำหรือที่เรียกว่าขี้แดดจากนั้นจึงค่อยระบายนํ้าเข้าบ่อตามระดับที่ต้องถ้าเป็นบ่อใหม่ ภายหลังที่ใส่ปุ๋ยและปล่อยนํ้าเข้าแล้วควรนําเชื้อตะไคร่น้ำที่หาได้จากนํ้าที่มีสีเขียวจัดโดยทั่วไปมาใส่ลงในบ่อเพื่อเร่งให้เกิดตะไคร่น้ำเร็วยิ่งขึ้น
การปลูกพันธุ์ไม้นํ้าในบ่อปลา
เนื่องจากตะไคร่น้ำเป็นอาหารจําเป็นสําหรับลูกปลาสลิดขนาดใหญ่ ดังนั้นในขณะที่กำลังตากบ่ออยู่เพื่อมิให้เสียเวลาควรจะเตรียมการเพาะอาหารธรรมชาติสําหรับปลาไปด้วยบ่อปลาสลิด ควรปลูกพันธุ์ไม้นํ้า เช่น ผักบุ้ง แพงพวย และผักกระเฉด เพื่อให้เหมาะสมกับนิสัยและความเป็นอยู่ของปลาสลิดกล่าวคือ พันธุ์ไม้น้ำแหล่งนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ปลา โดยใช้เป็นอาหารและร่มเงาแล้วยังเป็นที่สําหรับปลาได้วางไข่ในฤดูฝน (ระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม) ปลาจะหาทําเลที่วางไข่ตามที่ตื้นและมีพันธุ์ไม้นํ้าเพื่อก่อหวอดวางไข่กิ่งใบและก้านจะเป็นสิ่งสําคัญในการยึดเหนี่ยวมิให้หลุดพลัดแตกกระจัดกระจายไป และเมื่อไข่ปลาฟักออกเป็นตัวแล้วก็จะเป็นที่ให้ลูกปลาได้อาศัยเลี้ยงตัวกําบังร่มเงาและหลบหลีกศัตรูได้เป็นอย่างดี สําหรับการปลูกพันธุ์ไม้น้ำดังกล่าว ควรจะปลูกตามบริเวณชานบ่อที่มีน้ำตื้นๆ ซึ่งเหมาะสมที่จะเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นที่วางไข่ของปลาสลิดมากกว่าผักที่ขึ้นอยู่กลางบ่อ
การใส่ปุ๋ย
บ่อปลาบางแห่ง ปุ๋ยธรรมชาติในดินไม่เพียงพอที่จะทําให้เกิดจุลินทรีย์ ซึ่ง เป็นสัตว์ที่มีชีวิตเล็กๆ ในนํ้าที่ลูกปลาใช้เป็นอาหารจําเป็นต้องใส่ปุ๋ยคอก ได้แก่ มูลโค มูลกระบือที่ตากแห้งแล้ว โรยปุ๋ยตามริมบ่อในอัตรา10 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 160 ตารางเมตร โดยปกติ ควรใส่ปุ๋ยคอก 2-3 เดือนต่อครั้งการที่จะให้บ่อปลามีอาหารธรรมชาติอยู่เสมอนั้นให้นำปุ๋ยหมักไปกองไว้บริเวณริมบ่อด้านใดด้านหนึ่ง (ปุ๋ยหมักนี้จะใช้หญ้าสดที่ดายทิ้ง กองอัดให้แน่นแล้วใส่ปุ๋ย คอกผสมลงไปด้านใดด้านหนึ่ง (ปุ๋ยหมักนี้จะใช้หญ้าสดที่ดายทิ้งกองอัดให้แน่นแล้วใส่ปุ๋ยคอกผสมลงไปด้วย เพื่อให้หญ้าสดสลายตัวเร็วขึ้นจะช่วยเร่งให้เกิดจุลินทรีย์และไรนํ้าต่างๆ เพื่อใช้เป็นอาหารของปลาสลิดต่อไป
สําหรับการใส่ปุ๋ยต้องระวัง อย่าใส่มากเกินกว่าที่กําหนดไว้ เพราะอาจจะเกิดนํ้าเขียวจัดหรือนํ้า เสีย ถ้าเป็นช่วงที่ฟ้าครึ้ม ไม่มีแดดติดต่อกันหลายวันหรือมีการฟันหญ้าเพิ่มด้วย ทั้งนี้ให้หมั่นตรวจดูสีน้ำ ซึ่งมีกรรมวิธีทดสอบง่ายๆ คือ ถ้าใช้มือกำแล้วหย่อนลงไปในนํ้าระดับข้อศอก แล้วมองไม่เห็นกํามือควรรีบเติมน้ำเข้าหรือสูบน้ำในบ่อพ่นไปในอากาศหากลูกปลายังมีขนาดเล็ก ต้องป้องกันมิให้ลูกปลาเข้าปลายท่อสูบนํ้า วิธีนี้เป็นการเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ในนํ้า

การปล่อยปลาสลิดลงเลี้ยง
เวลาที่เหมาะสมสําหรับการปล่อยปลาก็ คือ เวลาเช้าตรู่หรือเวลาเย็น เพราะเวลาดังกล่าวนํ้าในบ่อไม่ร้อนจัดปลาที่ปล่อยลงไปจะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้และไม่ตายง่าย อัตราส่วนของปลาที่ปล่อยลงเลีี้ยงประมาณ 5-10 ตัว ต่อเนื้อที่ผิวน้ำ 1 ตารางเมตร เป็นอย่างมาก
การให้อาหาร
อาหารที่ปลาสลิดชอบกิน คือ ตะไคร่น้ำ รําละเอียด หรือปลายข้าวต้ม ปนกับผักบุ้งที่หั่นแล้ว แหนสดและปลวกอาหารของลูกปลาวัยอ่อนซึ่งมีอายุ 7-12 วัน ให้ตะไคร่น้ำและไรนํ้าเป็นอาหาร เมื่อลูกปลามีอายุ 21วัน -1 เดือน ให้รําข้าวละเอียดต้มปนกับผักบุ้งที่หั่นละเอียด แหนสด และปลวกบ้าง (ผัก 1 ส่วน รํา 2 ส่วน) ทั้งนี้ต้มผักให้เปื่อยเสียก่อน แล้วจึงเอารําลงไปเคล้าปั้นนเป็นก้อนให้กินเพียงวันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้าระหว่าง 7.00-8.00 น. และเย็น ประมาณ 3-5% โดยใสอาหารบนแป็นซึ่งอยู่ใต้ระดับนํ้า 1 คืบ อย่าให้อาหารเหลือข้ามวัน จะทําให้น้ำเน่าเสียได้ ควรดีดนํ้าให้เป็นสัญญาณ ปลาจะได้เคยชินและเชื่องด้วย
การเพิ่มอาหารธรรมชาติโดยการใส่ปุ๋ยได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้วัว ปุ๋ยขี้ไก่ ฯลฯ ต้องใส่ปุ๋ยก่อน ปล่อยปลาอย่างน้อย 3 วัน ในอัตรา 2 ปี๊บต่อไร่ต่อ 7 วัน โดยตัดหญ้าบนแปลงในระดับยอดหญ้าที่โผล่พ่นนํ้า แล้วทิ้งกระจายไว้บนแปลงนาตัดเพียงครึ่งหนึ่งของแปลง ครบ 15 วัน ตัดอีกครึ่งหนึ่งสลับไปมาและรักษาระดับนํ้าให้ท่วมหญ้าบนนาประมาณครึ่งเข้าตลอดเวลาหลังจากใส่ปุ๋ยคอก 4-5 ครั้งแล้วตัดหญ้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่ถ้านํ้าในแปลงมีสีใสมาก ให้ใส่ปุ๋ยคอกต่อปลาขนาด 5 เซนติเมตร ใช้เวลาเพียง 7-8 เดือน ถ้าปลาขนาด 10 เซนติเมตร ใช้เวลาเลี้ยง 5-6 เดือน ส่วนการเลี้ยงลูกปลาจากพ่อแม่ปลาจะใช้เวลา 10-11 เดือน จับขายได้

หมายเหตุ ถ้าใช้แป้งจะได้อาหารในลักษณะเป็นผง แต่ถ้าใช้ปลายข้าวต้ม ก็จะได้อาหารเปียกต้องตากแดดจึงจะเก็บไว้ได้นานหากไม่ต้องการใช้แป้งหรือปลายข้าวให้เพิ่มรําเป็น 26 กิโลกรัม
การจับปลาสลิด
เมื่อมีความต้องการจะจับลูกปลาสลิดวัยอ่อนไปแยกเลี้ยง ควรใช้กระชอนผ้าช้อนตัก และใช้ขันหรือถังตักลูกปลาทั้งนํ้าและตัวปลาเพื่อมิให้ปลาชํ้า ถ้าเป็นปลาที่โตแล้วโดยสวิงตาถี่ช้อน แล้วใช้ขันตักขึ้นจากสวิงอีกชั้นหนึ่ง หรือลดระดับนํ้าลงทีละน้อยเพื่อให้ปลารู้สึกตัว และหนีลงไปอยู่ในคูโดยเดินตรวจบนแปลงนาว่าไม่มีปลาค้างบนแปลงนาเอาอวนเปลวางไว้ในคูตรงจุดที่ ลึกที่สุด สูบนํ้าออกจากคูทีละน้อย ปลาจะหนีลงไปอยู่ในคูและในอวนจึงรวบหูอวนขึ้น ปลาจะติดอยู่ในอวน
ในกรณีที่ต้องการจับปลาเพื่อใช้ประกอบอาหารประจําวัน ควรใช้ลอบยืนวางไว้ตามมุมบ่อ ถ้าใช้แหทอดหรือสวิงตักที่แป้นอาหารปลาจะเข็ดไม่มากินอาหารหลายวัน
ระยะเวลาที่ควรจับปลาให้หมดทั้งบ่อเพื่อจําหน่าย คือ เดือนมีนาคม เพราะเป็นฤดูที่ปลาไม่วางไข่ โดยใช้เฝือกล้อมและสวิงตักออกจากเฝือกที่ล้อมนั้นแล้วคัดปลาเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อการเพาะเลี้ยงรุ่นต่อไป โดยใช้สูตรอาหาร สปช. 12 วันละ 2% ของนํ้าหนักปลาเป็นเวลาอย่างน้อย 1เดือน ก่อนเพาะฟักวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น

การลำเลียง
- ก่อนการลําเลียง ควรพักปลาไว้ในที่กว้าง เช่น พักในถัง ขนาดใหญ่ และไม่ต้องให้อาหาร
- ใช้ภาชนะปากกว้าง เช่น ปี๊บหรือถัง บรรจุน้ำ 3 ใน 4 ของภาชนะบรรจุ ปลาขนาดใหญ่ในอัตราปี๊บละ 4 ตัว หรือขนาดกลาง 80 ตัว ถ้าเป็นลูกปลาขนาดเล็กก็เพิ่มจํานวนได้มากขึ้นตาม ความเหมาะสม
- ลอยผักบุ้งในภาชนะที่ใช้ลําเลียง และควรมีฝาทีมีช่องตาโปร่ง หรือตาข่ายคลุมภาชนะไม่ให้ปลากระโดดออก
- ระหว่างเดินทางพยายามเปลี่ยนนํ้าทุก 12 ชั่วโมง โดยระวังอย่าให้ปลาบอบชํ้า
- ให้ภาชนะที่บรรจุปลาอยู่ในร่มเย็นเสมอ
- ภาชนะลําเลียงปลา ควรตั้งให้สนิทอย่าให้โคลงเคลง เพราะอาจทําให้ปลาเมานํ้าได้
- เมื่อถึงปลายทาง ต้องรีบย้ายปลาไปอยู่ในภาชนะที่กว้างใหญ่แต่ถ่ายเทนํ้าใหม่ หรืออาจ ปล่อยลงบ่อเลี้ยงเลยก็ได้
การป้องกันและกำจัดศัตรู
ศัตรูของปลาสลิด มีหลายประเภท ดังนี้คือ
- สัตว์ดูด นม เช่น นาก
- นกกินปลาย เช่น นกกระเต็น นกยาง นกกานํ้า และเหยี่ยว
- สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู เต่า ตะพาบนํ้า ฯลฯ
- กบ เขียด
- ปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาไหล จะกินปลาสลิดขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ส่วนปลากริม ปลากัด ปลาหัวตะกั่ว ปลาหมอ มวนวน แมงดาสวน จะกินไข่ปลาสลิดและลูกปลาในวัยอ่อน
ตามธรรมชาติของปลาสลิดย่อมจะรู้จักหลบหลีกศัตรูได้ดี แต่เมื่อนํามาเลี้งงไว้ในบ่อ ปลาสลิด ยากที่จะหาทางหลบหลีกศัตรูได้ จึงจําเป็นจะต้องช่วยโดยการป้องกันและกําจัด
การป้องกันและกําจัดพวกสัตว์ดูด นม สัตว์เลื้อยคลาน โดยทํารั้วล้อมรอบก็เป็นการป้องกันได้ดี ส่วนสัตว์จําพวกนกต้องทําเพิงคลุมแป้นอาหาร เพื่อป้องกันนกโฉบปลาในขณะที่ปลากินอาหารอยู่เป็นกลุ่ม สําหรับปลากินเนื้อชนิดต่างๆ นั้นต้องระวังผักที่จะเก็บลงมาปลูกในบ่อ เพราะอาจจะมีไขปลาติดมาด้วย โดยเฉพาะท่อระบายนํ้าเข้าต้องพยายามใช้ลวดตาข่ายที่มีช่องตาขนาดเล็กกรองนํ้าที่จะผ่านลงในบ่อ และหมั่นตรวจตะแกรงถ้าชํารุดควรรีบเปลี่ยนใหม่
อนึ่ง การล้อมรอบคันบ่อใช้ตาข่ายไนล่อนให้สูง จากพื้นดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร ส่วนล่าง ของตาข่ายให้ฝั่งดินลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ถ้าเป็นที่ลุ่มควรต่อตาข่ายไนลอน 2 ผืน หรือเสริมเฝือกสูงประมาณ 2 เมตร พร้อมทั้ง หมั่นตรวจสอบ หากชํารุดต้องรีบซ่อมแซม
การคำนวณหาจำนวนพ่อแม่พันธุ์

แนวโน้มในอนาคต
ปลาสลิดมีแนวโน้มด้านการตลาดในอนาคตแจ่มใส เพราะปลาสลิดเป็นผลผลิตที่ตลอดต้องการสูง สามารถนํามาประกอบอาหารทั้งในรูปสดและทําเค็ม ตากแห้ง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ปลาสลิดตากแห้งเป็นที่นิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งได้ส่งเป็นสินค้าออกของประเทศอีกชนิดหนึ่งดังนั้น หากมีพื้นที่ที่เหมาะสมและทําการปรับปรุง เพื่อการเลี้ยงปลาสลิดจะช่วยเพิ่มปริมาณอาหารโปรตีน และเสริมรายได้ให้แก่ครอบครัวเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ราคาขายปลาสลิด
ราคาขาย ณ วันที่ 15 เมษายน 2565
- ปลาสลิดตากแห้ง (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 150 บาท
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www4.fisheries.go.th
https://th.wikipedia.org
https://www.simummuangmarket.com
https://www.flickr.com
2 Comments