ต้นชิงชี่ สรรพคุณ ชิงชี่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Capparis micracantha DC.

ชิงชี่

ชื่ออื่นๆ :  กระดาดป่า (ชลบุรี) ชายชู้, หมากมก (ชัยภูมิ) หนวดแมวแดง (เชียงใหม่) คายซู (อุบลราชธานี) พญาจอมปลวก, กระดาดขาว, กระโรกใหญ่, กินขี้, จิงโจ้, แสมซอ, ค้อนฆ้อง, ซิซอ, เม็งซอ, ราม (สงขลา) แส้ม้าทะลาย (เชียงราย) พุงแก, น้ำนอง, น้ำนองหวะ, เม็งซอ, พวงมะละกอ

ต้นกำเนิด :  บังกลาเทศ, จีนตอนใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capparis micracantha DC.

ชื่อพ้อง :  Capparis bariensis Pierre ex Gagnep. Capparis billardieri DC. Capparis callosa Blume Capparis conspicua Wall. Capparis donnaiensis Pierre ex Gagnep. Capparis forsteniana Miq. Capparis hainanensis Oliv. Capparis liangii Merr. & Chun Capparis micracantha subsp. micracanthaCapparis myrioneura Hallier f. Capparis odorata Blanco Capparis petelotii Merr. Capparis roydsiifolia Kurz Capparis venosa Merr.

ชื่อวงศ์ :  Capparaceae

ลักษณะของชิงชี่

ต้น   ไม้พุ่มหรือกึ่งเลื้อย สูง 2-6 เมตร กิ่งก้านอ่อนมีสีเขียว ผิวเรียบเกลี้ยง กิ่งคดไปมา มีหนามยาว 2-4 มิลลิเมตร ตรงหรือโค้งเล็กน้อย ลำต้นสีเทา ผิวเปลือกเป็นกระสีขาว แตกระแหง

ต้นชิงชี่
ต้นชิงชี่ ไม้พุ่มหรือกึ่งเลื้อย

ใบ  ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน รูปรี หรือรูปไข่ กว้าง 3-15 เซนติเมตร ยาว 9.5-24 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือแหลม หรือเว้าเล็กน้อยแล้วเป็นติ่ง โคนใบสอบมนหรือค่อนข้างเว้า ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบค่อนข้างหนา มัน เกลี้ยง หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบเรียบ ก้านใบยาว 0.7-1 เซนติเมตร

ใบชิงชี่
ใบชิงชี่ ใบรูปรี ปลายใบมนหรือแหลม เนื้อใบค่อนข้างหนา มัน เกลี้ยง

ดอก  ดอกเดี่ยว ออกเรียงเป็นแถว 1-7 ดอก ตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ออกเรียงอยู่เหนือง่ามใบ ก้านดอกยาว 1-2 เซนติเมตร กลีบรองกลีบดอก ลักษณะเว้าเป็นรูปเรือแกมรูปไข่ กว้าง 2.5-5.5 มิลลิเมตร ยาว 5.5-13 มิลลิเมตร ขอบมักมีขน กลีบดอกรูปขอบขนาน หรือรูปหอก กว้าง 3-7 มิลลิเมตร ยาว 10-25 มิลลิเมตร สีขาว หลุดร่วงง่าย มี 2 กลีบด้านนอก สีขาวแต้มเหลืองและจะเปลี่ยนเป็นแต้มสีม่วงปนน้ำตาล มีต่อมน้ำหวาน ที่โคนก้านดอก เกสรเพศผู้เป็นเส้นเล็กฝอยๆสีขาว เหมือนหนวดแมวยื่นออกมา มี 20-35 อัน ก้านยาว รังไข่รูปไข่ เกลี้ยง ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน

ดอกชิงชี่
ดอกชิงชี่ กลีบรองกลีบดอก ลักษณะเว้าเป็นรูปเรือแกมรูปไข่ เกสรเป็นเส้นเล็กฝอยสีขาว เหมือนหนวดแมว

ผล  ผลสด ค่อนข้างกลมหรือรี มี 4 ร่องตามยาว ผิวผลเรียบ แข็งเป็นมัน กว้าง 3-6.5 เซนติเมตร สีเขียวน้ำตาล เมื่อสุกสีเหลืองหรือแดง หรือดำ เนื้อรสหวานรับประทานได้ เมล็ดรูปไต สีแดงหรือดำ เป็นมัน อัดกันแน่นเป็นจำนวนมาก ติดผลราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม

ผลชิงชี่
ผลชิงชี่ ผลกลม ผิวผลเรียบ แข็งเป็นมัน

การขยายพันธุ์ของชิงชี่

การเพาะเมล็ด
ขึ้นตามสภาพดินแห้ง หินปูน ป่าละเมาะ ทุ่งหญ้า ที่ระดับต่ำกว่า 500 เมตร

ธาตุอาหารหลักที่ชิงชี่ต้องการ

ปลูกในที่ที่มีแสงแดดและความชื้นปานกลาง

ประโยชน์ของชิงชี่

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ
  • ผลเนื้อรสหวานรับประทานได้

สรรพคุณของชิงชี่

  • ราก รสขมขื่น แก้โรคที่เกิดในท้อง ขับลมภายใน แก้ไข้ร้อนทุกชนิด ไข้พิษ แก้โรคตา โรคกระเพาะ รักษามะเร็ง ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ และเป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตร แก้ไอเนื่องจากหลอดลมอักเสบ แก้หืด รากชิงชี่ใช้ใน “พิกัดเบญจโลกวิเชียร” (ยาแก้วห้าดวง หรือยาห้าราก) ซึ่งได้จากรากไม้ 5 ชนิดคือ รากชิงชี่ รากคนทา รากเท้ายายม่อม รากมะเดื่อชุมพร และรากย่านาง มีสรรพคุณ แก้ไข้ต่างๆ กระทุ้งพิษหรือถอนพิษต่างๆ
  • ทั้งต้น รสขื่นปร่า ตำพอกแก้ฟกช้ำ บวม แก้ไข้ ขับน้ำเหลืองเสีย
  • ใบ รสเฝื่อนเมา เข้ายาอาบ แก้โรคผิวหนัง รักษาประดง ใบต้มดื่ม แก้โรคผิวหนัง แก้สันนิบาต ไข้ฝีกาฬ แก้ตะคริว ใบเผาเอาควันสูดแก้หลอดลมอักเสบ ไข้พิษ ฝีกาฬ ไข้สันนิบาต
  • รากและใบ แก้หืด แก้เจ็บในทรวงอก เป็นยาระงับความร้อน กระทุ้งพิษไข้ออกหัด อีสุกอีใส ตำพอกแก้ฟกช้ำบวม ดอก รสขื่นเมา แก้มะเร็ง ผลดิบ รสขื่นปร่า แก้โรคในลำคอ เจ็บคอ ลำคออักเสบ

คุณค่าทางโภชนาการของชิงชี่

การแปรรูปชิงชี่

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

2 Comments

Add a Comment