ต้นหมัน ผลรับประทานได้ พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ต้นหมัน

ชื่ออื่นๆ : หมัน (ประจวบคีรีขันธ์)

ต้นกำเนิด :  ต้นหมันมีขึ้นทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cordia cochinchinensis Pierre

ชื่อวงศ์ : Boraginaceae

ลักษณะของต้นหมัน

ต้น เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงกลาง สูง 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นสีเทาคล้ำ

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 9.5-15.5 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือแหลมทู่ โคนใบสอบ เส้นแขนงใบข้างละ 5-6 เส้น ก้านใบยาว 2.5-5 เซนติเมตร

ดอก ดอกออกเป็นช่อแบบแยกแขนงตามซอกใบ กิ่งหรือปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10-25 เซนติเมตร สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4-5 แฉก เกสรเพศผู้มี 5 อัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-6 มิลลิเมตร  ดอกออกเกือบตลอดทั้งปี

ผล ผลเป็นแบบผลสดมีเนื้อ ทรงกลม ปลายผลมีติ่งแหลม ขนาด 1.5-2.2 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีชมพูอมส้ม เนื้อผลเป็นยางเหนียวใส ภายในมีเมล็ดเดี่ยวรูปไข่

ต้นหมัน
ต้นหมัน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นสีเทาคล้ำ

การขยายพันธุ์ของต้นหมัน

การเพาะเมล็ด

เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินเลน ต้องการน้ำและความชื้นสูง

ธาตุอาหารหลักที่ต้นหมันต้องการ

ประโยชน์ของต้นหมัน

  • ผลรับประทานได้
  • เปลือกใช้ทำปอ
  • ดอกใช้ยาแนวเรือ
  • เนื้อผลมียางเหนียวใช้ทำกาว
  • พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สรรพคุณทางยาของต้นหมัน

ราก ผสมรากติ้วขน ต้มน้ำดื่ม แก้เจ็บหน้าอก

คุณค่าทางโภชนาการของต้นหมัน

การแปรรูปของต้นหมัน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.bedo.or.th
www.nectec.or.th
ww2.ayutthaya.go.th
www.khaolan.redcross.or.th

One Comment

Add a Comment