ทับทิม ผลไม้รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดมีเนื้อหุ้มที่ฉ่ำด้วยน้ำหวาน

ทับทิม

ชื่ออื่นๆ : พิลา (หนองคาย) พิลาขาว, มะก่องแก้ว (น่าน) มะเก๊าะ (เหนือ)

ต้นกำเนิด : ตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปไปจนถึงแถบเทือกเขาหิมาลัย

ชื่อสามัญ : Pomegranate

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum L. granatum

ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE

ลักษณะของทับทิม

ต้น เป็นไม้พุ่ม สูง 2-5 เมตร แตกกิ่งก้านโปร่งยาว เปลือกต้นสีเทาค่อนข้างเรียบ กิ่งเล็กมักเปลี่ยนรูปเป็นหนามแหลม

ใบ ใบเดี่ยว แผ่นใบแคบ ขอบในเป็นรูปขอบขนาน ยอดอ่อนเป็นสีแดง ใบออกเป็นคู่ ตรงข้ามกัน หรือใบออกสลับกัน หรือออกเป็นกระจุก 2-3 ใบ

ดอก ออกดอกเดี่ยวหรือช่อ 2-5 ดอก ตามซอกใบและปลายยอด ดอกสีส้มแดง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเป็นแฉกแหลม 6 แฉก สีส้มแกมเหลือง กลีบดอกมี 6 กลีบ เกสรเพศเมียและเพศผู้ร่วงง่าย

ผล รูปทรงค่อนข้างกลม เปลือกหนาเกลี้ยง สีเหลืองปนน้ำตาล ปลายผลเป็นแฉกจากกลีบเลี้ยงของดอก เมื่อผลแก่มีสีแดงเรื่อ เมล็ด จำนวนมาก เนื้อหุ้มเมล็ดใสสีชมพูสด รสหวานอมเปรี้ยว ออกดอกและติดผลราวเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม

ต้นทับทิม
ต้นทับทิม ต้นมีกิ่งที่เปลี่ยนไปเป็นหนามยาวแข็ง
ดอกทับทิม
ดอกทับทิม ดอกสีส้มแดง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน

การขยายพันธุ์ของทับทิม

ใช้เมล็ดหรือใช้การตอนกิ่งก็ได้ แต่นิยมเพาะเมล็ดมากกว่า ปลูกได้ในดินทั่วไป แต่ชอบดินเหนียวปนหินและชอบอยู่ใกล้แล่งน้ำ ต้องการแสงแดดมากและเหมาะที่ จะปลูกในต้นฤดูฝน วิธีการปลูกให้ปลูกต้นกล้าก่อนแล้วย้ายเอาไปลงหลุมเมื่อเป็นต้นอ่อนรดน้ำพรวนดิน และบำรุงด้วยปุ๋ยอินทรีย์

ธาตุอาหารหลักที่ทับทิมต้องการ

ประโยชน์ของทับทิม

สาเหตุที่ทับทิมมีความเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งในประเพณี พิธีกรรม มีเรื่องเล่าว่า เพราะเป็นพันธุ์ไม้ที่ถูกนำมาเผยแพร่ในเมืองจีน พร้อมกับพระพุทธศาสนา ซึ่งประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า เมื่อครั้งที่สมณะจีนเหี้ยนจัง ผู้ได้รับฉายาใหม่ ในภายหลังว่าได้ไปอาราธนาพระไตรปิฎกที่อินเดีย ท่านได้นำพันธ์ไม้ต่างๆ มาด้วย และหนึ่งในนั้นก็คือทับทิม ด้วยความที่ทับทิมมีเมล็ดมากจึงสื่อความหมายถึงการให้มีลูกชายมากๆ

ผลทับทิม
ผลทับทิม ผลรูปทรงค่อนข้างกลม เปลือกหนาเกลี้ยง สีเหลืองปนน้ำตาล

สรรพคุณทางยาของทับทิม

ส่วนที่ใช้เป็นยาเปลือกผลแห้ง ช่วงระยะเก็บเป็นยาเก็บในช่วงที่ผลแก่ ใช้เปลือกผลตากให้แห้ง โดยมีรสฝาด เป็นยาฝาดสมานเปลือกผลที่มีรสฝาด เนื่องมาจากมีสารแทนนินประมาณ 22-25% มีกรด gallotannic สารสีเขียวอมเหลือง เป็นต้นเปลือกผลมีฤทธิ์ฝาดสมาน เพราะมีสารแทนนินและมีกรด gallotannic จึงรักษาอาการท้องเดินได้ดี กองวิจัยการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิเคราะห์แล้วพบว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน แต่ถ้าให้ในปริมาณที่สูงอาจจะเป็นพิษได้

วิธีใช้
เปลือกทับทิมใช้เป็นยาแก้ท้องเดินและโรคบิด มีวิธีการใช้ดังต่อไปนี้ คืออาการท้องเดิน ใช้เปลือกผลแห้งประมาณ 1 ใน 4 ของผล ฝนกับน้ำฝนหรือน้ำปูนใสข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกงหรือต้มกับน้ำปูนใสแล้วดื่มน้ำที่ดื่มก็ได้อาการบิด โรคนี้จะมีอากาปวดเบ่งและมีมูกออกมาด้วย หรืออาจจะมีเลือดออกมาปนกับมูก ให้ใช้เปลือกผลแห้งของทับทิมครั้งละ 1 กำมือ (3-5 กรัม) ต้มกับน้ำดื่มดื่มวันละ 2 ครั้ง อาจใช้กานพลูหรืออบเชยแต่งกลิ่นให้น้ำดื่มก็ได้ คุณค่าทางอาหารทับทิมใช้รับประทานเป็นผลไม้มีรสหวานหรือเปรี้ยวอมหวานมี วิตามิน ซี รวมทั้งเกลือแร่อื่นๆอีกช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟันได้ดี

คุณค่าทางโภชนาการของทับทิม

การแปรรูปของทับทิม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11209&SystemType=BEDO
https://www.qsbg.org
https://www.royalparkrajapruek.org
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment