ผักเป็ด สรรพคุณทางยาที่โดดเด่นคือเป็นยาระบาย

ผักเป็ด

ชื่ออื่นๆ : ผักเป็ดแดง ผักเป็ดขาว (ภาคกลาง), ผักเปี๋ยวแดง (ภาคเหนือ), ผักเป็ด ผักเป็ดไทย (ไทย), ผักหอม บะอุ่ม บ่ะดิเยี่ยน (ลั้วะ)

ต้นกำเนิด : อเมริกากลาง

ชื่อสามัญ : ผักเป็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alternanthera philoxeroides Griseb

ชื่อวงศ์ : AMARANTHACEAE

ลักษณะของผักเป็ด

พืชน้ำล้มลุก ลำต้นทอดคลาน หรือลอยเหนือน้ำ ลำต้นตอนล่างมีขนสีขาวตามซอกใบ
ด้านข้างที่ตรงข้ามกัน 2 ด้านของลำต้น มีขนขึ้นเป็นแนว ส่วนอื่นๆเกลี้ยง ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามตัวใบรูปไข่หรือไข่กลับ ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ดอกมีขนาดเล็กสีขาว อัดแน่นเป็น ผลผักเป็ด พบอยู่ในดอก ลักษณะของผลเป็นรูปไตหรือรูปหัวใจกลับ มีขนาดเล็กมาก โดยจะมีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร โดยผลจะร่วงโรยไปพร้อมกับกลีบดอก

ผักเป็ด
ใบแคบ ยาว เรียวแหลม ปลายแหลม ดอกสีขาว

การขยายพันธุ์ของผักเป็ด

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/ออกต้นใหม่ตามเหง้า

ธาตุอาหารหลักที่ผักเป็ดต้องการ

ประโยชน์ของผักเป็ด

ผักเป็ดในบ้านเราจะมีอยู่สองแบบ คือ ผักเป็ดใบกลมและผักเป็ดใบแหลม โดยชนิดใบแหลมมักจะในพบบริเวณที่อยู่ไกลจากแหล่งน้ำ ได้รับแสงน้อย มีสรรพคุณทางยาที่โดดเด่นคือเป็นยาบำรุงโลหิต กระจายโลหิตไม่ให้จับกันเป็นก้อน ๆ แก้ช้ำใน ฟกช้ำ ส่วนชนิดใบกลม (ใบไข่กลับ) จะอยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้ำ ชาวบ้านนิยมนำมารับประทานมากกว่าใบแหลม เพราะใบกลมจะอวบน้ำ เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย มีรสจืด ไม่ขมเหมือนชนิดใบแหลม และมีสรรพคุณทางยาที่โดดเด่นคือเป็นยาระบาย

แพทย์แผนโบราณมักจะนิยมเก็บยอดผักเป็ดก่อนพระอาทิตย์ขึ้น และจะเลือกเก็บเฉพาะต้นที่ดอกยังไม่แก่ เพราะถ้าดอกแก่แล้วสารอาหารในต้นและในใบจะมีน้อย เนื่องจากดอกจะดึงสารอาหารมาใช้ในการสร้างเมล็ด

สรรพคุณทางยาของผักเป็ด

นำมาปรุงเป็นยาฟอกเลือด บำรุงเลือด ดับพิษเลือด และเป็นยา

คุณค่าทางโภชนาการของผักเป็ด

การแปรรูปของผักเป็ด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10568&SystemType=BEDO

Add a Comment