กล้วยป่า
กล้วยป่า มีชื่ออื่นๆว่า กล้วยไข่ (กลาง,เหนือ) กล้วยเถื่อน (ใต้) กล้วยเถื่อนน้ำมัน (ใต้) กล้วยลิง (อุตรดิตถ์) กล้วยหม่น (เชียงใหม่) และปิซังอูตัน (มลายู ปัตตานี) ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa acuminata Colla อยู่ในวงค์ MUSACEAE ลำต้นสูง 4 – 5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร กาบลำต้นมีสีเขียวอ่อน ตรงโคนต้นมีลายประดำ ผลกล้วยป่าจะมีจำนวนหวีต่อเครือไม่เยอะ (ขึ้นกับความสมบูรณ์ของต้น) เครือหนึ่งมี 3 หวี หรือมากกว่า หวีหนึ่งมีประมาณ 10 ผล ดอก(ปลี) มีสีม่วงหรือแดง มีนวล รูปร่างป้อม



กล้วยตีบ
กล้วยตีบ มีชื่อื่นๆ ว่า ตีบดำ, อีตีบ, กล้วยตีบน้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa X paradisiaca L. (ABB group) “Tib-Ta-Nod” อยู่ในวงค์ MUSACEAE เป็นลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี ลำต้นเทียมสูง 3-4 เมตร เส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 20 ซม. สีเขียวไม่มีปื้นดำ ผล เครือหนึ่ง จะมีหวีเพียง 1-2 หวีเท่านั้น แต่ละหวีจะมีผลประมาณ 7-8 ผล ไม่เกิน 10 ผล ผลสุกเป็นสีเหลือง เช่นเดียวกับผลกล้วยตานี แต่เล็กกว่า รสชาติฝาดปนเย็น ผลงอเล็กน้อย ปลายผลมีจุกใหญ่ ผลมีเหลี่ยม 5 เหลี่ยม ดอก (ปลี) ก้านช่อดอก หรือเครือเป็นสีเขียว ไม่มี ขน ใบประดับปลีค่อนข้างป้อมสั้น ปลายมน ด้านบนเป็นสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงเข้มสดใส เมื่อใบประดับกางและจะม้วนงอ



สามารถติดตามความรู้ ข่าวสาร การเกษตรและความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
เรียบเรียงโดย : เกษตรตำบล.คอม
ภาพ : https://www.flickr.com
One Comment