โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ
ผักกาดขาวปลี เป็นพืชสองปี แต่ส่วนใหญ่ปลูกเป็นพืชปีเดียว มีระบบรากแก้ว มีรากแขนงแผ่กระจายจำนวนมาก ขณะมีการเติบโตใบเรียงซ้อนกันเป็นกระจุกแบบดอกกุหลาบ ใบที่อยู่ภายในอัดเรียงกันเป็นปลีทรงกรวยหรือทรงค่อนข้างกลม โดยมีการเรียงใบแบบสลับออกมาจากข้อของลำต้น ใบเรียงซ้อนกันในปลีมีสีเขียวปนขาว ข้อควรระวังในการปลูกผักกาดขาวปลี ช่วงการเจริญเติบโต ต้องระวังธาตุโบรอน ซึ่งจะแสดงอาการ กาบใบแตกเป็นรอยดำ หากเปียกจะเกิดโรคเน่าเละ และจำหน่ายไม่ได้ วันนี้เกษตรตำบลมีลักษณะของโรคผักกาดขาวปลี วิธีป้องกันกำจัดโรค การป้องกันแมลงหนอนที่เป็นศัตรูของผักกาดขาวปลีมาฝากกันค่ะ
โรคของผักกาดขาดปลี
- โรคเน่าเละ (Soft rot)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อราแบคทีเรีย
ลักษณะอาการ เริ่มอาการของโรคเป็นจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาจะเน่าอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อเยื่อเปื่อยและเป็นน้ำภายในเวลา 2-3 วัน ผักจะเน่ายุบตัวหมดทั้งต้นและหัว หรือฟุบแห้ง เป็นสีน้ำตาลอยู่ที่ผิวดิน อาการเน่าจะเกิดส่วนใดก่อนก็ได้ แต่โดยปกติจะเริ่มที่โคนกาบใบหรือตรงกลางต้นก่อน สันนิษฐานว่าเชื้อราบางชนิดทำลายไว้ก่อน
การป้องกันกําจัด
1. ป้องกันมิให้เกิดแผลในระหว่างเก็บเกี่ยวขนส่ง และ การเก็บรักษา
2. ฉีดยาป้องกันแมลงและหนอน
3. ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโบรอนผสมด้วย โดยใช้ปุ๋ยบอแรกซ์ อัตรา 10-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
4. อาจใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น พวกสเตร์ปโตมัยซิน อากริไมซิน ฉีดพ่น

- โรคเหี่ยวของผักกาดขาวปลี (Fusaarium wilt to Chinese Cabbage)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Fusarium Oxysporum
ลักษณะอาการ ผักจะมีใบล่างเหลืองและเริ่มสังเกตได้ง่าย คือ มีใบล่างเหี่ยวแห้งซีกใดซีกหนึ่ง ทำให้ใบเบี้ยวงอไปข้างที่ใบเหี่ยว ต่อมาใบทางซีกนั้นจะเหี่ยวเพิ่มขึ้น และเหี่ยวทั่วต้นในวเลาต่อมา หรือผักเจริญเติบโตแต่เพียงซีกเดียวก่อนแล้วเหี่ยวตาย เมื่อถอนดูรากจะขาดหลุดจากลำต้น เพราะผุเปื่อยเป็นสีน้ำตาล ในดินเหนียวและดินทรายมักพบโรคนี้มาก
การป้องกันกำจัด
1. ก่อนปลูกผักควรมีการเตรียมดินให้ดี มีการใส่ปูนขาวแก้ไขดินเป็นกรดก่อนปลูก
2. ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากในระยะต้นกล้า
3. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับพื้นที่ดังกล่าว
4. ใช้ยาป้องกันกำจัดในโรคนี้มักได้ผลไม่คุ้มค่า - โรคเน่าคอดิน (Damping off)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pythium SP.
ลักษณะอาการ โรคนี้จะเกิดเฉพาะในแปลงกล้าเท่านั้น การหว่านที่แน่นอับลมและต้นเบียดกันมาก มักจะเกิดโรค ต้นกล้ามักจะเกิดอาการเป็นแผลซ้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลเน่าและ แห้งไปอย่างรวดเร็วเมื่อ ถูกแสงแดดทําให้ต้นกล้าหักพับ เพราะมีแผลซ้ำที่โคนต้นระดับดินต้นเหี่ยวแห้งตาย บริเวณที่เป็นโรคจะค่อยๆ ขยายวงกว้างออกเป็นวงกลม
การป้องกันกําจัด
1. ไม่ควรหว่านเมล็ดผักแน่เกินไป
2. ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายน้ำในอัตราความเข้มข้นน้อยๆ ราดลงไปบนผิวดินให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง เช่น เทอราคลอเบนฟอร์ด ซึ่งเป็นยาป้องกันเชื้อราในดินโดยตรงจะมีผลยิ่งขึ้น หรือจะ ใช้ริคโดมิล เอ็มแซด 72 ละลายน้ำรดก็ได้ผลดีหรือใช้ปูน ใส่รดแทนน้ำในระยะที่เป็นต้นกล้าก็จะช่วยให้ต้นกล้าแข็งแรง และไม่ต้องใช้ยาอีกเลย - โรคใบด่างของผักกาดขาวปลี
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Turnip mosaic Virus
ลักษณะอาการ ต้นที่เป็นโรคแสดงอาการใบด่างเขียวสลับเขียวเหลือง แคระแกรนตามบริเวณ เส้นใบจะพบเป็นสีม่วงปะปนอยู่เมื่อเป็นโรครุนแรงขึ้นใบจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลืองทั้งใบและมีลักษณะบิดงอเล็กน้อย
การป้องกันกําจัด
1. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค
2. กำจัดต้นที่แสดงอาการของโรคในระยะแรก โดยการเผาทําลาย
3. ป้องกันกําจัดแมลงพาหะพวกเพลี้ยอ่อนด้วยสารเคมี ไดเมทไทเอท ในอัตรา 30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร

- โรคราน้ำค้าง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Peroros Pora SP.)
ลักษณะอาการ ด้านบนใบเป็นรอยด่างสีเหลืองซีด ต่อมาแสดงอาการไหม้ทับใต้ใบปรากฏเส้น ใยสีขาวเจริญขึ้นมา อาการลุกลามจากใบรอบนอกเข้าสู่ใบดานใน หากเป็นรุนแรงทำให้ใบไหม้
การป้องกันกําจัด
เมื่อเริ่ม พบอาการให้ใช้ ไดเมทเอ็ม หรือ อาโคนิล ฉีดพ่น หากมีการระบาดรุนแรงให้ใช้ เอพรอน 35 ฉีดพ่น 1 ครั้ง - โรคใบจุด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Altennaria SP.)
ลักษณะอาการ เป็นจุดค่อนข้างกลมสีน้ำตาล ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน
การป้องกันกําจัด
ห้ามใช้สารเคมี เบนเลท ฉีดพ่น หากมีระบาดมากให้ใช้สารเคมรอฟรัล สลับกับแอนทราโคล ตามฉลากข้างภาชนะบรรจุ
แมลงหนอน
แมลงหนอนที่สำคัญได้แก่
- หนอนใยผัก
หนอนใยผักเป็นหนอนผีเสื้อที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาหนอนผีเสื้อศัตรูผัก จะมีลักษณะหัวท้ายแหลม เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรงและทิ้งตัวลงดิน โดยการสร้างใย มักจะพบตัวแก่ตามใบโดยเกาะอยู่ในลักษณะยกหัวขึ้น หนอนใยผักเกิดจากการที่แม่ผีเสื้อวางไข่ไว้ ไข่มีขนาดเล็กค่อนข้างแบนสีเหลือง ติดกัน 2-5 ฟอง อายุไข่ประมาณ 3วัน อายุดักแด้ 3-4 วัน ตัวเต็มวัยมีเหลืองเทา ตรงส่วนหลังมีแถบสีเหลือง อายุตัวเต็มวัย 1 สัปดาห์ การทําลายของหนอนใยผักจะกัดกินผักอ่อน ดอกหรือใบที่หุ้มอยู่ทําให้ใบเป็นรูพรุน หนอนใยผักมีความ สามารถในการทนต่อสารเคมี และปรับตัวต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกำจัดได้ดี
การป้องกันกำจัด
1. ใช้สารเคมีกำจัดตัวหนอนโดยตรง
2. โดยการใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัสทรูรินเจนซิส ทําลาย
3. หมั่นตรวจดูแปลงผักกาดขาวปลีเมื่อพบตัวหนอนควรรีบทําลายทันที - หนอนกระทู้ผัก
หนอนกระทู้ผักมักพบบ่อยในพวกผักกาดโดยจะกัดกินใบ ก้านหรือเข้าทําลายในหัวปลี มักจะเข้าทําลายเป็นหย่อมๆ ตามจุดที่ผีเสื้อวางไข่ หนอนชนิดนี้สังเกตได้ง่าย คือ ลําตัวอ้วนป้อม ผิวหนังเรียบ คล้ายหนอนกระทู้หอม มีสีสันต่างกัน มีแถบสีข้างลำตัว แต่ไม่ค่อยชัดนักเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาด 3-4 เซนติเมตร เคลื่อนไหวช้า ระยะตัวหนอนประมาณ 15-20 วัน และจะเข้าดักแด้ตามใต้ผิวดิน ระยะดักแดประมาณ 7-10 วัน การทําลายจะกัดกินก้านใบและปลีในระยะเข้าปลี
การป้องกันกําจัด
1. หมั่นตรวจดูสวนผัก เมื่อพบหนอนกระทู้ผักควรทําลายเสีย เพื่อป้องกันไม่ให้มีการระบาดลุก ลามต่อไป
2. ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เมโธมิล อัตรา 10-12 กรัม/นํ้า 20 ลิตร หรืออาจใช้เมวินพอส 20-30 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร - เพลี้ยอ่อน
ตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้ออกจากท้องแม่ได้โดยที่เพศเมียไม่ต้องผ่านการผสมพันธุ์ตัวอ่อนที่ออก จากตัวแม่ใหม่ๆ พบว่ามีลําตัวขนาดเล็กมากต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ลําตัวสีเหลืองอ่อนนัยตาสีดำ ขาทั้ง 3 คู่ สีเช่นเดียวกับลําตัวการทําลายเพลี้ยอ่อนชนิดที่ทำลายทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยการดูดนํ้าเลี้ยงจากพืชทั้งยอด ใบอ่อน ใบแก่ ช่อดอก ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัด คือ ยอดและใบจะ หยิกงอ เมื่อเพลี้ยอ่อนเพิ่่มขึ้นเรื่อยๆ พืชก็จะเหี่ยวใบผักจะถูกทําลาย จะค่อยๆ มีสีเหลืองและร่วงหล่นลําต้นจะแคระแกรน ถ้าทําลายช่อดอกจะทําให้ดอกร่วงหล่นหลุด ทําให้ผลผลิตลดลง
การป้องกันกําจัด
ควรใช้สารเคมีกลุ่ม มาลาไธออน มีชื่อการค้า เช่น มาลาเทน มาลาไธออน 83% ในอัตรา30- 55ซีซี./น้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง แต่ละครั้ง ห่างกัน 7 วัน นอกจากนั้น อาจใช้ในอัตรา 5 กรัม/นํ้า 20 ลิตร ทําการพ่นเป็นครั้ง คราว ยาชนิดนี้เป็นยาที่เหมาะสําหรับสวนผักหลังบ้าน ปลอดต่อมนุษย์ - หมัดกระโดด พบตลอดปี ฉีดพ่นเซฟวิน 85 หรือแลนเนท เมื่อย้ายปลูก มดทําลายช่วงก่อนกล้างอกสังเกต จากทางเดินมด ป้องกันโดยใช้ เซฟวิน 85 และคูมิฟอสรดแปลงกล้า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com