กล้วยน้ำว้าตะนาวศรี
ชื่ออื่นๆ : กล้วยน้ำว้าไส้เหลือง, กล้วยน้ำว้าดง
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Kluai Namwa Tanao Sri
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa sp.(ABB Group) ‘Kluai Namwa Tanao Sri’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยน้ำว้าตะนาวศรี
ต้น ลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต้นมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นสีเขียวอ่อน มีประดำเล็กน้อย
ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ ใบสีเขียวขึ้นเวียนสลับลำต้น ก้านใบสีเขียว ใบค่อนข้างใหญ่กว่ากล้วยน้ำว้าทั่วไป

ดอก หรือปลี ก้านช่อดอกไม่มีขน ปลายแหลม กาบปลีสีแดงคล้ำอมม่วง รูปไข่ มักม้วนงอขึ้น มีนวลปกคลุม
ผล ออกเป็นเครือผลขนาดค่อนข้างใหญ่ เครือหนึ่ง มี 7 – 10 หวี หวีหนึ่งมี 10 – 16 ผล ผลมีเหลี่ยม ก้านผลยาว เนื้อสีขาวมีรสหวาน มักไม่มีเมล็ด

การขยายพันธุ์ของกล้วยน้ำว้าตะนาวศรี
การแยกหน่อ
แหล่งที่พบมากที่สุด จังหวัด ราชบุรี กาญจนบุรี และเขต ภาคกลาง ภาคตะวันออก ของประเทศ
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยน้ำว้าตะนาวศรีต้องการ
ชอบความชื้น และแสงแดดเต็มวัน
ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้าตะนาวศรี
- รับประทานผลสด
- ดอก(ปลี) นำมาใช้ทำอาหารได้ไม่มีรสฝาด เช่นรับประทานเป็นผักสด คู่กับน้ำพริก ผัดไท ขนมจีน นำดอกไปแกงเลียง แกงข่าไก่ ยำหัวปลี ลาบหัวปลี ทอดมันหัวปลี เป็นต้น
- ใบใช้ในการห่อของ
- ลำต้นเป็นอาหารสัตว์ ทำเชือกกล้วย ทำกระดาษ ทำปุ๋ยหมัก
สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำว้าตะนาวศรี
- ปลีกล้วยมีสรรพคุณทางยาเป็นยารักษาการอักเสบภายในร่างกาย
- ผลสุกช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคภูมิแพ้
- ผิวเปลือกสุกด้านในรักษาโรคส้นเท้าแตกได้
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้าตะนาวศรี
การแปรรูปของกล้วยน้ำว้าตะนาวศรี
- แปรรูปเป็นอาหาร เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยกวน กล้วยทอด(กล้วยแขก) กล้วยปิ้ง กล้วยตาก กล้วยแผ่นอบ กล้วยทอดกรอบ(กล้วยฉาบ) แป้งกล้วย เป็นต้น
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.thaibiodiversity.org, www.qsbg.org