ส้มกุ้งขน
ชื่ออื่นๆ : แม่ฮ้าง (อุบลราชธานี, ประจวบคีรีขันธ์) คราม, ครามกุ้ง, จีนจำ (ประจวบคีรีขันธ์) พระยาราม (ชพ) พุมมะราชา, ตาปลา, ก้างปลา (จันทบุรี) แม่ห้าง (อุตรดิตถ์) ตาไก่ (ใต้) จิ้งจ่ำดง (ชย)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia helferiana Kurz.
ชื่อวงศ์ : MYRSINACEAE
ลักษณะของส้มกุ้งขน
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 3 เมตร กิ่งก้านมีขนปกปุย หนาแน่น
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-7.5 เซนติเมตร ยาว 7-21 เซนติเมตร หลังใบมีขนสั้นๆ ท้องใบมีขนที่ยาวและหนาแน่นกว่าโดยเฉพาะที่เส้นกลางใบ

ดอก ดอกช่อกระจะแกมซี่ร่ม หรือเชิงหลั่น ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมาก มีขนปกปุย หนาแน่น กลีบดอกสีม่วงแกมชมพูมีจุดประสีม่วงเข้มกระจายทั่วไป

ผล ผลสดรูปทรงกลม สีม่วงเข้ม

การขยายพันธุ์ของส้มกุ้งขน
การเพาะเมล็ด
ขึ้นตามริมลำธารหรือที่ลาดชันในป่าดิบชื้น
ธาตุอาหารหลักที่ส้มกุ้งขนต้องการ
ประโยชน์ของส้มกุ้งขน
- สรรพคุณสมุนไพร
สรรพคุณของส้มกุ้งขน
- ใบ แก้ตับพิการ
- ผล บำรุงกำลัง
- รากและลำต้น ต้มน้ำดื่ม เป็นยาอายุวัฒนะ
- ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
คุณค่าทางโภชนาการของส้มกุ้งขน
การแปรรูปส้มกุ้งขน
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, www.flickr.com
กิ่งก้านและใบจะมีขนปกคลุม
ใช้รากและลำต้น ต้มน้ำดื่ม เป็นยาอายุวัฒนะ