กระซิก ไม้พุ่มรอเลื้อย แก่นและรากมีกลิ่นหอมใช้ทำธูป

กระซิก

ชื่ออื่นๆ : กระซิก (ภาคใต้) ขรี, ครี้, สรี้ (สุราษฎร์ธานี) สักขี (นราธิวาส)

ต้นกำเนิด : ขึ้นอยู่ตามป่าโปร่งในที่ลุ่มและตามชายห้วยทางภาคใต้

ชื่อสามัญ : Black Wood

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia parvifiora Roxb.

ชื่อวงศ์ : Papilionaceae

ลักษณะของกระซิก

ต้น ไม้พุ่มรอเลื้อย กิ่งอ่อนมีขนเล็กน้อย เมื่อแก่เกลี้ยง

ใบ ใบประกอบแบบนก ยาว 10 –20 เซนติเมตร เรียงสลับ ใบย่อยมี 5 – 7 ใบ

ดอก ดอกมีขนาดเล็ก กลิ่นหอม ออกบนช่อดอกตามปลายกิ่ง หรือง่ามใบใกล้ยอด

ผล ผลเป็นฝักแบน มีเมล็ดรูปไต เรียงติดตามยาวของฝัก ฝักแก่จะไม่แตกแยกจากกัน

เมล็ด รูปไต มี 1- 2 เมล็ด สีน้ำตาลอมแดง

ต้นกระซิก
ต้นกระซิก ไม้พุ่มรอเลื้อย
ใบกระซิก
ใบกระซิก ใบประกอบแบบขนนก

การขยายพันธุ์ของกระซิก

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กระซิกต้องการ

ประโยชน์ของกระซิก

  1. เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องกลึง แกะสลัก เครื่องดนตรี
  2. แก่นและรากมีกลิ่นหอมใช้ทำธูป ลักษณะคล้ายไม้ชิงชัน
  3. ต้นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสตูล โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของกระซิก

  • เนื้อไม้ ใช้เป็นยาแก้ไข้
  • น้ำมันจากเนื้อไม้ ใช้รักษาแผลเรื้อรัง

คุณค่าทางโภชนาการของกระซิก

การแปรรูปของกระซิก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10956&SystemType=BEDO
www.rspg.or.th, www.flickr.com

One Comment

Add a Comment