กล้วยตานีดำ
ชื่ออื่นๆ : กล้วยตานีดำ, กล้วยดำอินโด
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa balbisiana Colla “Kluai Tani Dam”
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยตานีดำ
ต้น ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 4.5-5 เมตร และเส้นรอบวงเฉลี่ย 86.5 ซม. สีลำต้นเป็นสีเขียวอ่อน มีปื้นสีน้ำตาลดำมาประมาณ 90% ของลำต้น
ใบ ใบสีเขียว เส้นกลางใบสีเขียวปนน้ำตาลดำไม่มีร่อง บริเวณฐานใบไม่เท่ากัน แบบมนทั้งสองด้าน
ดอก หรือปลีก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับรูปไข่ป้อม ปลายเรียวและแตก ใบประดับด้านนอกสีม่วงอมเทา มีนวลหนา ใบประดับด้านในบริเวณโคนสีเหลือง ปลายสีแดงอมม่วงสม่ำเสมอ ใบประดับไม่ม้วน และไม่หลุดร่วง การเรียงของใบประดับซ้อนกันลึก สีดอกตัวเมียสีเหลืองและตัวผู้ชมพูอมแดง มีกลีบรวมเดี่ยวสีขาว กลีบรวมใหญ่ มีสีขาวและมีสีชมพูเข้มด้านฐานกลีบ
ผล เครือมีขนาดใหญ่ มีจำนวนหวีประมาณ 10-11 หวี เรียงซ้อนกันเป็นระเบียบไม่บิดวน สีผลมีสีเขียวเข้มใกล้เคียงกับกล้วยตานี ผลรูปทรงกระบอกคล้ายกล้วยน้ำว้า ก้านผลสั้น ผลสุกสีเหลืองเข้ม เนื้อในสีขาว มีรสหวาน มีเมล็ดมาก เมล็ดมีสีดำ เปลือกเมล็ดหนาแข็ง
การขยายพันธุ์ของกล้วยตานีดำ
การแยกหน่อ ไม่นิยมเพาะด้วยเมล็ด เนื่องจากโตช้า
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยตานีดำต้องการ
ชอบความชื้น กลางแจ้ง ชอบดินเหนียวปนทราย
ประโยชน์ของกล้วยตานีดำ
- ผลดิบ ที่เมล็ดยังไม่แก่หรือแข็งปรุงเป็นส้มตำ เรียกว่า “ตำกล้วยตานี”
- ผลสุกกินสดได้
- หยวก ปลี ทำส้มตำได้เช่นกัน หรือเอาไปแกงใส่ไก่ ปลา ผัด และลาบ รสชาติอร่อย
- ใบสามารถนำไปห่อขนม หรือทำบายศรี ในพิธีการต่าง ๆ
**ผลสุกของ “กล้วยตานีดำ” หรือ กล้วยตานีทั่วไปจะมีรสหวานหอม แต่ไม่นิยมรับประทาน เนื่องจากมีเมล็ดมากนั่นเอง ติดเครือและผลปีละครั้ง**
สรรพคุณทางยาของกล้วยตานีดำ
- ใบแห้งต้มน้ำอาบรวมกับใบมะขามแก้ผดผื่นคัน
- ผลอ่อนฝานเป็นแว่นๆ ตากแห้งบดกินแก้ท้องเสีย
- ยางใช้ ห้ามเลือด
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยตานีดำ
การแปรรูปของกล้วยตานีดำ
การใช้สอยอื่นๆ กาบลำต้นใช้ทำเชือก ต้นแกะสลักลวดลาย
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : www.qsbg.org, สวนลุงทด ร้อยแปดพันธุ์กล้วย
One Comment