กล้วยตีบคำ
ชื่ออื่นๆ : กล้วยตีบใหญ่, กล้วยตีบคำ
ต้นกำเนิด : พบขึ้นทั่วไปตามป่าธรรมชาติในทุกภาคของประเทศไทย
ชื่อสามัญ : Kluai Tip Kam
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa Xparadisiaca ‘Kluai Tip Kham’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยตีบคำ
ต้น ลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 3.5-4.0 ม. เส้นผ่านศูณย์กลางมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีชมพู มีประสีน้ำตาลหนา ตรงโคนมีสีเขียวอมชมพู กาบลำต้นด้านในสีขาวปนชมพู มีไขมาก
ใบ ก้านใบยาวประมาณ 1.0-1.5 ม. ร่องก้านใบตื้น ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้างประมาณ 25-35 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ท้องใบมีนวลสีขาว หน้าใบสีเขียวสดเป็นมัน
ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายมน และม้วนขึ้น ด้านบนสีแดงอมเทา มีนวลปานกลาง ด้านล่างสีแดง การจัดเรียงของใบประดับซ้อนกันไม่มาก เครือห้อยลง
ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวีขึ้นไป หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลมีขนาดใกล้เคียงกับกล้วยหักมุกและกล้วยส้ม มีเหลี่ยม มีจุกใหญ่แต่สั้นกว่ากล้วยหักมุก ผลสุกมีสีเหลืองอมส้ม มีรสหวาน ไม่มีเมล็ด
การขยายพันธุ์ของกล้วยตีบคำ
การแยกหน่อ, การแยกเหง้า, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยตีบคำต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยตีบคำ
- ผลใช้รับประทานสด
- ส่วนใหญ่นิยมปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรเท่านั้น
สรรพคุณทางยาของกล้วยตีบคำ
ตำรายาโบราณระบุว่า
- รากหรือเหง้า อยู่ในพิกัด “ตรีอมฤต” นำไปต้มน้ำดื่ม เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้อุจจาระเป็นเลือดเป็นมูก รากหรือเหง้า ผสมสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้ได้สารพัดโรค
- ใบแห้ง ใช้มวนกับยาเส้นที่ผสมสมุนไพรอื่นสูบแก้ริดสีดวงจมูก ใบแห้ง ยังเอาไปต้มน้ำอาบเป็นยาแก้ผื่นคันตามตัวตามผิวหนังได้ด้วย ยาพื้นบ้านทางภาคเหนือเอาใบแห้งผสมสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้ซางปากเปื่อยได้
- ใบสด ของ “กล้วยตีบ” ตำพอละเอียด ห่อผ้าขาวบางอังไฟอ่อนๆ เป็นลูกประคบแก้ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อได้ดีระดับหนึ่ง
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยตีบคำ
การแปรรูปของกล้วยตีบคำ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com