กล้วยน้ำเชียงราย
ชื่ออื่นๆ : กล้วยน้ำเชียงราย
ต้นกำเนิด : จังหวัดทางภาคเหนือตลอดลงมาตามแหล่งที่อยู่ของชุมชนกะเหรี่ยงทางภาคตะวันตกของประเทศไทย
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (ABB Group) ‘Nam Chiangrai’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยน้ำเชียงราย
ต้น ลำต้นขนาดกลาง กาบลำต้นด้านอกตอนล่างสีแดง ตอนบนสีเขียวคล้ำมีนวลเล็กน้อย กาบด้านในสีแดงเจือชมพู
ใบ ใบยาวประมาณ 3 เมตร แผ่นใบกว้างสีเขียวหม่น ท้องใบมีนวล ก้านใบสีเขียวอ่อนร่องใบกว้างมีของสีชมพูเรื่อ ใบลู่โค้งเล็กน้อย่อนข้างเปราะ
ดอก หรือปลีรูปทรงกระบอกปลายแหลมขนาดค่อนข้างใหญ่ ก้าบด้านนอกสีแดงคล้ำ กาบด้านในสีแดงสด
ผล ผลมีเหลี่ยมเล็กน้อยคล้ายกล้วยน้ำว้า ผลดิบสีเขียวจัด ผลสุกสีเหลืองเข้มเปลือกหนา เนื้อเหนียวสีครีม ไส้ค่อนข้างแข็ง รสหวานเย็น กล้วยน้ำเชียงราย เป็นตระกูลกล้วยน้ำว้า รสชาติคล้ายกล้วยน้ำว้า ถ้าสมบูรณ์ลูกจะใหญ่พอๆ กับกล้วยหักมุก
การขยายพันธุ์ของกล้วยน้ำเชียงราย
การแยกหน่อ
การปลูก ขุดหลุมกว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยมะพร้าวสับหรือปุ๋ยหมักให้สูงนูนขึ้นมา 20 เซนติเมตร เสร็จแล้ววางหน่อกล้วยลงไปกลางหลุม เอาดินกลบ 1 ชั้น กดให้แน่น แล้วเอาดินกลบอีกชั้นไม่ต้องกดให้แน่น แล้วเอาฟางคลุมรอบต้นกล้วย เสร็จแล้วรดน้ำ ถ้าดินชื้นหรือฝนตกไม่ต้องรดน้ำ และเว้นระยะปลูกอย่าให้ใกล้กันมากเกินไป
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยน้ำเชียงรายต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยน้ำเชียงราย
- ผลสุกรับประทาน
- ใบตองใช้ห่อของ
**กล้วยชนิดนี้ผ่านความร้อนจะทำให้มีรสฝาดเล็กน้อย**
สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำเชียงราย
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำเชียงราย
การแปรรูปของกล้วยน้ำเชียงราย
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.scitech.kpru.ac.th
ภาพประกอบ : www.qsbg.org, www.pantip.com