กล้วยหอม การปลูกขยายพันธุ์ ประโยชน์สรรพคุณ คุณค่าโภชนาการ และแปรรูปกล้วยหอม

กล้วยหอม การปลูกขยายพันธุ์ ประโยชน์สรรพคุณ คุณค่าโภชนาการ และแปรรูปกล้วยหอม

ชื่ออื่นๆ : –

ต้นกำเนิด  :  เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ  :  Kluai Hom , Banana (กล้วยหอม )

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Musa Sapientum

ชื่อวงศ์  : Musaceae

ชื่อภาษาอังกฤษ : Cavendish Banana

กล้วยหอม การปลูกขยายพันธุ์ ประโยชน์สรรพคุณ คุณค่าโภชนาการ และแปรรูปกล้วยหอม
กล้วยหอมห่าม

ลักษณะของกล้วยหอม

กล้วยหอม เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอมจันท์ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว โดยกล้วยหอมเขียวหรือกล้วยหอมคาเวนดิชเป็นกล้วยหอมที่นิยมปลูกทั่วไป จัดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามหลักทางโภชนาการ เช่น มีวิตามิน ใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย มีสารแทนนิน ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ Escherichia coli เป็นต้น กล้วยหอมถูกจัดเป็นผลไม้เมืองร้อน สามารถปลูกได้เกือบทุกประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นหลายแห่ง สำหรับประเทศไทย สามารถปลูกกล้วยหอมได้ทั่วทุกภาค ลำต้นสูง 2.5 – 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำ ด้านในสีเขียวอ่อนและมีเส้นลายสีชมพู ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และ มีปีก เส้นกลางใบสีเขียวก้านเครือมีขน ปลีรูปทรงกระโปก ค่อนข้างยาวมรขนตรงโคน ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง มีไข ด้านในสีแดงซีด ติดผลเป็นเครือ เครือหนึ่งมี 4 – 6 หวี หวีหนึ่งมี 12 – 16 ผล กว้าง 3 – 4 เซนติเมตร ยาว 21 – 25 เซนติเมตร ปลายผลมีจุกเห็นชัดเปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม รสหวาน

การขยายพันธุ์ของกล้วยหอม

  • กล้วยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด
  • กล้วยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้หน่อ
  • กล้วยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture)

การปลูก

การเตรียมดิน :

ไถดะ 1 ครั้ง ตากดินแล้วไถพรวน 1-2 ครั้ง ให้ดินร่วนซุยจนหมดวัชพืช ถ้ามียังวัชพืชอยู่มากกว่าร้อยละ 20 ต้องไถพรวนใหม่
การเตรียมหลุมปลูก: ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 2×2 เมตร ขนาดหลุมปลูก ขนาด 30x30x30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ ด้วย 5 กิโลกรัมต่อหลุม
การเตรียมพันธุ์และการปลูก: ใช้หน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปราศจากศัตรูพืช หน่อยาว 25-35 เซนติเมตร มีใบแคบ 2-3 ใบ วางหน่อพันธุ์ที่ก้นหลุม จัดวางให้ด้านที่ติดต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้มีการออกดอกไปในทิศทางเดียวกัน และสะดวกในการดูแลรักษา กลบดินและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง และรดน้ำให้ชุ่ม

การดูแล

การให้น้ำ: ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก
การให้ปุ๋ย: ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 และ 2 เมื่อกล้วยหอมอายุ 1 และ 3 เดือน ด้วยสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 หรือสูตร ใกล้เคียงอัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 และ 4 เมื่ออายุ 5 และ 7 เดือน ด้วยสูตร 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก) ปีละ 1-2 ครั้ง
การแต่งหน่อ: หลังจากปลูกกล้วยประมาณ 5 เดือน ให้แต่งหน่อ เพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์
การค้ำยันต้น: ต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุกต้น ที่ออกปลีแล้ว เพื่อป้องกันลำต้นหักล้ม และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง
การหุ้มเครือ และตัดใบธง: การหุ้มเครือกระทำหลังจากตัดปลีไม่เกิน 15 วัน เพื่อให้ผิวกล้วยสวย และป้องกันแมลงทำลายด้วยถุงพลาสติกสีฟ้า แบบเปิดด้านล่าง โดยหุ้มทั้งเครือ และหุ้มทุกเครือ ส่วนการตัดใบธง ตัดเมื่อใบธงเริ่มหักก่อนที่จะเสียดสีกับผิวกล้วย

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยหอมต้องการ

กล้วยหอม เป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายพบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เหมาะกับดินที่ร่วนซุย และดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี สามารถขยายพันธุ์ด้วยหน่อหรือเหง้า แต่มีข้อจำกัดว่ากล้วยหอมไม่ชอบดินที่มีน้ำขัง

ประโยชน์ของกล้วยหอม

กล้วยหอมสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น

  • ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล ราก ยางกล้วยจากใบ เปลือกกล้วยหอม
  • ส่วนที่ใช้ในงานฝีมือ ห่ออาหาร เลี้ยงสัตว์ : ลำต้น ใบ
    1. ลำต้น ใช้เป็นฐานกระทง หรือใช้หั่นเลี้ยงสัตว์
    2. ใบ ใช้ห่ออาหารจะทำให้อาหารคล้ำดำ ไม่น่ารับประทาน
  • ส่วนที่ใช้ด้านการเกษตร : เปลือกกล้วยหอม
    1. นำเปลือกกล้วยหอมวางไว้รอบๆ โคนต้นกุหลาบ แล้วโกยดินทับประมาณ 1 นิ้ว จะช่วยให้กุหลาบแตกกิ่งเร็วขึ้น

สรรพคุณทางยาของกล้วยหอม

  • ผล ขับปัสสาวะ
  • ยางกล้วยจากใบ ใช้ห้ามเลือด
  • ผลดิบ ช่วยแก้โรคท้องเสีย สมานแผลในกระเพาะอาหาร
  • ผลสุก ใช้เป็นอาหาร กระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สดใสและมีความสุข เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่มีอุจจาระแข็ง ช่วยทุเลาอาการปวดท้อง ก่อนหรือขณะมีประจำเดือนได้ สามารถกระตุ้นความตื่นตัวให้กับสมองได้ หรือแม้กระทั่งช่วยทุเลาจากอาการเมาค้างเนื่องจากการดื่มสุรา ของมึนเมา นอกจากนี้การกินกล้วยหอม 1-2 คำ ระหว่างมื้อเช้า เที่ยงหรือเย็น ยังทุเลาอาการแพ้ท้องได้
  • ราก ใช้ต้มน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
  • เปลือกกล้วยหอม สามารถลดอาการคันหรือบวม จากบริเวณที่ถูกยุงกัดได้ โดยใช้เปลือกด้านใน หรือการนำเปลือกกล้วยหอมมาด้มน้ำดื่ม พบว่าสามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ พบว่า หากเราใช้ด้านในของเปลือกกล้วยหอมสุก ถูเบาๆ บริเวณที่มีรอยหยาบกร้าน ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาดตามปกติ จะทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื่นขึ้น รอยหยาบกร้านจางหายไป

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยหอม

  • กล้วยหอมมีคุณค่าทางโภชนาการต่อปริมาณ 100 กรัม
  • กล้วยหอมให้พลังงานถึง 125 กิโลแคลอรี่
  • กล้วยหอมให้น้ำ 66.3 กรัม
  • กล้วยหอมให้โปรตีน 0.9 กรัม
  • กล้วยหอมให้ไขมัน 0.2 กรัม
  • กล้วยหอมให้คาร์โบไฮเดรต 29.8 กรัม
  • กล้วยหอมให้กากอาหาร 0.3 กรัม
  • กล้วยหอมให้ใยอาหาร 1.9 กรัม
  • กล้วยหอมให้เถ้า 0.9 กรัม
  • กล้วยหอมให้แคลเซียม 26 มิลลิกรัม
  • กล้วยหอมให้ฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม
  • กล้วยหอมให้เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม
  • กล้วยหอมให้เบต้า-แคโรทีน (โปร-วิตะมินเอ) 99 ไมโรกรัม
  • กล้วยหอมให้ไทอะมีน (วิตะมินบี 1) 0.04 มิลลิกรัม
  • กล้วยหอมให้ไรโบฟลาวิน (วิตะมิน 2) 0.07 มิลลิกรัม
  • กล้วยหอมให้ไนอะซีน 1.0 มิลลิกรัม
  • กล้วยหอมให้วิตะมินซี 27 มิลลิกรัม

การแปรรูปของกล้วยหอม

       ในบรรดากล้วยแต่ละพันธุ์ กล้วยหอม ถือได้ว่าเป็นที่ได้รับความนิยม จึงสามารถนำมาแปรรูปเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายวิธี เช่น เค้กกล้วยหอม, โรตีกล้วยหอม, สลัดกล้วยหอม, น้ำกล้วยหอมปั่น เป็นต้นค่ะ

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับกล้วยหอม

References : th.wikipedia.org

รูปภาพจาก : mage.ec21.com,

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

Add a Comment