การขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยเมล็ด

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis Pierre ชาวบ้านแถวจังหวัดสุรินทร์ เรียก ผักหวาน ชื่อที่เรียกกันทั่วไปคือ ผักหวาน ซึ่งอาจสับสนกับผักหวานบ้านที่จะกล่าวถึงในตอนท้าย

ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมตร แค่ที่พบทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื้องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่ง และยอดอ่อน ซึ่ง เป็นส่วนที่ใช้บริโภคใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลืองใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้างถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับใบสีเขียวเข้ม เนื้อ ใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบ ประมาณ 2.5-5 ซม. X 6-12 ซม. ก้านใบสั้น ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลําไย และเกิดตามกิ่งแก่หรือตามลำต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่ม สีเขียวอันดันแน่นเป็นกระจุกขณะ ที่ยังอ่อนอยู่ ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาดแต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 ซม.ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงเหลืองอมส้ม เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว

มีพืชอีกชนิดหนึ่งอาจเรียกว่าผักหวานด้วยเช่นกัน ชนิดนี้มีชื่อ ใน 3-6 เมล็ดผักหวานชนิดนี้รับประทานยอดอ่อนได้เช่นเดียวกันมีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น มะยมป่า ผักหวาน ผักหวานบ้าน ผักหวานใต้ใบเป็นต้น

ผักหวานป่า
ผักหวานป่า ใบรูปรี ปลายใบแหลม

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์ผักหวานป่าที่ได้ผลดีที่สุด ในปัจจุบัน คือ วิธีการเพาะเมล็ด เนื่องจากวิธีการอื่นๆ เช่น การตอน การตัดชํา มีเปอร์เซนต์การออกรากต่ำมาก และใช้เวลานานไม่น้อยกว่า 4 เดือน จึงจะออกราก รวมทั้งจํานวนกิ่งที่ได้น้อยเนื่องจากต้นแม่พันธุ์หายาก

การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจึงเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลมากที่สุด โดยมีเงื่อนไขและวิธีปฏิบัติ ดังนี้

  1. คัดเฉพาะผลผักหวานป่าที่สุกและสดใหม่เท่านั้น
  2. แยกเนื้อหุ้มเมล็ดทิ้ง และขัดล่างเมล็ดให้สะอาด ด้วยตะแกรงหรือภาชนะที่มีผิวหยาบ เช่น ในกระด้งหรือเข่งไม้ไผ่ ควรใส่ถุงมือยางขณะทํางาน เนื่องจากเนื้อหุ้มเมล็ดมีสีที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง
  3. นําเมล็ดที่ขัดสะอาดแล้วแช่น้ำ แยกเมล็ดที่ลอยนํ้าออก
  4. นําเมล็ดที่จมนํ้าขึ้นผึ่งพอสะเด็ดนํ้า คลุกด้วยยากันราให้ทั่วแล้วนําขึ้นเกลี่ย ในกระด้งหรือตะแกรงห้เป็นชั้นหนาไม่เกิน 1 นิ้ว คลุมตะแกรงด้วยกระสอบป่าน ที่ชุบนํ้าหมาดๆ เก็บไว้ในที่ร่ม 2-3 วัน
  5. ตรวจดูเมล็ด ถ้าเปลือกเมล็ดเริ่ม แตกร้าว ให้นําไปเพาะในถุงพลาสติกที่มีความลึกไม่น้อยกว่า 8 นิ้ว
  6. วัสดุที่ใช้เพาะได้ผลดีควรใช้ดินลูกรังทรายหยาบและปุ๋ยคอกเก่า หรือใบไม้ผุ ร่อนด้วยตะแกรงตาถี่ครึ่งเซนติเมตร ผสมกันในอัตราส่วน 1:1:1 โดยปริมาตร
  7. วิธีเพาะให้กดเมล็ดด้วยนิ้วมือพอให้เมล็ดจมเสมอผิวดินหรือโผล่พ้นผิวดินเพาะเล็กน้อย นําไปไว้ใต้ร่มเงาที่มีความเข้มแสงประมาณ 40-50% 
  8. ดูแลรดนํ้าให้พอวัสดุเพาะชื้น ระวังอย่าให้แฉะในช่วงเดือนแรกผักหวานป่าจะมีการพัฒนาของระบบรากอย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าเดือนที่ส่องจึงเริ่มทะยอยแทงยอดขึ้นพ่นดินให้เห็นบ้าง หลังจากเพาะได้ 2 เดือนครึ่ง ต้นผักหวานป่าจะสูงประมาณ 5-10 ซม. หลังจากนี้อาจใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 15-15-15 ผสมนํ้าฉีดพ่นกล้าทุก 2 สัปดาห์ การเจริญเติบโตของลําต้นเหนือดินใน ปีแรกจะช้ามาก
การขยายพันธุ์
การเตรียมเม็ดผักหวาน เพื่อนำไปปลูก

การปลูกและบำรุงรักษา

ควรเริ่มเตรียมหลุมปลูกในช่วงหลังสงกรานต์ โดยขุดหลุมขนาด 50×50 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ย คอกหรือปุ๋ย หมักประมาณครึ่งปี๊บ คลุกเคล้าผสมกับหน้าดิน โดยลงหลุมทิ้งไว้ 2-3 อาทิตย์ในขณะเดียวกันก็เริ่มสร้างความแข็งแรงให้ต้นกล้าก่อนย้ายปลูกลงหลุมจริงด้วยการรดนํ้าให้น้อยลง ให้ต้นกล้าได้รับ แสงแดดเพิ่มขึ้นทีละน้อย ละลายปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรท ความเข้มข้นไม่เกิน 2% (1กรัมต่อนํ้า 50 ลิตร) รดต้นกล้าก้อนย้ายปลูก ประมาณ 2 อาทิตยและงดให้นํ้า 1 วัน ล่วงหน้าก่อนย้ายปลูกในการถอดถุงพลาสติกเพื่อนํากล้าลงปลูกในหลุมต้องระวังอย่าให้กระเปาะดินแตกหักหรือรากขาด เพราะจะทําให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโตเป็นเวลานานการปลูกควรให้ต้นสูงกว่าปากหลุมประมาณ 5 ซม. แล้วพูนดินกลบโคนขึ้นโดยรอบ เพื่อป้องกันไม่ให้มีนํ้าขังในหลุมปลูก เมื่อมีการให้นํ้าหรือฝนตก จากนั้น หว่านเมล็ดถั่วเขียวเป็นวงรอบหลุม ให้ห่างจากต้นกล้าประมาณ 15-20 ซม. เพื่อให้ต้นถั่วเป็นพี่เลี้ยงในระยะแรก ก่อนสิ้นฤดูฝนประมาณเดือนกันยายน ให้หว่านถั่วมะแฮะหรือพืชตระกูลถั่วที่มีลําต้นสูงและไม่ทิ้งใบช่วงฤดูแล้ง โดยหว่านเป็นวงรอบห่างจากต้นผักหวานป่า รัศมี 70-100 ซม. เพื่อให้เป็นไม้บังร่มในช่วงฤดูแล้งระยะปลูกผักหวานป่าควรใช้ระยะ 2-3 x 2-3 โดยเลือกสภาพที่ดินที่ลาดเอียงเล็กน้อย หรืออาจปลูกแซมในสวนที่ค่อนข้างแห้งแล้งได้ เช่น ในสวนป่าสัก ผักหวานป่าจะใช้เวลาไม่ตํ่ากว่า 3 ปี จึงเจริญเติบโตถึงระยะเริ่มเก็บผลผลิตได้การใส่ปุ๋ย กระตุ้นการเจริญเติบโต ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยที่หมักจนสลายตัวดีแล้วหว่านกระจายโดยรอบคนต้นในรัศมี 50 ซม. ต้นละ1 ปี๊บ ในช่วงฤดูฝน ปีละครั้ง ห้ามใช้จอบขุดพรวนรอบโคนต้น หากต้องการกําจัดวัชพืช ให้ใช้วิธีถอนหรือใช้มีดฟันให้ราบเพื่อป้องกันรากผักหวานไม่ให้กระทบกระเทือน

การกระตุ้นยอดอ่อนเพื่อเก็บจำหน่าย

เมื่อผักหวานป่าเจริญเติบโตเต็มที่ก็เริ่มทําการตัดแต่ง โดยหักปลายกิ่งแขนงทิ้ง ให้เหลือยาว 15-20 ซม. รูดใบแก่บางส่วนทิ้งให้เหลือติดกิ่งละ 3-4 ใบ พร้อมๆ กับการให้น้ำพอดินชื้นเมื่อยอดแตกออกมายาวประมาณ 15-25 ซม. ก็ตัดออกและมัดเป็นกำส่งจําหน่ายได้หลังจากตัดยอดออกจําหน่ายแต่ละครั้งให้ใส่ปุ๋ยคอกต้นละ 1-2 ปี๊บ หว่านรอบโคนต้นพร้อมกับให้นํ้า เพื่อบํารุงต้นให้สมบูรณ์โดยเร็วต่อไป

การย้ายต้นกล้าแบบล้างราก

เนื่องจากในปัจจุบันพบว่า มีการจําหน่ายต้นกล้าเพาะเมล็ดจํานวนมาก ซึ่งมีปัญหาในการขนส่งเนื่องจากนํ้าหนักมาก และเปลืองพื้นที่จากผลการทดลองหาแนวทางส่งกล้าให้ได้จำนวนมากขึ้นและมีอัตราการชํารอดสูงอาจทําได้ ดังนี้

  1.  เพาะต้นกล้าในแปลงที่ทําด้วยอิฐก่อขนาด 1×5 เมตร ลึก 60 ซม. ใช้วัสดุเพาะดินลูกรัง ทรายหยาบ และปุ๋ย หมักอัตราส่วน 1:1:1 หรือ 1:1:2 โดยปริมาตร ร่อนด้วยตะแกรงตาถี่ครึ่ง เซนติเมตรผสมกัน คลุมแปลงเพาะให้ได้รับแสงประมาณ 40-50%
  2. เมื่อกล้าผักหวานป่า งอกสูงประมาณ 5-10 ซม. หรือก่อนการส่งกล้าให้ลูกค้าประมาณ 2 อาทิตย์ให้เริ่มกระตุ้นให้ต้นกล้าแข็งแรง เช่นเดียวกับก่อนการย้ายปลูกลงหลุม 
  3. เมื่อครบกําหนดให้ขดุ ต้นกล้าออกจากแปลง ระวังอย่าให้รากขาด ล่างดินออกจากรากให้ สะอาดโดยใช้สายยางฉีดนํ้าพร้อมกับตัดส่วนเหนือดินทิ้งให้เหลือตอสูงประมาณ 5 ซม.
  4. นําต้นกล้าที่ล้างรากและตัดต้นทิง้ แล้ว ไปแช่ในนํ้ายากันรา ประมาณ 15-20 นาที นําขึ้นผึ่งพอหมาด
  5. นํากระดาษหนังสือพิมพ์ที่ซึมซับนํ้าได้ดีมาแบ่งเป็นคู่ๆ ซ้อนกัน 2 ชั้น โรยด้วยขุยมะพร้าวชื้นหรือแกลบดําที่ปราศจากเชื้อโรค (อาจเตรียมได้โดยการอบหรือนึ่งหรือราดด้วยยากันราก้อนนํามาใช้) ให้เป็นแถบยาวบางๆ ความกว้างของแถบเท่ากับความยาวของรากต้นกล้า ต้องระวังวัสดุที่ใช้อย่าให้แฉะ
  6. นํากล้าผักหวานป่าประมาณ 50 กล้า วางเรียบบนแถบวัสดุรักษาความชื้นอย่าให้กล้าซ้อนกัน
  7. ม้วนกระดาษหนังสือพิมพ์ห่อต้นกล้าให้เป็นแท่งกลมพอหลวมๆ เหมือนห้อโรตี ปิดหัวท้าย ห่อ ฉีดด้วยยากันราให้กระดาษเปียกพอหมาดๆ
  8. บรรจุในถุงพลาสติกที่เจาะรูระบายอากาศ ปิดปากหลวมๆ แล้วบรรจุลงกล่องกระดาษลูกฟูกซึ่งเจาะรูด้านข้างและกั้นเป็นช่องๆ ภายในด้วยกระดาษลูกฟูก โดยวางในแนวตั้งพอหลวมๆ
  9. ผลึกภายนอกลังตรงรอยต่อด้วยเทปกระดาษโดยเว้นช่องระบายอากาศไว้แล้วนําไปส่งไปรษณีย์
ยอดอ่อนผักหวาน
ผักหวานแทงยอดอ่อน

ราคาขาย

ราคาขายตลาดสี่มุมเมือง ณ วันที่ 5 มีนาคม 2565

  • ผักหวานป่า (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 120 บาท / ผักหวานป่า (เล็กสวย) ราคากิโลกรัมละ 100 บาท

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.simummuangmarket.com
https://www.flickr.com

Add a Comment