การปลูกพลับ ผลไม้เมืองหนาว มีรสหวานหอมชื่นใจ

พลับ

พลับเป็นไม้ผลเมืองหนาวซึ่งเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่มีการเจริญเติบโตดี ลําต้นมีผิวหยาบกร้าน ขรุขระ สีนาตาลแก่ใบสีเขียวเป็นมันรูปหัวใจ ดอกคล้ายระฆังสีเหลืองอ่อน มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ส่วนดอกกระเทยนั้น พบน้อยมาก ลักษณะผลมีหลายแบบเช่น กลม กลมแบน กลมยาวคล้ายรูปกรวยผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อผลแก้จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อผลจะแข็งเมื่อ สุกเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงส้ม เมล็ดสีน้ำตาลแก่พลับบางชนิดก็มีรสฝาก บางชนิดก็มีรสหวาน พลับเป็นพืชในวงศ์ Edenaneae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Diospyros kaki

ผลผลับ
ผลผลับ ผลกลม ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลือง

สภาพดินฟ้าอากาศ

พลับเป็นพืชที่ชอบอากาศหนาวเย็น เพื่อทําให้การพักตัวสิ้นสุดลง แต่ก็ไม่ชอบอากาศหนาวเย็นจัดเกินไป อุณหภูมิที่ลดต่ำอย่างกระทันหันระหว่างต้นฤดูหนาวทําให้เกิดอันตราย ดังนั้น ความเย็นและระยะความหนาวก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดินที่เหมาะก็คือดินร่วนปนทรายควรเป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งจะทําให้ได้ผลผลิตดี

พันธุ์

แบ่งออกตามความแตกต่างเรื่องรสชาติเป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ

  1. พลับหวาน พวกนี้รสหวานกรอบไม่ฝาดแม้จะเก็บมาจากต้นก็รับประทานได้เลยได้แก่ พันธุ์ฟูยู ไลโอเปอเชียน ไจโร ซารูก้า
  2. พลับฝาด เมื่อผลยังไม่สุก จะมีรสฝาด หากจะรับประทานต้องนําไปผ่านกรรมวิธีการลดความฝาดเสียก่อน เมื่อ ผลสุกเต็มจะมีสีแดงส้ม เนื้อผลนิ่ม รสหวาน พันธุ์พวกนี้ได้แก่ ทานีนาชิ,ฮาชิยา, ซูรู ความฝาดนี้ก็เนื่องจาก แทนนิน ในเนื้อ ของผลนั่นเอง

ลักษณะพันธุ์บางพันธุ์ที่น่าสนใจ เช่น

  • ฟูยู มีผลขนาดกลางจนถึงใหญ่ รูปร่างกลมแบนสีแดงสดอมส้มคล้ายผลมะเขือเทศ มีรสหวานจัดแม้ว่าเนื้อ ผลจะยังคงแข็งอยู่ ไม่มีเมล็ด ผลแก่ราวปลายเดือนกันยายน
  • ไลโอเปอเชียน มีผลขนาดใหญ่ รูปร่างกลมเนื้อผลมีรสหวาน แม้ว่าผลจะยังไม่สุกเต็มที่ มีเมล็ดผลจะแก่ปลายเดือนกันยายน
  • ไนติงเกล มีผลขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายกรวยเมื่อผลยังไม่สุกจะมีรสฝาด เมื่อสุกเต็มที่เนื้อผลจะนิ่ม รสหวาน
  • ทานีนาชิ มีผลขนาดใหญ่ กลมยาวคล้ายกรวย รสฝาดเล็กน้อย เมื่อสุกเต็มที่เนื้อนิ่ม ผิวสีแดงส้มมีรสหวาน ไม่มีเมล็ด
  • ฮาชิยา ผลมีขนาดใหญ่มาก รูปร่างคล้ายพันธุ์ ทานีนาชิ รสฝาด เมื่อสุกเต็มที่ผิวสีแดงเข้มเนื้อผลนุ่ม จะมีรสหวาน
  • ซูรุ ผลรูปกรวยยาวกว่าพันธุ์อื่นๆ ผิวสีเหลืองอมส้ม

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์พลับทำได้หลายทาง เช่น การเพาะจากเมล็ด การใช้หน่อที่งอกมาจากราก การติดตาและต่อกิ่ง ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดมักจะกลายพันธุ์และมีการเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอต้นที่ได้จากหน่อที่งอกออกมาจากราก ก็ขยายพันธุ์ได้ช้าและมีจํานวนน้อย ส่วนการติดตาและต่อกิ่งทําได้ง่ายมาก แต่ต้อใช้ต้นตอที่มีระบบรากแข็งแรง ต้นตอที่ใช้กันในประเทศไทยใช้พืชสกุล Diospyros (Genus) เช่น กล้วยฤาษี (D. glandulosa) ตะโกนา (D.rhodocalyx) ตะโกสวน (D.malabarica)จันเขา (D.dsyphylla) มะพลับดง (D,schmidtii) ฯลฯ

สำหรับกล้วยฤาษีเป็นไม้ป่าที่มีอยู่ตามธรรมชาติ บริเวณภูเขาสูงทางภาคเหนือของไทย มีลำต้นใหญ่ ระบบรากลึก ทนสภาพแห้งแล้งเติบโตดี

การเพาะเมล็ด
การเพาะเมล็ดต้นพลับ ให้ได้ต้นอ่อนก่อนนำไปปลูก

การปลูก

พลับเป็นไม้ผลที่มีการผลัดใบ ต้องการสภาพอากาศที่หนาวเย็น ในฤดูหนาวใบจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พอถึงเดือนมกราคมใบจะร่วงหมดต้น ต้นพลับจะพักตัวจนถึงเดือนมีนาคมก็จะเริ่มผลิใบขึ้นมาใหม่หลังจากนั้นไม่นานก็จะมีการผลิดอกและติดผล ผลจะแก่ในราวเดือนสิงหาคมถึงกันยายน

พลับขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด จึงไม่มีปัญหามากนักสําหรับการเลือกที่ปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสม 6-8 x 6-8 เมตร ซึ่งควรเริ่มปลูกต้นฤดูฝน

การเตรียมหลุมปลูกพลับ ควรขุดให้มีความกว้างยาวลึกด้านละ 1/2×1 เมตร แบ่งดินบนไว้กองหนึ่งดินชั้นล่างไว้อีกกองหนึ่ง นําปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า ๆ เทใส่ลงไปขนาดพอๆ กับกองดินบนผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันหลังจากนั้นจึงค่อยเอาดินล่างกลบลงไปให้มีระยะสูงกว่าปากหลุมเล็กน้อยนําต้นพลับที่ชำไว้ลงปลูก

การปลูกพลับ
การปลูกพลับ ไม้ผลที่มีการผลัดใบ ต้องการสภาพอากาศที่หนาวเย็น

การใส่ปุ๋ย

ควรแบ่ง 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกให้เมื่อพลับเริ่มออกดอก โดยให้สูตร 13-13-21 อีกครั้งหนึ่ง ให้หลังจากเก็บเกี่ยวผลและตัดแต่งกิ่งแล้วโดยให้สูตร 15-15-15 สําหรับอัตราที่ใช้แล้วแต่ขนาดและ อายุของพลับ วิธีการให้ทำโดยพรวนดินรอบบริเวณทรงพุ่มตื้นๆ ไม่ต้องลึกแล้วโรยปุ๋ย รอบๆ หลังจากนั้น ก็ให้นาตามบริเวณที่โรยปุ๋ยให้ทั่ว

ศัตรูและการป้องกันกำจัด

พลับเป็นไม้ผลที่ไม่ค่อยจะมีปัญหาในเรื่องโรคและแมลงมากนัก ซึ่งในเมืองไทยยังมีการศึกษากันน้อยมาก แต่ในต่างประเทศมีสำคัญๆ เช่น โรค Grown gall
สาเหตุ จากเชื้อแบคทีเรียชื่อ acterium tumorfaciens
ป้องกัน โดยการไม่นําเอาต้นที่เป็นโรค ไปปลูกนอกจากนี้ก็มีไส้เดือนฝอยในดินทําให้เกิดโรครากปม นกและแมลงวันผลไม้บ้างเล็กน้อย

การเก็บผล

พลับที่ปลูกในประเทศไทย จะเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงกันยายน ตามแต่พันธุ์นั้นๆ ว่าจะสุกก่อนหรือหลังแค่ไหน ส่วนในอเมริกาจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม การเก็บเกี่ยวต้องทําอย่างระมัดระวังอย่าให้ผลชํ้าหรือมีรอยตําหนิได้เพราะว่าเชื้อราอาจจะเข้าไปทําลายให้ผลเน่าเสียหายเก็บไว้ได้ไม่นาน และไม้เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งในการเก็บเกี่ยวจะต้องใช้กรรไกรตัดที่ขั้วผล อย่าใชมือเด็ดเป็นอันขาด ผลที่เก็บจะต้องเป็นผลที่แก่จัดผิวผลมีสีเหลือง ซึ่งผลจะยังคงแข็งแรงอยู่ หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วควรจะใช้กระดาษฟางห่อผลคล้ายกับการห่อผลแอปเปิลเรียงซ้อนกัน 2-3 ชั้น ในกล่องกระดาษพร้อมที่จะขนส่งสู่ตลาด

ประโยชน์

พลับเป็นผลไม้ที่ใช้รับประทานสดได้มีรสหวานหอมชื่นใจ นอกจากนี้ยังนําไปทําเป็นอุตสาหกรรมทำพลับแห้งได้อีกด้วย และถ้ามีมากพอสมควรอาจจะส่งไปขายในตลาดต่างประเทศเป็นการเพิ่มพูนรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกได้เป็นอย่างดีด้วย

พลับ
พลับ เนื้อผลจะแข็งเมื่อสุกเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงส้ม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment