วิธีการปรับดินเปรี้ยว อุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช

ดินเปรี้ยว

ดินเปรี้ยวหรือดินกรดจัด คือ ดินที่กําลังมีเคยมี หรือมีแนวโน้มว่ามีกรดกํามะถันอยู่ในชั้นดิน และจะต้องมีจุดสีเหลืองฟางข้าวอยู่ในดินชั้นล่างจึงทําให้ดินเป็นกรดสูง หรือ มีค่าพีเอช(pH) ค่อนข้างตํ่า จนเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช ทําให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่ดี ผลผลิตที่ได้จึงตํ่าหรือไม่ได้ผลผลิตเลย

ลักษณะของดินเปรี้ยว

ลักษณะทั่วไปของดินเปรี้ยว จะมีดินชั้นบนเป็นดินเหนียวสีเทา หรือสีเทาเข้มถึงดำ ลึกประมาณ 20-40 เซนติเมตร อาจจะมีจุดประสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามรอยรากข้าว ดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทาถึงสีเทา มีจุดประสีเหลืองปนน้ำตาล สีแดง หรือสีเหลืองฟางข้าว

สาเหตุของการเกิดดินเปรี้ยว

ดินเปรี้ยวเกิดจาก การทับถมของตะกอนน้ำกร่อยซึ่งเป็นบริเวณที่เคยได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลท่วมถึงมาก่อน (เช่น บริเวณที่เคยเป็นป่าชายเลน และบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำใหญ่ๆ ) โดยจุลลินทรีย์ในดินจะเปลี่ยนสารประกอบพวกกํามะถันในน้ำทะเลให้เป็นแร่ไพไรท์ (สารประกอบของเหล็กและกํามะถัน) สะสมอยู่ในสภาพนํ้าขังต่อมาเมื่อฝั่งทะเลยื่นออกไปเรื่อยๆ และถ้ามีการระบายนําออกไปจนทําให้ดินแห้ง ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี แร่ไพไรท์จะถูกเปลี่ยนแปลงไป ในที่สุดจะได้กรดกํามะถันซึ่งเป็นสาเหตุทำใหดินเป็นกรดจัด และมักจะพบสารประกอบของเหล็กที่สําคัญตัวหนึ่ง คือ “จาโรไซท์” ที่มีสีเหลืองคล้ายฟางข้าว ซึ่งเป็นสิ่งที่เราใช้สังเกตลักษณะของดินเปรี้ยว

วิธีสังเกตดินเปรี้ยว

  1. พื้นที่ที่พบดินเปรี้ยว มักเป็นพื้นที่ในบริเวณที่ลุ่มมีนาแช่ขังปีละหลายๆ เดือน ในช่วงฤดูฝน
  2. นํ้าในบ่อ คู คลอง ในพื้นที่ที่เป็นดินเปรี้ยวจะใสเหมือนแกว่งด้วยสารส้ม มีรสเปรี้ยวและเฝื่อน เมื่อบ้วนน้ำหมากลงไปน้ำจะเปลี่ยนเป็นสีดำ
  3. พืชที่ขึ้นได้โดยธรรมชาติในบริเวณนี้มักมีลำต้นค่อนข้างแข็ง เช่น กก ทรงกระเทียม จูดหนู เป็นต้น
  4. เนื้อดินเป็นดินเหนียว เมื่อขุดลงไปจะพบสารสีเหลืองคล้ายกํามะถัน (จาโรไซท์) อยู่ในชั้น ดิน และลึกลงไปจะพบโคลนสีน้ำเงินปนเทาและ ซึ่งเป็นดินตะกอนน้ำทะเล
ดินเปรี้ยว
ดินเปรี้ยวจะมีดินชั้นบนเป็นดีเหนียวสีเทา

การแบ่งชนิดของดินเปรี้ยว

ดินเปรี้ยวแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามระดับความเป็นกรด ดังนี้

  1. ดินเปรี้ยวน้อย คือ ดินที่มีความเป็นกรดน้อยหรือดินที่มีค่าพีเอช (pH) ในช่วงระหว่าง 4.7-6.0 เช่น ดินชุดบางน้ำเปรี้ยว ชุดฉะเชิงเทรา ชุดมหาโพธิ์ ชุดอยุธยา ชุดอยุธยา-มหาโพธิ์ ชุดเสนา ชุดท่าขวาง
  2. ดินเปรี้ยวปานกลาง คือ ดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง หรือมีค่าพีเอช (pH) ในช่วงระหว่าง 4.1-4.7 เช่น ดินชุดรังสิต ชุดธัญญบุรี ชุดดอนเมือง
  3. ดินเปรี้ยวจัด คือ ดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง หรือมีค่าพีเอช (pH) ต่ำกว่า 4.1 เช่น ดินชุดรังสิตเปรี้ยวจัด ชุดองครักษ์
ระดับความเป็นกรดเป็นด่าง
ระดับความเป็นกรดเป็นด่าง

การวัดความเปรี้ยวของดิน

เราวัดความเปรี้ยวหรือความเป็นกรดจัดของดินโดยดุจากความเป็นกรดด่างของดิน หรือ ค่าพีเอช(pH) ของดิน ซึ่งได้จากการตรวจสอบดินโดยใช้ชุดสารเคมีตรวจสอบความเป็นกรดเป็นด่างของดิน หรือ ที่เรียกว่า พีเอชเทสคิท (pH test kit) โดยใช้น้ำยาเคมีทาปฏิกิยากับดิน แล้วเทียบสีของนํ้ายาเคมีที่ทำปฏิกิริยากับดิน แล้วกับแผ่นสีมาตราฐานเพื่ออ่านค่า พีเอช(pH) โดยประมาณของดินนั้นหรือวัดโดยใช้เครื่องวัดความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ที่เรียกว่า “พีเอชมิเตอร์” (pH Meter)

บริเวณที่พบดินเปรี้ยว

ดินเปรี้ยวในประเทศไทย ส่วนใหญ่พบกระจายอยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลาง และบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร สระบุรี สมุทรปราการ สุพรรณบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี และจันทบุรี นอกจากนี้ยังพบอยู่กระจายบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ ได้แก่ บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส อย่างไรก็ดีพื้นที่เหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน หรือ มีการระบายนําออกจากพื้นที่

สาเหตุที่ดินเปรี้ยวใช้เพาะปลูกพืชไม่ได้

  1. เนื่องจากดินมีความเป็นกรดสูงหรือมี (pH) ต่ำทําให้มีผลต่อเนื่องงต่อพืช คือ
    – พืชดูดธาตุอาหารบางธาตุไปใช้ได้น้อยลง เช่น ไนโตรเจน และแคลเซียม
    – พืชที่ปลูกจะขาดธาตุฟอสฟอรัส เนื่องจากฟอสฟอรัสเปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่พืชใช้ประโยชน์ไม่ได้
    – ดินมีปริมาณธาตุอาหารบางธาตุอยู่ในปริมาณน้อย เช่น แมกนีเซียม และโปตัสเซียม
    – มีสารบางอย่างละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืช เช่น เหล็ก อลูมิเนียมและแมงกานีส
  2. จุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในดินไม่สามารถเจริญเติบโตได้ และไม่สามารถดําเนินกิจกรรมได้ตามปกติ ทําให้ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และกํามะถันในดินที่เป็นประโยชน์ต่อ พืชลดลงไปด้วย
  3. เนื้อดินเปรี้ยวเป็นดินเหนียว อัดตัวกันแน่น ระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ยาก ดินแข็งมากเมื่อแห้งและเป็นโคลนเหนียวจัดเมื่อเปียกทําให้การเตรียมดินก้อนการปลูกพืชทําได้ลําบาก

การปรับปรุงดินเปรี้ยว

การปรับปรุงดินเปรี้ยว มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเป็นกรดและปริมาณสารที่เป็นพิษในดิน รวมทั้งป้องกันการเกิดกรดเพิ่มขึ้นควบคู่กันไปกับการเพิ่มเติมธาตุอาหารพืชลงไปในดิน เพื่อให้สามารถปลูกพืชได้ผลดี

การปรับปรุงดินเปรี้ยวมีหลายวิธี การที่จะเลือกใช้วิธีใดหรือใช้หลายวิธีร่วมกันนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ความจําเป็น และความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ วิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยว มีดังนี้ 

  1. การล้างดิน เป็นการใช้น้ำล้างกรดและสารที่เป็นพิษอื่นๆ ออกไปจากดิน วิธีนี้สามารถใช้ได้ผลดีในบริเวณที่มีนาเพียงพอ
  2. การควบคุมระดับนํ้าใต้ดิน วิธีนี้เหมาะสําหรับพื้นที่ดินเปรี้ยวที่เกิดใหม่หรือดินเปรี้ยวแฝง โดยการควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้อยู่ในระดับนํ้าที่เหมาะสม (หรือไม่ระบายนํ้าออกจากดินจนถึงระดับที่มีแร่ไพไรท์สะสมอยู่) ซึ่งจะทําให้เกิดการขาดออกซิเจน เป็นการป้องกันไม่ให้แร่ไพไรท์ที่อยู่ในดินถูกเปลี่ยนเป็นกรดรวมทั้งลดความเป็นพิษของเหล็กด้วย
  3. การใส่วัสดุลดความเป็นกรดของดิน เช่น ปูนขาว ปูนมาร์ล เปลือกหอยเผา หินปูนบด นอกจากจะช่วยลดความเป็นกรดของดินแล้ว ยังมีผลต่อเนื่องในการลดปริมาณสารเป็นพิษที่ละลายออกมามากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืชอีกด้วย ในทางปฏิบัตินิยมใช้ปูนมาร์ล เพราะมีราคาถูกที่สุดและใส่เพียงครั้งเดียวก็สามารถแก้ความเป็นกรดของดินได้นาน 3-5 ปี โดยอัตราการใช้ปูนมาร์ลเพื่อปรับปรุงดินเปรี้ยวมีดังนี้
                                           – ดินเปรี้ยวน้อย                 ควรใส่ปูนมาร์ล                  ไร่ละ 0.5 ตัน
                                           – ดินเปรี้ยวปานกลาง       ควรใส่ปูนมาร์ล                   ไร่ละ 1 ตัน
                                           – ดินเปรี้ยวจัด                    ควรใส่ปูนมาร์ล                   ไร่ละ 2 ตัน
  4. การใส่ปุ๋ยเคมี ควรใรการใส่ปุ๋ยเคมีแก่พืชที่ปลูกให้ถูกต้องตามสูตรอัตราและเวลาที่ราชการแนะนําแล้วแต่ชนิดพืช เนื่องจากดินเปรี้ยว (โดยเฉพาะดินเปรี้ยวปานกลางถึงเปรี้ยวจัด) จะมีปัญหาการขาดไนโตเจนและฟอสฟอรัสอย่างรุนแรง

วิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว

การทํานาข้าวในดินเปรี้ยวจําเป็นต้องมีการปรับปรุงดินเพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวสูงขึ้นซึ่งจะมีวิธีการที่ แตกต่างกันไปตามชนิดความเปรี้ยวของดิน ดังนี้

1. ดินเปรี้ยวน้อยและดินเปรี้ยวปานกลาง

ดินเปรี้ยวน้อยมีปัญหาการขาดธาตุอาหารพืชและความเป็นกรดของดินรุนแรงน้อยกว่าดินเปรี้ยวปานกลาง แต่สามารถใช้วิธีการปรับปรุงดินเช่นเดียวกันได้

ดินเปรี้ยวปานกลางมีปัญหาสําคัญในการปลูกข้าว คือ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธาตุไนโตรเจนฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม ไม่เพียงพอและขาดฟอสฟอรัสอย่างรุนแรง ถ้าหากใส่ปุ๋ยอย่างเพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องใช้กรรมวิธีพิเศษอื่นใด เช่น การใส่ปูนก็สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้นได้ หรือหากมีความสะดวกในการใช้ปูน ก็สามารถใช้ปูนมาร์ลในอัตรา 0.5 ตัน/ไร่ สําหรับดินเปรี้ยวน้อย และ1.0 ตัน/ไร่ สําหรับดินเปรี้ยวปานกลาง โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ในวิธีการเดียวกับการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดที่กล่าวต่อไป โดยไม่ต้องมีการล้างดิน

วิธีการปลูกข้าวในดินเปรี้ยวน้อยและเปรี้ยวปานกลาง ควรดําเนินการใส่ปุ๋ยดังนี้
1.1 ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต (สูตร 0-3-0) จำนวนไร่ละ 100 กิโลกรัม โดยหว่านให้ทั่วแปลงนาขณะ เตรียมดินแล้วไถคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน (ก่อนหว่านอาจพรมน้ำให้ชื้นก่อนจะได้หว่านได้สะดวกขึ้น ) ซึ่งในช่วงเตรียมดินหากมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วยกันจะเป็นการดี 
1.2 ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 สําหรับนาดินเหนียว หากเป็นดินทรายใช้สูตร 16-16-8 จํานวนไร่ละ 25-30 กิโลกรัม โดยหว่านให้ทั่วแปลงนาก่อนปักดําข้าว 1 วัน หรือภายใน 10 วัน หลังจากปักดําข้าวหลังนา ดําแต่ถ้าเปํนนาหว่านควรใส่ปุ๋ยหลังจากข้าวงอกแล้ว 20-25 วัน
1.3 ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จํานวนไร่ละ 10 กิโลกรัม (หรือปุ๋ยสูตร 21-0-0 จํานวนไร่ละ 20 กิโลกรัม โดยหว่านในระยะข้าวสร้างรวงอ่อน คือก่อนเก็บเกี่ยว 60 วัน หรือหลังจากปักดําประมาณ 35-45 วันสําหรับนาดํา ถ้าเป็นนาหว่านให้หว่านหลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรก ประมาณ 25-45 วัน

การใส่ปูนเพื่อลดความเป็นกรด
การใส่ปูนเพื่อลดความเป็นกรดของดิน

2. ดินเปรี้ยวจัด

ดินเปรี้ยวจัดนี้เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามากมีธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อข้าว โดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัส ถ้าไม่ใส่ข้าวจะไม่แตกกอ ผลผลิตจะตํ่ามากหรือไม่ได้ผลผลิตเลย และยังต้องมีการจัดการพิเศษนอกเหนือจากการใช้ปุ๋ยอย่างเพียงพอ เพื่อแก่ความเป็นกรดจัดของดิน เช่น การใส่ปูนมาร์ล การขังน้ำ ล่วงหน้า การล้างดิน หรือการใส่ขี้เถ้าแกลบ (80 กิโลกรัมต่อไร่อย่างใดอย่างหนึ่งก็จะทําให้ผลผลิตสูงขึ้นถึง 60-70 ถังต่อไร่)

วิธีการปลูกข้าวในดินเปรี้ยวจัด จึงควรมีการปรับปรุงดินและการใส่ปุ๋ยดังนี้
2.1 การล้างดิน ในกรณีที่มีนาเพียงพอ ควรมีการขังนํ้าล่วงหน้าก่อน การปลูกข้าว โดยให้นํ้าเข้านา แล้วคราดรุ่งขึ้นระบายน้ำออก ทําเช่นนี้ 3 ครั้งจะช่วยลดความเป็นกรดและธาตุที่มีมากเกินไปจนอาจเป็นพิษเจือจางลง
2.2 การใส่ปูนเพื่อลดความเป็นกรดของดินให้ใส่ปูนมาร์ล ซึงมีราคาถูกไม่กัดมือ และหาซื้อไม่ยาก บริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก (แต่ถ้าหากเป็นภาคใต้อาจใช้หินฝุ่นหรือหินปูนบดหาซื้อได้ง่ายกว่าและราคาถูกกว่าปูนชนิดอื่นๆ ) โดยใส่ปูนมาร์ล จํานวนไร่ละ 2 ตัน และเว้นการใส่ปูนมาร์ลได้ 2-3 วัน เนื่องจากปูนมาร์ลยังคงมีฤทธิ์แก่ความเป็นกรดของดินได้นานวิธีการใส่ปูนมาร์ลควรนําปูนไปกองกระจายไว้เป็นกองเล็กๆ ในนา แล้วจึงหว่านปูนแต่ละกองให้ทั่วแปลงนาก่อนการเตรียมดินและไถกลบ ทิ้งไว้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์จึงปลูกข้าวได้ (โดยการหว่านหรือปักดําข้าว )
2.3 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ปรับปรุงดินด้วย ได้แก่ การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกที่มีอยู่ แต่วิธีที่เหมาะสมในขณะนี้คือการใช้ปุ๋ยพืชสด ซึ่งนิยมใช้พืชตระกูลถั่วปลูกกันในช่วงต้นฝน (หลังใส่ปุ๋ยปรับปรุงดินแล้ว) แล้วไถกลบช่วงออกดอก หรือก่อนปลูกข้าวประมาณ 2-4 สัปดาห์ เพื่อง่ายต่อการไถ การปักดํา และเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยเคมีให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีผลดีต่อคุณภาพผลผลิตด้วย
2.4 การใส่ปุ๋ยเคมี ควรแบ่งใส่ 2 ครั้งดังนี้
การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1
– ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 สําหรับนาดินเหนียว หากเป็นนาดินทราย ใช้สูตร 16-16-8 จํานวนไร่ละ 25-30 กิโลกรัม โดยหว่านก่อนปักดําข้าว 1 วัน หรือภายใน 10 วัน หลังจากปักดําข้าวสําหรับนาดํา ถ้าเปํนนาหว่านให้หว่านปุ๋ยหลังจากข้าวงอกแล้ว 20-25 วัน
การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2

– ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จํานวนไร่ละ 10 กิโลกรัม (หรือปุ๋ยสูตร 21-0-0 จํานวนไร่ละ 20 กิโลกรัม) โดยหว่านใช้ระยะข้าวรวงอ่อน คือก่อนเก็บเกี่ยว 60 วัน หรือหลังจากปักดําประมาณ 35-45 วัน สําหรับนาดํา ถ้าเป็นนาหว่านให้หว่านหลังจากหว่านปุ๋ยครั้งแรกประมาณ 35-45 วัน

การปลูกข้าวในดินเปรี้ยว
การปลูกข้าวในดินเปรี้ยว

เมื่อปรับปรุงดินเปรี้ยวและใส่ปุ๋ยให้กับข้าวอย่างเพียงพอตามคําแนะนําแล้วเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ควรมี การดูแลปฏิบัติในเรื่องอื่นๆ ด้วยเช่น
1. ควรใชเข้าวพันธุ์ดีหรือพันธุ์ส่งเสริม
2. ควรมีการป้องกันกําจัดศัตรูพืช เช่น โรค แมลง ปู หนู และวัชพืช เพื่อให้ข้าวเจริญเติบโตอย่างเต็มที่
3. ไม่ควรเผาตอซัง เพราะจะเป็นการทําลายธาตุอาหารในดินให้ลดลง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment