กัดลิ้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง

กัดลิ้น

ชื่ออื่นๆ : แก้วลาว (จันทบุรี) ขี้อ้าย (ลำปาง) ลำไยป่า (อุตรดิตถ์) มะค่าลิ้น (อุตรดิตถ์, ปราจีนบุรี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : กัดลิ้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Walsura trichostemon Miq.

ชื่อวงศ์ : MELIACEAE

ลักษณะของกัดลิ้น

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูง 7-12 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้างถึงค่อนข้างกลม เปลือกนอกสีน้ำตาลเทา เปลือกแตกเป็นสะเก็ดบางๆ เปลือกในบางสีน้ำตาลแดง

ใบ  ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เวียนสลับ ใบย่อยเรียงตรงกันข้ามจำนวน 5-9 ใบ ใบย่อยรูปรี รูปไข่กลับ ฐานใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม ใบเกลี้ยง หลังใบเขียวเข้ม ท้องใบเขียวนวล

ดอก ดอกออกเป็นช่อแบบแยกแขนงตามปลายกิ่ง มีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน สีขาวนวล ออกดอกเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์

ผล ผลกลม เมื่อสุกสีเหลือง ผลมีลักษณะกลม เมื่อสุกผลจะเป็นสีเหลือง มีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด โดยเมล็ดมีลักษณะกลม มีเยื่อนุ่ม ๆ หุ้มเมล็ดอยู่ ออกผลเดือนเมษายน – มิถุนายน

ต้นกัดลิ้น
ต้นกัดลิ้น เปลือกนอกสีน้ำตาลเทา

การขยายพันธุ์ของกัดลิ้น

ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กัดลิ้นต้องการ

ประโยชน์ของกัดลิ้น

  • ผลใช้รับประทานเป็นผลไม้ หรือทำเป็นส้มตำร่วมกับผลตะโกนา ถ้ารับประทานมากจะกัดลิ้น
  • เนื้อไม้หรือลำต้นใช้สำหรับการก่อสร้าง
ดอกกัดลิ้น
ดอกกัดลิ้น ดอกสีขาว มีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน

สรรพคุณทางยาของกัดลิ้น

  • ราก แก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ขับลม
    ลำต้น แก้เส้นเอ็นพิการ
  • เปลือก ห้ามเลือด ชำระล้างบาดแผล สมานแผล
  • ช่อดอก แยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ขนสั้น สีน้ำตาล ดอกเล็ก กลีบดอกสีนวล
  • ผล รูปทรงกลม เมื่อสุกสีเหลือง มีขนสั้น สีน้ำตาลอ่อน เมล็ด รูปทรงกลม มีเยื่อนุ่มหุ้ม

คุณค่าทางโภชนาการของกัดลิ้น

การแปรรูปของกัดลิ้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11783&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment