ช้างน้าว ดอกสีเหลือง ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร

ช้างน้าว

ชื่ออื่นๆ : กระแจะ (ระนอง) กระโดงแดง, กำลังช้างสาร (ภาคกลาง) ขมิ้นพระต้น (จันทบุรี) ควุ (กะเหรี่ยง-นครสวรรค์) แง่ง (บุรีรัมย์) ช้างน้าว (นครราชสีมา) ช้างโน้ม (ตราด) ช้างโหม (ระยอง) ตาชีบ้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ตานนกกรด (นครราชสีมา) ตาลเหลือง (ภาคเหนือ) ฝิ่น (ราชบุรี) โว้โร (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ตาลเหลือง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ochna integerrima (Lour.) Merr.

ชื่อวงศ์ : OCHNACEAE

ลักษณะของช้างน้าว

ต้น ไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 3-8 เมตร ตามปลายกิ่งมีกาบหุ้มตาแข็งและแหลม

ใบ หูใบขนาดเล็ก ร่วงเร็ว ใบเรียงเวียน รูปขอบขนานถึงรูปใบหอก หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 6–25 ซม. ขอบจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว 1–5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนงสั้น ๆ ยาวได้ถึง 4 ซม. ก้านดอกยาว 2–4 ซม. ฐานดอกขยายในผล กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 1–1.6 ซม. ขยายในผล

ดอก ดอกสีเหลือง มี 5–7 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 1.5–2.5 ซม. มีก้านกลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก เรียง 2–3 วง ก้านชูอับเรณูยาว 3–7 มม. วงนอกยาวกว่าวงใน ติดทน มีสีแดงในผล อับเรณูรูปแถบยาว 4–6 ซม. มีช่องเปิดที่ปลาย มี 6–15 คาร์เพล ก้านเกสรเพศเมียยาว 1–1.5 ซม. มีโคนก้าน ยอดเกสรจักเป็นพูตื้น ๆ

ผล ผลย่อยแบบผนังชั้นในแข็ง มี 3–15 ผล ติดบนฐานดอกใกล้โคน รูปรี ยาวประมาณ 1 ซม. สุกสีดำ กลีบเลี้ยงติดทน สีแดง พับงอกลับ ยาวประมาณ 2 ซม.

ใบช้างน้าว
ใบช้างน้าว ใบรูปไข่ ขอบจักฟันเลื่อย
ดอกช้างน้าว
ดอกช้างน้าว ดอกสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของช้างน้าว

การเพาะเมล็ด, การปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ช้างน้าวต้องการ

ประโยชน์ของช้างน้าว

ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร “พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัด” โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของช้างน้าว

คุณค่าทางโภชนาการของช้างน้าว

การแปรรูปของช้างน้าว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11826&SystemType=BEDO
www.forest.go.th, www.flickr.com

One Comment

Add a Comment