ต้นอ้อยช้าง
ชื่ออื่นๆ : กอกกั่น (อุบลราชธานี) กุ๊ก (เหนือ) ช้าเกาะ, ช้างโน้ม (ตราด) ตะคร้ำ (ราชบุรี กาญจนบุรี) หวีด (เชียงใหม่)
ต้นกำเนิด : พบขึ้นในป่าป่าดิบแล้งผสมเบญจพรรณ
ชื่อสามัญ : อ้อยช้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canarium subulatum Guill.
ชื่อวงศ์ : BURSERACEAE
ลักษณะของต้นอ้อยช้าง
ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 6-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกสีเทา ผิวเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 2-7 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่ ปลายใบเป็นติ่งหนาม ฐานใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ ดอกสีเหลืองอ่อน เป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ซอกใบตอนปลายกิ่ง ช่อดอกห้อยลงยาว 12-30 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกแยกเพศต่างต้น กลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ กลีบดอก 4-5 กลีบซ้อนกัน ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปทรงคล้ายเมล็ดถั่วหรือไต ผลสุกสีแดง เมล็ดแข็งมาก
การขยายพันธุ์ของต้นอ้อยช้าง
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ต้นอ้อยช้างต้องการ
ประโยชน์ของต้นอ้อยช้าง
ด้านสมุนไพร เปลือกใช้เป็นยาใส่แผล แก้ปวดฟัน แก่นมีรสหวาน ใช้ปรุงเป็นยาแต่งรสทำให้ชุ่มคอ แก้เสมหะเหนียว แก้กระหายน้ำ
สรรพคุณทางยาของต้นอ้อยช้าง
สรรพคุณของ อ้อยช้าง : ราก มีรสหวาน ใช้เป็นยาแก้ไอ กระหายน้ำ ยาระบาย ผล ขับเสมหะ เนื้อไม้ มีรสหวาน แก้โรคในคอ แก้ไอขับเสมหะ
การศึกษาทางเคมีพบว่า สารที่ให้ความหวาน เป็นน้ำตาลกลูโคสและซูโครส
คุณค่าทางโภชนาการของต้นอ้อยช้าง
การแปรรูปของต้นอ้อยช้าง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9797&SystemType=BEDO
http://srayaisom.bsru.ac.th/biodiversity/index.php/2015-06-07-07-06-37/99-lannea