มะพร้าว
มะพร้าว เป็นพืชยืนต้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera L. อยู่ในตระกูล Palmae ระบบรากเป็นรากฝอยมีขนาดเท่าๆ กัน แผ่กระจายออกรอบต้น ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ผลประกอบด้วยเปลือกนอก ถัดไปข้างในจะเป็นใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนกะลามะพร้าว ตามปรกติจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3 รู สำหรับงอก ถัดเข้าไปจะเป็นส่วนเนื้อมะพร้าว ภายในจะมีน้ำมะพร้าว ขณะที่มะพร้าวยังอ่อน ภายในผลมีเนื้อมะพร้าวบางและอ่อนนุ่ม ซึ่งในระยะนี้เรามักนำเอาผลมะพร้าวมารับประทานน้ำและเนื้อ และเมื่อผลมะพร้าวแก่ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย
ประโยชน์ของมะพร้าว
- เนื้อมะพร้าว ใช้เป็นอาหาร เช่น ยอดอ่อนของมะพร้าวใช้ทำกับข้าว ใช้กะทิ ประกอบอาหารต่างๆ ทำขนม ใช้รับประทานสด
- น้ำมะพร้าว ใช้ทำเป็นน้ำส้มสายชู ทำวุ้นมะพร้าว
- มะพร้าวแก่ ใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ เช่น กะทิสด กะทิกล่อง มะพร้าวอบน้ำผึ้งน้ำมันมะพร้าว น้ำมันไบโอดีเซล เป็นต้น
- กากมะพร้าว ที่เหลือจากการคั้นกะทิ นำไปทำเป็นอาหารสัตว์
- ใยมะพร้าว นำไปยัดฟูก ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร
- น้ำมันมะพร้าว นำไปปรุงอาหาร ทำเครื่องสำอาง และผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าว
- กะลามะพร้าว นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯ
- ก้านใบ หรือ ทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว เสวียนหม้อหรือก้นหม้อ ฯลฯ
- จั่นมะพร้าว (ช่อดอกมะพร้าว) ให้น้ำตาล เป็นแหล่งอาหารของผึ้งและแมลงนานาชนิดใช้ผลิตน้ำผึ้ง และน้ำตาล
- กาบมะพร้าว หรือเปลือกมะพร้าว คุณสมบัติแข็งแรง คงทน ยืดหยุ่น มีสปริง ใช้ทำเชือก พรม กระสอบ แปรง อวน ไม้กวาด และเส้นใบสั้นใช้อัดไส้ของที่นอน เบาะรถยนต์ เป็นต้น
- จาวมะพร้าว นำมารับประทาน หรือเป็นอาหารสัตว์ได้
- ใบมะพร้าว นิยมนำมาใช้สาน เป็นพาหนะใส่ของ ห่อขนม สานหมวกกันแดดหรือของเล่นเด็ก กระจาด กระเช้าตะกร้า ทำของที่ระลึกรูปสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น
- รกมะพร้าว หรือเยื่อหุ้มคอมะพร้าว ลักษณะเป็นแผ่นใยหยาบๆ บางๆ มีความยืดหยุ่น นิยมนำมาทำเป็นกระเป๋า หมวก รองเท้าแตะ ดอกไม้ประดิษฐ์ กล่องใส่ของ สิ่งประดิษฐ์ใช้ตกแต่งศิลปะต่างๆ เป็นต้น
- รากมะพร้าว มีเส้นยาวเหนียวเป็นพิเศษ ใช้สานเป็นตะกร้า ถาด ภาชนะต่างๆ และสิ่งประดิษฐ์ทั่วไป
- ลำต้น เมื่อถูกโค่นทิ้งสามารถนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์โต๊ะ เก้าอี้ ทำรั้ว ฝาพนัง กระถางต้นไม้ ตกแต่งสวน เป็นต้น
สรรพคุณทางยาของมะพร้าว
- เปลือกต้น ใช้เปลือกต้นที่สด นำมาเผาไฟให้เป็นเถ้าแปรงสีฟัน แก้เจ็บปวดฟัน และใช้ทาแก้หิด
- เปลือกผล
– ใช้เปลือกผลที่แก่แห้งแล้ว นำมาเป็นยาแก้อาเจียน แก้โรคกระเพาะ และใช้ในการห้ามเลือดแก้ปวด เลือดกำเดาไหล
– ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้เปลือกมะพร้าวมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาต้มน้ำดื่ม อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ( ควรใช้เปลือกมะพร้าวห้าวหรือมะพร้าวแก่ ) - เปลือกหุ้มราก นำมาใช้รักษาโรคคอตีบ
- เนื้อมะพร้าว
– ใช้เนื้อมะพร้าวสด หรือแห้ง นำมาขูดให้เป็นฝอยใส่น้ำ แล้วเคี่ยวเอาน้ำมัน ใช้กินเป็นยาบำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ไข้ แก้กระหายน้ำ
– ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้มะพร้าวแก่ขูดเอาเนื้อมาคั่วให้เหลือง โรยเกลือเล็กน้อย ใส่ภาชนะปิดให้แน่น แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1 ช้อนแกง เช้า กลางวัน เย็น ประมาณ 10 วันจะช่วยทำให้ระดับน้ำตาลลดลงเรื่อย ๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวปวดศีรษะ
– ช่วยแก้อาการระคายเคืองตา ด้วยการใช้เนื้อมะพร้าวอ่อนสด ๆ แปะที่ดวงตา อาการจะค่อย ๆ ทุเลาลง - น้ำมะพร้าว
– ใช้น้ำมะพร้าวสดประมาณ 1-2 ลูก กินเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้กระหายน้ำแก้นิ่ว แก้อาเจียนเป็นโลหิต และบวมน้ำ
– ใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ ใช้รักษาคนไข้ที่มีภาวะความเป็นกรดในเลือดสูง
– น้ำมะพร้าวช่วยทำให้ผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง ขาวนวลขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะมีฮอร์โมนเอสโตรเจน
– น้ำมะพร้าวมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน ซึ่งทำให้ผิวมีความยืดหยุ่น กระชับ ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้เป็นอย่างดี
– น้ำมะพร้าว มีส่วนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและการแบ่งเซลล์ได้เป็นอย่างดี
– น้ำมะพร้าวอ่อนมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกายอย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นวิตามินซีวิตามินบี กรดอะมิโน ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก และยังมีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมได้ภายใน 5 นาที
– น้ำมะพร้าวเป็นเครื่องดื่มจากธรรมชาติที่ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นและไม่มีอันตรายใด ๆ ต่อร่างกาย (ยกเว้นผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและโรคไต)
– น้ำมะพร้าวอ่อนมีคุณสมบัติเป็นธาตุเย็น ช่วยล้างพิษ ขับพิษของเสียออกจากร่างกายหรือช่วยดีท็อกซ์
– ช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ภาวะความจำเสื่อมในสตรีวัยทอง เนื่องจากมีปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง
– ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและช่วยรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ
– ช่วยแก้อาการตาอักเสบ ด้วยการใช้น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ถ้วย นำมาผสมกับน้ำตาลทรายแดงไว้ดื่มเช้าและเย็น อาการอักเสบก็จะค่อย ๆ หายไปเอง
– ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ด้วยการใช้มะนาว 1 ซีกบีบผสมกับน้ำมะพร้าวอ่อนแล้วดื่ม
– น้ำมะพร้าวห้าว ช่วยแก้อาการไอ ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวห้าว
– น้ำมะพร้าวอ่อน ช่วยแก้นิ่ว ด้วยการดื่ม เช้า กลางวัน เย็น อาการจะดีขึ้นมาก
– น้ำมะพร้าวอ่อน ช่วยรักษาโรคดีซ่าน ด้วยการดื่ม เช้า กลางวัน เย็น เพียง 2 วันอาการก็จะดีขึ้นมาก
– น้ำมะพร้าวอ่อนช่วยแก้อาการเม็ดผดผื่นคันตามตัว ด้วยการดื่มเป็นประจำ
– ช่วยแก้พิษเบื่อเมา ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวช่วยล้างพิษที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี - น้ำมัน
น้ำมันที่ได้จากเนื้อ หรือจากกะลา ใช้กินเป็นยาบำรุงกำลัง หรือใช้ทาเป็นยาแก้กลากเกลื้อน แก้โรคผิวหนังต่าง ๆ ทาแผลน้ำร้อนลวก และใช้ทาผิวหนังที่แตกเป็นขุย ใช้เป็นน้ำมันทาผม - น้ำกะทิ
– ช่วยแก้อาการปากเปื่อย ปากเป็นแผล ด้วยการอมน้ำกะทิสด ๆ จากมะพร้าวแก่ประมาณ 5-10 นาที ประมาณ 3 วันแผลจะหายเร็วขึ้น
– ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ อักเสบ ช้ำบวม ด้วยการใช้น้ำกะทิเคี่ยวให้ร้อน แล้วนำผักเสี้ยนผีล้างให้สะอาดสับเคี่ยวเข้าด้วยกัน ใส่เมนทอลเล็กน้อยเพื่อให้มีกลิ่นหอมและช่วยให้ตัวยาแทรกซึมได้ดีขึ้น เสร็จแล้วนำมานวดบริเวณที่มีอาการ (น้ำกะทิเคี่ยว) - กะลา
– ใช้กะลามะพร้าวแห้ง นำมาเผาให้เป็นถ่านดำแล้วนำามาบดให้เป็นผงละเอียด ผสมน้ำกินวันละ 3-4 ครั้ง ๆ ละ 0.5-1 ช้อนชา กินเป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ปวดกระดูกและเอ็น
– ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้กะลามะพร้าวแก่จัดที่มีรู ขูดเอาเนื้อออกใหม่ ๆ ใส่ถ่านไฟแดงลงไป แล้วรองเอาน้ำมันมะพร้าวที่ไหลออกมาเก็บใส่ภาชนะปิดให้มิดชิด แล้วใช้สำลีพันปลายไม้ชุบน้ำมันที่ได้อุดรูฟันที่ปวด แต่อย่าให้สัมผัสกับเหงือกหรือเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ โดยตรง เพราะจะทำให้ชาได้
– ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการใช้กะลามะพร้าวสะอาดมาเผาไฟจนแดงจนแดง แล้วคีบเก็บไว้ในปี๊บสะอาด ปิดฝาให้เรียบร้อย จะได้ถ่านกะลาสีดำนำามาบดเป็นผงรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ
– น้ำมันจากกะลามะพร้าวใช้รักษาโรคผิวหนัง หรือแก้ผิวหนังแตกลายได้
– ช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้นและป้องกันการเกิดแผลเป็น ด้วยการใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากกะลาเผาไฟถ่าน นำมาทาที่แผล จะทำให้แผลหายเร็วภายในไม่กี่วัน และจะไม่เกิดรอยแผลเป็น
– ใช้รักษาแผลเรื้อรัง ด้วยการเอากะลามะพร้าวมาถูตะไบเอาผง นำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าวใส่พิมเสนเล็กน้อย แล้วนำมาทาบริเวณแผลเช้า กลางวัน เย็น
– ใช้เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อนได้ ด้วยการใช้กะลามะพร้าวแก่จัดที่ขูดแล้ว มีรู มาใส่ถ่านไฟแดงๆ น ้ำ มันมะพร้าวจะไหลออกมา แล้วนำมาทาบริเวณที่ เป็นทิ้ง ไว้ประมาณหนึ่งสัปดาห์ ยางจะติดอยู่ เกลื้อนจะค่อย ๆ หายไป
– ช่วยรักษาเล็บขบ ฝ่ามือแตกลาย ด้วยการใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการเผากะลามาทาเช้ากลางวัน เย็น หรือหยอดบริเวณที่เป็นเล็บขบ จะหายเร็วขึ้นและไม่มีอาการปวด - ดอก
– ใช้ดอกสดอ่อน นำามาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้เจ็บปากเจ็บคอ แก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต
– ช่วยแก้ไข้ทับระดู ด้วยการเอาจั่นมะพร้าว ที่ยังมีกาบหุ้มอยู่นำมาต้ม้ำดื่ม เช้า กลางวัน เย็นอาการจะค่อยดีขึ้น - ราก ใช้รากสดนำมาต้มกินเป็นยาแก้ท้องเสียขับปัสสาวะ หรือเอาน้ำอมหรือบ้วน แก้เจ็บปากเจ็บคอ ใช้แก้อาการท้องเสีย ด้วยการใช้รากล้างสะอาดประมาณ 3 กำมือ ทุบพอแตก ต้มน้ำ 5 แก้วเคี่ยวเอา 2 แก้ว แบ่งรับประทานครั้งละครึ่งแก้ว เช้า กลางวัน เย็น
- ใบมะพร้าว ช่วยรักษาโรคอีสุกอีใส ด้วยการใช้ใบมะพร้าวต้มน้ำดื่ม
- มะพร้าวกะทิ ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้มะพร้าวกะทิปิดบริเวณแผล
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.m-culture.go.th
https://www.flickr.com
One Comment