พลู่มะลี อวบดำ ใช้รากเคี้ยวอมเพื่ออดบุหรี่ 

พลู่มะลี

ชื่ออื่นๆ : เกลื่อน (สุราษฎร์ธานี) ตาไชใบใหญ่ (ตรัง) อวบดำ (ชุมพร) โว่โพ้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) พลู่มะลี (เขมร-สุรินทร์)

ต้นกำเนิด : แถบเอเชีย

ชื่อสามัญ : Nothern olive, Native olive

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chionanthus ramiflorus Roxb.

ชื่อพ้อง : Chionanthus effusiflorus F.Muell., C. intermedius (Wight) F.Muell., C. macrophyllus (Wall. & G.Don) Blume, C. palembanicus Miq., C. pauciflorus (Wall. ex G.Don) Bennet & Raizada, C. picrophloius F.Muell., Linociera cumingiana S.Vidal, L. effusiflora F.Muell., L. intermedia Wight, L. macrophylla Wall. & G.Don, L. oblonga Wall. & G.Don, L. pauciflora (Wall. ex G.Don) C.B. Clarke, L. picrophloia (F.Muell.) F.M.Bailey, L. ramiflora (Roxb.) Wall., Mayepea cumingiana (S.Vidal) Merr., M. intermedia (Wight) Kuntze, M. palembanica (Miq.) Kuntze, M. pauciflora (Wall. ex G.Don) Kuntze, M. picrophloia (F.Muell.) F.Muell., M. ramiflora (Roxb.) F.Muell., Olea attenuata Wall. & G.Don , O. floribunda Benth., O. pauciflora Wall. ex G.Don, O. roxburghiana Schult., Phillyrea ramiflora

ชื่อวงศ์ : OLERACEAE

ลักษณะของพลู่มะลี

ต้น  ไม้พุ่มผลัดใบ ขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สูง 5-10 เมตร กิ่งก้านเรียวเล็ก และลู่ลงเล็กน้อย เปลือกต้นเรียบ สีขาวอมน้ำตาล เกลี้ยง หรือแตกระแหงเล็กน้อย

ต้นพลู่มะลี
ต้นพลู่มะลี ไม้ผลัดใบลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านเรียวเล็ก

ใบ  เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบรูปขอบขนานแกมรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 8-18 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง หลังใบสีเขียวเข้ม ผิวใบเรียบเกลี้ยง เส้นใบข้าง 8-12 คู่ ก้านใบเกลี้ยง ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร

ใบพลู่มะลี
ใบพลู่มะลี แผ่นใบเรียบ เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง หลังใบสีเขียวเข้ม ผิวใบเรียบเกลี้ยง

ดอก ดอกช่อแบบช่อแยกแขนง หลวมๆ ออกที่ซอกใบหรือกิ่งก้าน ช่อดอก ยาว 3-15 ซม. แขนงข้างของช่อด้านล่างยาวอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของความยาวของช่อหลัก ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเอียน ขนาดเล็ก ดอกย่อย 40-100 ดอก ดอกย่อยมีขนาด 0.3-0.7 เซนติเมตร กลีบดอก มีอย่างละ 4 กลีบ รูปขอบขนาน ยาวเป็น 2 เท่าของหลอดกลีบ ก้านดอกย่อยยาว 1-2 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียว มี 4 กลีบ ขนาด 1-1.5 มิลลิเมตร พูกลีบลึก โคนติดกัน ปลายเป็นแฉกตื้นๆ เกสรเพศผู้มี 2 อัน สั้นกว่าหลอดกลีบ อับเรณูขนาด 1 มิลลิเมตร รูปรีหรือรูปขอบขนาน ไม่มีก้านชู กลมมีติ่งที่ปลาย ปลายเกสรตัวเมีย เป็น 2 พู จางๆ ก้านชูสั้น ออกดอกและติดผลช่วงเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคม พบตามป่าดิบและป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูง 450-800 เมตร

ดอกพลู่มะลี
ดอกพลู่มะลี ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเอียน

ผล รูปมนรี หรือรูปไข่กลับ ขนาดประมาณ 1.5-3 × 0.5-2.2 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ มีชั้นกลีบเลี้ยงรองรับ ผลอ่อนสีเขียว เนื้อผลบาง พอสุกเป็นสีม่วงดำ  ชั้นหุ้มเมล็ดแข็ง ภายในมี 1 เมล็ด

ผลพลู่มะลี
ผลพลู่มะลีรูปมนรี ผิวผลเรียบ ผลอ่อนสีเขียว เนื้อผลบาง พอสุกเป็นสีม่วงดำ

การขยายพันธุ์ของพลู่มะลี

การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง

ปลูกได้กับดินทุกชนิด ต้องการน้ำมาก ชอบแดดปานกลาง

ธาตุอาหารหลักที่พลู่มะลีต้องการ

ประโยชน์ของพลู่มะลี

  • เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนได้
  • ใบมีรสเผ็ด พบว่าในบางชุมชนนำมาใช้เคี้ยวแทนใบพลูกินกับหมาก โดยเฉพาะในช่วงสงครามที่หมากพลูหาได้ยากก็มีคำเล่าขานมาใช้พืชนี้กินแทนกันได้
  • ปลูกเป็นไม้ประดับ มีต้นวางขายใน ชื่อ “ปริศนา” ดอกมีกลิ่นหอมแรง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น ดอกคล้ายหอมหมื่นลี้

สรรพคุณทางยาของพลู่มะลี

  • ราก ต้มน้ำอมช่วยให้ฟันทน และเคี้ยวอมเพื่ออดบุหรี่
  • ลำต้น ใช้ในตำรับยาตะแบกป่า โดยนำมาผสมกับเนื้อไม้ตะแบกป่า (มะเกลือเลือด) ต้มน้ำดื่มรักษาโรคมุตกิด โรคระดูขาว รักษาภาวะมีบุตรยากในสตรีเนื่องจากรอบเดือนผิดปกติ (ตำรับยาสมุนไพร ร.พ.กาบเชิง จ.สุรินทร์)

คุณค่าทางโภชนาการของพลู่มะลี

การแปรรูปพลูมะลี

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment