วิธีการปลูกแตงกวา การดูแลและเก็บเกี่ยว

แตงกวา

แตงกวา เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ นํ้าเต้า ซึ่งมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวสั้น โดยใช้เวลาเพียง 30-45 วัน หลังจากปลูกเมื่อเปรียบเทียบรายได้จากการปลูกแตงกวากับพืชอื่นๆ หลายชนิดแล้ว แตงกวาเป็นพืชหนึ่งที่สามารถทํารายได้ดีทีเดียว สําหรับในแง่ของผู้บริโภคแล้ว แตงกวาที่สามารถนําไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิด เช่น การนําไปแกงจืด ผัด จิ้มนํ้าพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง จะเห็นได้ว่าแตงกวาเป็นพืชที่เข้ามามีบทบาทต่อการค้าทั้งในและต่างประเทศ

แตงกวา
แตงกวา ผลทรงกระบอก เรียวยาว

แตงกวาสามารถจําแนกได้ตามประโยชน์การใช้สอยดังนี้

  1. พันธุ์สําหรับรับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อบางและไส้ใหญ่ สีเปลือกเป็นสีเขียวอ่อน ผลมีนํ้ามากเป็นพันธุ์ที่มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ เมื่อผลยังอ่อนอยู่จะมีหนามเต็มไปหมด แต่เมื่อโตเต็มที่นามจะหลุดออกเอง พันธุ์ รับประทานสดนี้ไม่เหมาะกับการนําไปดอง
    แตงกวารับประทานสดแบ่งตามขนาดของผลนั้น แบ่งได้เป็น
    1.1 แตงผลยาว (long cucumber) ที่ร้จักกันในชื่อของแตงร้าน ซึ่งมีความยาวผลอย่างน้อย 15 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่ จะมีเนื้อหนาไส้แคบ กรณีที่เป็นพันธุ์ของไทยนั้น จะมีสีผลสีเขียวแก่ตรงส่วน ใกล้ขั้วผลประมาณ 1/3 ของผลที่เหลือมีจุดประสีเขียวอ่อนหรือขาวและ เส้นสีขาวเป็นแถบเล็กๆ ตลอดความยาวไปถึงปลายผล ส่วนพันธุ์ของต่างประเทศนั้นจะมีสีเขียวเข้มสมํ่าเสมอทั้งผล
    1.2 แตงผลสั้น (short cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงกวา ซึ่งมีความยาวผล 8-12 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อน้อยไส้กว้าง
  2. พันธุ์อุตสาหกรรม เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อหนา ไส้เล็ก บางพันธุ์ก็ไม่มีไส้เลย เปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อนําไปดองจะคงรูปร่างไดดี ไม่ค่อยเหี่ยวย่น แตงกวาพันธุ์นี้มักจะเป็นลูกผสม ผลมักมีรูปร่างผอมยาว ซึ่งแบ่งตามขนาดได้ดังนี้
    2.1 แตงผลยาว (long cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทําแตงดองของญี่ปุ่นและจีน ซึ่งจะต้องมีความยาวผล 20-30 ซม. และมีความกว้างผล 2-3 ซม. มีเนื้อหนาไส้แคบผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองโดยมีการใช้นํ้าปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ๊ว
    2.2 แตงผลสั้น (short cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทําแตงดองของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมีความยาว 8-12 ซม. และมีความกว้างผล 1.0-5.1 ซม. โดยทั่วไปจะมีอัตราส่วนความยาวต่อควากว้าง (L/D ratio) มีค่าอยู่ระหว่าง 2.8-3.1 มีเนื้อหนาและแน่น ไส้แคบ ผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองทั้งผล ผ่าตามความยาวและหั่นเป็นชิ้นๆ ตามความกว้างของผลมักดองโดยมีการใช้นํ้าปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ๊ว
การแปรรูปแตงกวา
การแปรรูปแตงกวา ด้วยการดองแตงกวา

สภาพแวดล้อมในการปลูกแตงกวา

อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สามารถเจริญเติบโตได้ผลดีระหว่างอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต สําหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผสมเกสรนั้นอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส

แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ต้องการนํ้ามากแต่ขาดนํ้าไม่ได้โครงสร้างของดินที่ปลูกแตงกวาควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายนํ้าดี ควรมีความเป็นกรด ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ในสภาพดินที่เป็นดินทรายจัด หรือเหนียวจัด จําเป็นต้องปรับปรุงบํารุงดินก่อนการปลูก โดยใช้ปุ๋ยอินทรียเช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วและสภาพความเป็นกรดด่างนั้น ควรจะวิเคราะห์หาค่าความต้องการปูนก่อนที่จะใช้ปูนขาวเพื่อให้มีการใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

การเตรียมดิน

ก่อนการปลูกแตงกวา ทําการไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วันเพื่อทําลายวัชพืช และศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออกแล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 11.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไป ปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกําหนดระยะระหว่างต้นประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร สําหรับการใส่ปุ๋ยเคมีรอพื้นนั้นอาจใช้สูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในบางแหล่งอาจใช้พลาสติกคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันความงอกของวัชพืช และพลาสติกบางชนิดสามารถที่จะไล่แมลงไม่ให้เข้ามาทําลายแตงกวาได

การเตรียมพันธุ์

ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์ นับว่าเป็นขั้นตอนที่สําคัญในการปลูกแตงกวา ซึ่งพอจะแบ่งได้ดังนี้

  1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุที่มีความสมบูรณ์  ซื้อจากร้านค้าให้เลือกซื้อจากร้านที่
    เชื่อถือ มีการบรรจุหีบห่อเมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้นหรืออากาศ จากภายนอกเข้าไปไดลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมี เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ด และก่อนใช้เมล็ดทุกครั้งควรทําการทดสอบความงอกก่อน
  2. การเตรียมดินเพาะกล้า อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 3:1 และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 0.5 กิโลกรัม ต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6x10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสําหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไป
  3. ทําการบ่มเมล็ด โดยนําเมล็ดบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรูพรุน แช่ในสารละลายเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืช เช่น แคปเทน ออโธไซด์ผสมอัตรา 5 กรัมต่อนํ้ 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที เพื่อทําลายเชื้อราที่ผิวเมล็ด จากนั้นนํามาแช่นํ้ 4 ชั่วโมง แล้วจึงบ่มในผ้าชุบนํ้าหมาดๆ  ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น บ่มในสภาพอุณหภูมิห้อง 24 ชั่วโมง หลังจากรากงอกยาว 0.5 เซนติเมตร จึงนําไปเพาะต่อไป
  4. การหยอดเมล็ดลงถุง นําเมล็ดที่ได้บ่มไว้หยอดลงแต่ละถุง จํานวนถุงละ 1 เมล็ด แล้วใช้ดินผสมหยอดกลบบางประมาณ 1 เซนติเมตร
การเตรียมพันธุ์
การเตรียมพันธุ์ การนำเมล็ดพันธุ์มาบ่มเพาะ

การดูแลรักษากล้า

หลังจากหยอดเมล็ดแล้วให้นํ้าทันที โดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทําได้ปริมาณนํ้าที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อนควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้นํ้าทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระทบต้นกล้ามากเกินเกินไป เมื่อแตงกวาเริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของต้นกล้าเป็นระยะๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกําจัดโดยเร็ว และเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบ จะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก

การปลูก

วิธีการปลูกแตงกวานั้น พบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ด หากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้ว จะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จําเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อน จึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสมํ่าเสมอ ประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้า เป์นต้น

สําหรับการย้ายกล้าปลูกนั้น ให้ดําเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้ว และเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กําหนดากนั้นนําต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่าแถวตามที่ได้กําหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก  ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา  17.00 น. จะทําให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

ต้นแตงกวา
ต้นแตงกวา ลำต้นเป็นเถาแข็งและเหนียว มีสีเขียว

การให้น้ำ

หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว ต้องให้นํ้าทันที ระบบการให้นํ้านั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้นํ้าตามร่อง เพราะว่าจะไม่ทําให้ลําต้น แลใบไม้ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้นํ้าในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้นํ้าให้นานขึ้น ข้อควรคํานึงสําหรับการให้นํ้นั้นคือ ต้องกระจายในพื้นที่สมํ่าเสมอตลอดแปลง และตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทําให้รากเน่าได้

การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้น อาจแบ่งเป็นระยะต่าง ดังนี้

  1. ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร
  2. หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตราประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่
  3. ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร 1515-15 หรือ 12-24-12 อัตรา ประมาณ 20-30 กิโลกรัมตอไร่
การปลูกแตงกวา
การปลูกแตงกวาแบบมีค้าง

การเก็บเกี่ยว

อายุการเก็บเกี่ยวของแตงกวานับจากวันปลูกประมาณ 30-40 วัน แล้วแต่พันธุ์แตงกวาสําหรับบริโภคสด ควรเลือกเก็บขณะที่ผลยังอ่อนอยู่เนื้อแน่นกรอบ และสังเกตได้จากมีนวลสีขาวเกาะและยังมีหนามอยู่บ้าง ถ้าผลแก่นวลจะจางหาย สีผลเริ่มเป็นสีเหลือง และไม้มีหนาม การเก็บแตงกวาควรทยอยเก็บวันเว้นวัน ไม่ปล่อยให้แก่คาต้น เพราะจะทําให้ผลผลิตทั้งหมดลดลง โดยปกติจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 1 เดือน

การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวแตงกวาควรเลือกเก็บขณะที่ผลยังออนอยู่

ราคาขาย

ราคาขายตลาดสี่มุมเมือง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565

  • แตงกวา (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 20 บาท / กะหล่ำปลีขาว (เล็กสวย) ราคากิโลกรัมละ 18 บาท
  • แตงกวาเล็กอ่อน (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 20 บาท / กะหล่ำปลีเขียว (เล็กสวย) ราคากิโลกรัมละ 18 บาท

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.simummuangmarket.com
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment