การเพาะเห็ด
ปัจจุบันการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกกำลังเป็นที่นิยมทำกันมากเนื่องจากการเพาะเห็ดในถุง พลาสติกนี้ใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรพวกขี้เลื่อย หรือฟางข้าวผสมอาหารเสริม สามารถทําได้ง่ายเพียงอ่านจากตํารา จากการเข้ารับการฝึกอบรม หรือเรียนรู้จากเพื่อนบ้านดังนั้น การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกจึงแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ครอบคลุมหลายพื้นที่ หลายพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศ เหตุนี้จึงทําให้มีเห็ดที่เพาะจากถุงจําหน่ายและบริโภคกันทั่วไปและสมํ่าเสมอ เห็ดที่นิยมเพาะในถุงพลาสติกส่วนมากได้แก่ เห็ดสกุลนางรม (เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดภูฏาน เห็ดเป๋าฮื้อเห็ดนางนวล และเห็ดนางนวล และเห็ดนางรมฮังการี เป็นต้น) เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดตีนแรด เห็ดยานางิ เป็นต้น เห็ดเหล่านี้สามารถเพาะได้บนวัสดุหลายชนิด โดยเฉพาะขี้เลื่อย หรืออาหารหมักจากฟาง
วัสดุอุปกรณ์
- อาหารเพาะ
- หัวเชื้อเห็ด
- ถุงพลาสติกทนร่อนขนาด 7×11 นิ้ว , 9×13 นิ้ว
- คอพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 นิ้ว
- ฝ้ายหรือสําสี
- ยางรัด
- ถังนึ่งไม้อัดความดัน หรือหม้อนึ่ง ความดัน
- โรงเรียนหรือสถานที่บ่มเส้นใย และเปิดดอก
การเตรียมอาหารเพาะ
มีหลายสูตร ดังนี้
สูตร 1
- ขี้เลื่อยแห้ง 100 กิโลกรัม
- รําละเอียด 3-5 กิโลกรัม
- ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
- ปูนขาว (CaCo3)
- (หรือเติมนํ้าตาลทราย 2-3 กิโลกรัม)
ผสมนํ้าให้มี ความชื้น 60-70 เปอร์เซ็นต์ คลุกผสมให้ทั่วแล้วนําบรรจุถุงทันที
สูตร 2
- ขี้เลื่อยไม้เบญพรรณ 100 กิโลกรัม
- แอมโมเนียมซัลเฟต 1 กิโลกรัม
- ปูนขาว 1 กิโลกรัม
- หมักกับนํานานประมาณ 2-3 เดือน
- ผสมรําละเอียด 3 กิโลกรัม
- (หรือเพิ่มน้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม)
- ปรับความชื้น 60-70 เปอร์เซ็นต์
สูตร 3
- ฟางสับ (4-6 นิ้ว ) 100 กิโลกรัม
- มูลวัว 25 กิโลกรัม ยูเรีย 1 กิโลกรัม
- รําละเอียด 5 กิโลกรัม
น้ำหมักฟาง มูลวัว ยูเรีย และนำกองเป็นรูปสามเหลี่ยมเป็นเวลาประมาณ 15 วัน โดยกลับกองทุกๆ 3-4 วัน นํามาผสมรําละเอียดคลุกให้ทั่วปรับความชื้น ในกองปุ๋ย ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ หมักไว้ 1 คืน จึงสามารถนําไปใช้ได้
สูตร 4
- ฟางสับ (4-6 นิว้ ) 100 กิโลกรัม
- ยูเรีย 1 กิโลกรัม
- แอมโมเนียมซัลเฟต 2 กิโลกรัม
- หินปูน (CaCO3) 1-3 กิโลกรัม หรือปูนขาว (CaO)
- ยิปซั่ม (CaSO4.7H2O) 2 กิโลกรัม
- ดิบเบิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต 3 กิโลกรัม
น้ำหมักฟางกับนําประมาณ 2 วัน ผสมยูเรียหมักต่อ 2-3 วัน ใส่แอมโมเนียซัลเฟต หมัก ต่อ 2-3 วัน ใส่แอมโมเนียซัลเฟต หมักต่อ 2-3 วัน กลับกอง หมักอีก 2-3 วัน ซุปเปอร์ฟอสเฟต หมัก 2-3 วัน นําไปใช้ได้ (ทุกครั้งที่มีการเติมปุ๋ยควรคลุกให้ทั่ว) โดยให้ปุ๋ยหมักมีความชื้น 60-70 เปอร์เซ็นต์
สูตร 5
- ฟางสับ (2-3 นื้ว) 100 กิโลกรัม
- หินปูน (CaCO3) 2 กิโลกรัม
- รําละเอียด 5-8 กิโลกรัม
ผสมนํ้าให้มีความชื้น 60-70 เปอร์เซ็นต์หมักส่วนผสมไว้นาน 8-10 วัน โดยกลับกองทุก 2 วัน
สูตร 6
ฟางหรือเปลือกถั่วเขียว หรือเศษต้นถั่วเหลืองที่ใช้เพาะเห็นฟาง
หมายเหตุ
- การทําปุ๋ยหมักควรทํากองปุ๋ยให้สูงไม่น้อยกว่า 100 เซนติเมตร
- อาหารหมักที่นาไปใช้เพาะเห็ดต้องไม่มีกลิ่นแอมโมเนีย เหลืออยู่ เห็ดสกุลนางรม และเห็ดตีนแรดใช้เพาะได้ดี ทั้งจากขี้เลื่อยและฟางหมัก โดยปรับความชื้นในอาหารเพาะ 60-70 เปอร์เซ็นต์
เห็ดหูหนู และเห็ดย่านาง ใช้อาหารเพาะจากขี้เลื่อยให้ผลผลิตดี โดยปรับความชื้นในอาหารเพาะ 60-70 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ยังมีวัสดุอีกหลายชนิดที่สามารถนํามาใช้เพาะเห็ดสกุลนางรม นางฟ้าได้ดี เช่น ชานอ้อย ซังข้าวโพด ขุยมะพร้าว
วิธีการเพาะ
- บรรจุอาหารเพาะลงในถุงพลาสติกทนร่อน กดให้แน่นตึง สูงประมาณ 2/3 ของถุง
- รวบปากถุง บีบอากาศออก สวมคอพลาสติก แล้วพับปากถุงพาดลงมารัดยางให้แน่น อุดด้วยสําลี หุ้มด้วยกระดาษ หรือฝาครอบพลาสติก
- นําไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยถังนึ่งไม่อัดความดัน หรือใช้หม้อนึ่งความดันอุณหภูมิ 90-100 0 ซ. เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้ถุงเย็น
- นําถุงวัสดุออกมาใส่เชื้อ จากหัวเชื้อที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง ประมาณ 10-15 เมล็ด ก็เพียงพอ โดยเขย่าเมล็ดข้าวฟ่างให้กระจายออก เปิดและปิดจุกสําลีโดยเร็ว โดยปฏิบัติในห้องที่สะอาดมิดชิดไม่มีลมโกรก 5. นําไปวางในที่สำหรับบ่มเส้นใยมีอุณหภูมิตามที่เห็ดแต่ละชนิดต้องการไม่จำเป็นต้องมีแสงไม่ต้องให้นํ้าที่ก้อนเชื้อ จนเส้นใยเห็ดเริ่ม รวมตัวกันเพื่อเจริญเป็นดอกเห็ด นําไปเปิดถุงให้ออกดอกต่อไป
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com
http://chan.nfe.go.th
One Comment