มะเดื่อป่า มะเดื่ออุทุมพร มีสรรพคุณแก้ท้องร่วง แก้ไอ

มะเดื่อป่า

ชื่ออื่นๆ : เดื่อเกลี้ยง (ภาคเหนือ) มะเดื่อเกลี้ยง, มะเดื่อ, มะเดื่อชุมพร, กูแซ, เดื่อน้ำ (ภาคใต้) มะเดื่อน้ำ, เดื่อเลี้ยง, มะเดื่อหอม, หมากเดื่อ (ภาคอีสาน) มะเดื่อดง 

ต้นกำเนิด : เขตร้อนของทวีปเอเชีย

ชื่อสามัญ : มะเดื่อป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus racemosa L.

ชื่อวงศ์ : Moraceae

ลักษณะของมะเดื่อป่า

ต้น ไม้ต้นขนาดกลางสูงประมาณ 10–20 เมตร ลำต้นเกลี้ยงสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเทา กิ่งอ่อนสีเขียว หรือสีเขียวในน้ำตาล กิ่งแก่มีสีน้ำตาลเกลี้ยง หรือมีขนปกคลุม

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับ ใบบาง รูปไข่หรือรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ฐานใบมนหรือกลม ผิวใบเกลี้ยง หรือมีขน ไม่หลุดร่วงง่าย

ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอก มีก้านเกิดเป็นกลุ่มบนกิ่งสั้นๆ ที่แตกออกจากลำต้น และกิ่งขนาดใหญ่

ผล รูปกลมแป้นหรือรูปไข่ มีขน ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น เมื่อฉีกออกจะพบเกสรเล็กๆ อยู่ภายในผล ผลสุกมีสีแดง

ต้นหมากเดื่อ
ต้นหมากเดื่อ ลำต้นเกลี้ยงสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเทา

การขยายพันธุ์ของมะเดื่อป่า

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่มะเดื่อป่า ต้องการ

ประโยชน์ของมะเดื่อป่า

  • ผลอ่อน  รับประทานเป็นอาหาร
  • ยอดอ่อน ใบอ่อน ใช้ลวกกินกับน้ำพริก
  • ใช้ทำแอกไถ หีบใส่ของ ไม้จิ้มฟัน
  • ไม้มะเดื่อจัดเป็นไม้มงคลที่สามารถปลูกไว้ในบ้านและยังเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เพราะในสมัยอดีตจะใช้ไม้มะเดื่อทำพระที่นั่งในพระราชพิธีราชาภิเษก ใช้ทำเป็นกระบวยตักน้ำเจิมถวาย และใช้ทำหม้อน้ำสำหรับกษัตริย์ทรงใช้ในพระราชพิธี
  • ต้นไม้ประจำจังหวัดชุมพร เป็นพันธุ์ไม้มงคล ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของมะเดื่อป่า

ส่วนที่ใช้ : ผลอ่อน เปลือกต้น ราก

  • เปลือกต้น – มีรสฝาด รับประทานแก้ท้องร่วง ชะล้างบาดแผล เป็นยาสมานดี
  • ราก เป็นยาแก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้หัว ไข้กาฬ ไข้พิษทุกชนิด กล่อมเสมหะ และโลหิต
  • ผลสุกมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
ผลหมากเดื่อ
ผลหมากเดื่อ ผลกลม ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีแดง

คุณค่าทางโภชนาการของมะเดื่อป่า

การแปรรูปของมะเดื่อป่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11871&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment