หมุย นิยมใช้ยอดอ่อนและดอก เป็นผักแกล้ม มีรสเผ็ดร้อน มัน และกลิ่นหอม

หมุย

ชื่ออื่นๆ : คอมขน สามโซก (เชียงใหม่), หวด (ลำปาง), เพี้ยฟานดง สมัดดง สมัดต้น สมัดใหญ่ (เลย), หัสคุณ (สระบุรี), ฉี้ ลิ้นชี่ สาบแร้งสาบกา (จันทบุรี), หมอน้อย (อุตรดิตถ์), ดอกสะมัด สะแบก (อุดรธานี), ชะมุย (ชุมพร), มุยขาว (ประจวบคีรีขันธ์), หมุยขน (นครศรีธรรมราช), กะม่วง สมุยช้าง หมุยช้าง (ยะลา), มรุยช้าง (ตรัง), สมุย (สุราษฎร์ธานี), หมรุย หมุยใหญ่ (กระบี่), กาจับลัก จี้ปุกตัวผู้ จี้ย้อย มองคอง หญ้าสาบฮิ้น (ภาคเหนือ), หมุย สมุย หัสคุณ (ภาคใต้), สมัด, สมัดน้อย, สหัสคุณ, หัสคุณไทย เป็นต้น

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Lime Berry

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Micromelum minutum Wight & Arn

ชื่อวงศ์ : RUTACEAE

ลักษณะของหมุย

ไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลาง สูงประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นขนาดเล็ก ผิวต้นสีน้ำตาลอมเขียวเล็กน้อย แตกพุ่มออกยอดใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก คล้ายใบมะกอก มีก้านใบยาว 25-30 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ ปลายแหลม 9-10 คู่ ออกตรงข้ามกัน หรือเหลื่อมกันเล็กน้อย ปลายสุดมี 1 ใบ ใบสีเขียวเกลี้ยงมันวาว ด้านหลังใบสีเขียวอ่อนกว่าหน้าใบมีขนสั้นๆ เล็กน้อย แผ่นใบสั้นเล็ก กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายใบเป็นหยักคลื่น ถ้าเอาใบส่องแดดดู จะเห็นต่อมน้ำมันกระจายอยู่ทั่วไป จับดูจะรู้สึกเหนียว ขยี้ใบดมดู จะมีกลิ่นหอม เหมือนการบูร ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ ตามกิ่ง ดอกสีขาว กินได้ ผลสุกสีชมพู มีรสหวานเล็กน้อย

ต้นหมุย
ต้นหมุย แตกพุ่มออกยอดใบ ใบประกอบแบบขนนก

การขยายพันธุ์ของหมุย

เพาะเมล็ด, แยกต้นอ่อน, ปักชำกิ่งยอด

ธาตุอาหารหลักที่หมุยต้องการ

ประโยชน์ของหมุย

หมุย มีรสเผ็ดร้อน มัน และกลิ่นหอม นิยมใช้ยอดอ่อนและดอก เป็นผักแกล้ม ภาคใต้ เรียก ผักเหนาะ แกล้มน้ำพริก แกงเผ็ด แกงไตปลา แกงหน่อไม้ ลาบ ยำ ขนมจีนน้ำยา ฯลฯ

สรรพคุณทางยาของหมุย

รากต้นหมุยมีสรรพคุณแก้พิษงูได้ โดยฝนรากหมุยผสมเหล้าขาว พอกแผลที่ถูกงูกัด ใช้ผสมกับสมุนไพรอื่นใช้แก้พิษจากโลหะ เช่น สังกะสี มีด ของมีคมบาด ตะปูตำ รากต้มน้ำดื่ม แก้โลหิตข้น นิ่วในไต ขับเลือดขับหนอง ทั้งรากและใบ แก้ไข้ ไอ หืด หอบ ลมเสียดแทง ขับลม ปวดศีรษะ ริดสีดวงจมูก ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงถุงน้ำดี ขับพยาธิไส้เดือน ผิวเปลือกต้นใช้รักษาแผล แก้พิษงูได้เช่นกัน หรือหมอยาไทยใช้ผสมสมุนไพรอื่นๆ รักษาคนป่วย เช่น ต้มรวมกับว่านน้ำ แก้หลอดลมอักเสบ รากผสมเป็นยาหยอดตา แก้ตาฝ้าฟาง แสบตา ดื่มแก้พิษงู ฯลฯ

ใบลดเบาหวาน ต้านพิษ ต้านการอักเสบติดเชื้อ ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันตับ ช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพดีและยาวไว จากการวิจัยพบว่า หมุยมีฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านแบคทีเรีย และสารบ้างตัวก็ยับยั้งไวรัส

ดอกหมุย
ดอกหมุย ดอกสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของหมุย

ยอดใบหมุย 100 กรัม ให้เส้นใยอาหาร (Fiber) 14.2 กรัม
เบต้าแคโรทีน 5,390 มิลลิกรัม ให้โปรตีน แคลเซียม วิตามิน A วิตามิน C เหล็ก

การแปรรูปของหมุย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12115&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment