อาหารแบคทีเรียต่ำโภชนาการต้านโควิด-19

อาหารแบคทีเรียต่ำโภชนาการต้านโควิด-19

“โภชนาการของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19” เป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย และปัจจุบันผู้ที่ป่วยโรคดังกล่าวมีหลากหลายวัยทั้งเด็ก คนสูงอายุ กระทั่งคนวัยหนุ่มสาว แต่สิ่งสำคัญคือภูมิต้านทานที่จะเป็นปราการสำคัญในการรับมือกับเชื้อไวรัสร้าย โดยเฉพาะการรับประทานในกลุ่มที่เรียกว่า “อาหารแบคทีเรียต่ำ” (low-bacterial diet) ที่สามารถลดการติดเชื้อไวรัสในผู้ป่วยโรคโควิด-19 หรือบางรายที่ติดเชื้อในปริมาณต่ำก็สามารถหายเองได้

“หลายคนที่สงสัยว่า “อาหารแบคทีเรียต่ำ” นั้นคืออะไร ซึ่งอันที่จริงแล้วคือ “อาหารที่ปรุงสุกสะอาด” ประกอบกับปัจจุบันนั้นบ้านเรามีผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 หลากหลายวัย แต่สิ่งที่เหมือนกันอยู่ 1 อย่างในการดูแลสุขภาพของป่วยที่มักมีอาการไอ เจ็บคอ และมีไข้สูงนั้น การกินอาหารกลุ่มแบคทีเรียต่ำหรืออาหารปรุงสุกใหม่นั้น ไม่เพียงช่วยลดอาการติดเชื้อไวรัสในผู้ป่วยลงได้ แต่ในบางคนที่ติดเชื้อโควิด-19 ในระดับที่ต่ำ ก็สามารถหายเองด้วยการกินอาหารกลุ่มดังกล่าว ทั้งนี้อาหารกลุ่มปรุงสุกใหม่นั้นเราคุ้นเคยกันดี โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งมักจะมีภาวะภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ ดังนั้น “อาหารแบคทีเรียต่ำ” จึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์มากที่สุด

การกินผักและผลไม้ดีวันละ 400 กรัม จาก สสส. บอกอีกว่า “นอกจากผู้ป่วยโรคโควิด-19 จะต้องกินอาหารปรุงสุกสะอาดแล้ว ก็ต้องบริโภคผักและผลไม้เช่นกัน อาทิ ผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานในร่างกายให้สูงขึ้น แต่ทั้งนี้อาจมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เช่น ผู้ป่วยโรควิด-19 ไม่ควรดื่มน้ำส้มคั้นหรือผลไม้สดที่มีเปลือก เนื่องจากจะมีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนอยู่ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีเปลือกบางซึ่งเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค เช่น องุ่น แอปเปิล สาลี่ จึงควรหลีกเลี่ยงผลไม้กลุ่มนี้ แต่ผู้ป่วยสามารถบริโภคส้มจีนที่มีเปลือกค่อนข้างหนา ที่สำคัญต้องล้างให้สะอาดก่อนกิน (ปอกเปลือกออกก่อน) หรือเลือกกินผลไม้ไทยๆ อย่างกล้วยและแก้วมังกร เพื่อเพิ่มวิตามินซีให้ร่างกาย และป้องกันเชื้อแบคทีเรียปลอมปนจากเปลือกผลไม้เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย

กล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้า ผลสุกสีเหลือง เนื้อในมีสีขาว

นอกจากนี้ การบริโภคอาหารกลุ่ม “low-bacterial diet” (อาหารปรุงสุกสะอาด) ในกลุ่มของวัยรุ่นที่ติดเชื้อโควิด-19 นั้น สามารถกินเนื้อสัตว์ทุกชนิดได้ ไม่ว่าจะเป็น หมู เนื้อ ปลาหมึก ปลา กุ้ง หอย แต่จะต้องปรุงให้สุกมากที่สุดกระทั่งเนื้อสัตว์ข้างในเป็นสีขาว เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียในอาหาร ปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย

ที่น่าสนใจนั้น อาหารกระป๋องทั้งหลาย เช่น ปลากระป๋อง ปลาทูน่าเค็ม ผลไม้กระป๋อง ที่ก่อนหน้านี้เรามักจะไม่แนะนำให้บริโภคมากนัก แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคโควิด-19 สามารถรับประทานได้ และถือว่าเป็นอาหารที่ปลอดภัยในช่วงที่โควิด-19 ระบาด เนื่องจากเป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อที่ทันสมัย จึงป้องกันเชื้อแบคทีเรียในอาหารเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย

แก้วมังกร
แก้วมังกร เนื้อสีขาว มีเมล็ดสีดำเล็กคล้ายเม็ดงา

อาหารปรุงสุกสะอาดกลุ่มที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 คือ การบริโภคไข่ปรุงสุกวันละ 1 ฟอง แนะนำให้เลี่ยงกินไข่ต้มยางมะตูม เพราะการที่ต้มไข่ไม่สุก ทิ้งไว้นานอาจปนเปื้อนเชื้อโรคต่างๆ ในอาหาร ที่ลืมไม่ได้ แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มนม โดยเฉพาะนมกล่อง UHT ที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ในปริมาณ 180-200 มิลลิกรัม และควรดื่มให้หมดกล่องและทิ้งทันที ไม่ควรดื่มทิ้งไว้และนำกลับมาดื่มอีกครั้ง โดยที่ยังมีหลอดปักอยู่บนกล่อง เพราะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย รวมถึงน้ำผลไม้แบบกล่องก็สามารถดื่มได้เช่นกัน”

ไข่ต้ม
ไข่ต้มสุก อาหารที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโควิด-19

ปิดท้ายกันที่อาหารห้ามกิน สำหรับผู้ป่วยติดโควิด-19 โดยเฉพาะ โยเกิร์ต และน้ำแข็ง “เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรค ที่จะทำให้อาการป่วยโควิด-19 อาจรุนแรงขึ้นได้ โดยเฉพาะน้ำแข็งที่เรารู้กันดีว่าเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรคต่างๆ และเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากผู้ป่วยโรคโควิด-19 ต้องระวังเกี่ยวกับเชื้อไวรัสและแบคทีเรียเข้าไปทำลายปอด ดังนั้นจึงไม่ควรบริโภคน้ำแข็งในช่วงที่ต้องรักษาตัว ส่วนโยเกิร์ตแนะนำผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงบริโภคในช่วงนี้เช่นกัน แม้ว่าในโยเกิร์ตจะมีจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้ แต่ถ้าในร่างกายมีจุลินทรีย์มากไป ซึ่งจุลินทรีย์ถือเป็นสิ่งที่มีชีวิต และหากย้อนกลับข้างต้นที่เราบอกว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 จะต้องกินอาหารที่ปรุงสุกสะอาด หรืออาหารกลุ่ม “low-bacterial diet” ที่ปราศจากเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนในร่างกาย ก็จำเป็นต้องงดกินโยเกิร์ตเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัยที่ป่วยโรคโควิด-19 ซึ่งมีภูมิต้านทานโรคต่ำอยู่แล้ว”

น้ำแข็ง
น้ำแข็ง

ส่วนผลไม้หน้าร้อนอย่างทุเรียน ที่หลายคนสงสัยว่าผู้ป่วยโควิด-19 สามารถรับประทานได้หรือไม่ นักกำหนดอาหารวิชาชีพอิสระแนะนำว่า “เนื่องจากตัวของทุเรียนนั้นไม่มีปัญหาในการรับประทาน แต่เปลือกของทุเรียนที่อาจปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ประกอบกับมีด และขั้นตอนในการปอกทุเรียน ก็อาจทำให้มีเชื้อโรคปนเปื้อนได้ ควรล้างเปลือกทุเรียนให้สะอาด รวมถึงมีดที่ใช้ปอกทำความสะอาดเป็นอย่างดี ก็สามารถบริโภคทุเรียนได้ค่ะ

เนื้อทุเรียน
เนื้อทุเรียน เนื้อมีสีเหลืองเข้ม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https ://www.dmh.go.th
ภาพประกอบ : https://www.flickr.com

Add a Comment