แตงโม
ชื่ออื่นๆ : แตงจีน (ตรัง) บะเต้า (ภาคเหนือ) บักโม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ต้นกำเนิด : ทวีปแอฟริกาในทะเลทรายคาลาฮารี
ชื่อสามัญ : Watermelon
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrullus lanatus
ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae
ลักษณะของแตงโม
ลำต้นแตงโม เป็นพืชล้มลุก มีอายุสั้นมี อายุเพียงปีเดียว หรือฤดูเดียว มีลำต้นเดี่ยว ลำต้นมีลักษณะกลมๆ ลำต้นเป็นเถาเลื้อย เถาแข็งและเหนียว เถาจะเลื้อยไปตามพื้นดิน มีสีเขียว มีขนอ่อนปกคลุม เถาสีเขียวอ่อน
รากแตงโม มีระบบรากแก้ว รากมีลักษณะกลมเล็กๆ จะมีรากฝอยๆ มีสีน้ำตาล
ใบแตงโม เป็นใบประกอบแบบฝ่ามือ ลักษณะใบจะรูปสามเหลี่ยมยาว ปลายใบแหลม ใบมีขนหยาบ
มีสีเขียว มีก้านใบรองรับ
ดอกแตงโม
-เป็นดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกจะมีสีเหลือง ดอกตัวเมียมีลูกแตงโมเล็กๆ ติดมาด้วย
-ดอกตัวผู้ ดอกเป็นช่อ ออกตามซอกใบ ก้านช่อดอกจะยาว ดอกตัวผู้มีเกสรยื่นออกเล็กน้อย และไม่มีลูกเล็กๆ ติดที่โคนดอก
ผลแตงโม มีลักษณะทรงกลม หรือทรงกระบอก มีเปลือกแข็ง มีสีเขียวหรือสีเหลือง บางพันธุ์จะมีลวดลายบนเปลือก เมื่อสุกข้างในผล มีเนื้อสีแดงหรือสีเหลือง จะมีเมล็ดสีดำแทรกอยู่ มีรสชาติหวานเย็น ให้ผลผลิตดช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
เมล็ดแตงโม ภายในจะมีหลายเมล็ดในผล มีเมล็ดเรียงกันอยู่ เมล็ดมีลักษณะยาวรีๆ เมื่อดิบมีสีขาว เมื่อสุกจะค่อยๆ เปลี่ยนเมล็ดเป็นสีดำ
การขยายพันธุ์ของแตงโม
การใช้เมล็ด
แตงโมที่นิยมปลูกโดยทั่วไปมีอยู่ 3 สายพันธุ์คือ
1.พันธุ์ธรรมดา มีเมล็ดขนาดเล็ก มีรสชาติหวาน มีแบ่งย่อยได้อีกหลายพันธุ์
2.พันธุ์ไร้เมล็ด ไม่มีเมล็ดแก่สีดำภายใน เป็นพันธุ์ผสมผลิต เพื่อใช้ในการส่งออก
3.พันธุ์กินเมล็ด พันธุ์นี้มีเนื้อน้อย เมล็ดขนาดใหญ่ ปลูกเพื่อนำเมล็ดมาคั่ว
ธาตุอาหารหลักที่แตงโมต้องการ
ประโยชน์ของแตงโม
แตงโมเป็นผลไม้ที่มีวิตามินและแร่ธาตุอยู่ภายในมากมาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตน้ำตาล เส้นใย โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบีรวม วิตามินซี กรดโฟลิก แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และ สังกะสี แตงโมจัดเป็นพืชผลไม้ตระกูลเดียวกันกับ แคนตาลูป ฟักทอง และแตงกวา เนื้อของแตงโมมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักทำให้มีคุณสมบัติเย็น เมื่อทานแล้วให้ความรู้สึกหวานชื่นใจ ช่วยคลายร้อน จึงมักนิยมกินแตงโมกันในช่วงเวลาอากาศร้อนแตงโมมีสารชนิดหนึ่งคือสาร ซิทรูไลน์ (Citrulline) ซิทรูไลน์ (Citrulline) สารนี้มีประโยชน์สามารถช่วยขยายหลอดเลือดแดงภายในร่างกายได้ สารนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อคนเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน เพราะมีแคลลอรี่ต่ำมาก สามารถพบสารนี้ได้มากที่เปลือกของแตงโมดังนั้นการกินแตงโมให้ได้ประโยชน์มากที่สุด จึงควรทานเนื้อแตงโมกับเปลือกขาวๆ ด้วยเล็กน้อย แต่ก่อนทานต้องไม่ลืมล้างเปลือกให้สะอาดเสียก่อน เพื่อป้องกันสารพิษตกค้างที่บริเวณเปลือก
สรรพคุณทางยาของแตงโม
คุณค่าทางโภชนาการของแตงโม
แตงโม 100 กรัม ให้พลังงาน 38 แคลอรี่
การแปรรูปของแตงโม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9702&SystemType=BEDO
https://primedetailing.ru/th
https://www.flickr.com
12 Comments