โรคเน่าเละ โรคใบจุด โรคของผักกาดขาวปลี

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

ผักกาดขาวปลี เป็นพืชสองปี แต่ส่วนใหญ่ปลูกเป็นพืชปีเดียว มีระบบรากแก้ว มีรากแขนงแผ่กระจายจำนวนมาก ขณะมีการเติบโตใบเรียงซ้อนกันเป็นกระจุกแบบดอกกุหลาบ ใบที่อยู่ภายในอัดเรียงกันเป็นปลีทรงกรวยหรือทรงค่อนข้างกลม โดยมีการเรียงใบแบบสลับออกมาจากข้อของลำต้น ใบเรียงซ้อนกันในปลีมีสีเขียวปนขาว ข้อควรระวังในการปลูกผักกาดขาวปลี ช่วงการเจริญเติบโต ต้องระวังธาตุโบรอน ซึ่งจะแสดงอาการ กาบใบแตกเป็นรอยดำ หากเปียกจะเกิดโรคเน่าเละ และจำหน่ายไม่ได้ วันนี้เกษตรตำบลมีลักษณะของโรคผักกาดขาวปลี  วิธีป้องกันกำจัดโรค การป้องกันแมลงหนอนที่เป็นศัตรูของผักกาดขาวปลีมาฝากกันค่ะ

โรคของผักกาดขาดปลี

  1. โรคเน่าเละ (Soft rot)
    สาเหตุ เกิดจากเชื้อราแบคทีเรีย
    ลักษณะอาการ เริ่มอาการของโรคเป็นจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาจะเน่าอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อเยื่อเปื่อยและเป็นน้ำภายในเวลา 2-3 วัน ผักจะเน่ายุบตัวหมดทั้งต้นและหัว หรือฟุบแห้ง เป็นสีน้ำตาลอยู่ที่ผิวดิน อาการเน่าจะเกิดส่วนใดก่อนก็ได้ แต่โดยปกติจะเริ่มที่โคนกาบใบหรือตรงกลางต้นก่อน สันนิษฐานว่าเชื้อราบางชนิดทำลายไว้ก่อน
    การป้องกันกําจัด
    1. ป้องกันมิให้เกิดแผลในระหว่างเก็บเกี่ยวขนส่ง และ การเก็บรักษา
    2. ฉีดยาป้องกันแมลงและหนอน
    3. ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโบรอนผสมด้วย โดยใช้ปุ๋ยบอแรกซ์ อัตรา 10-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
    4. อาจใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น พวกสเตร์ปโตมัยซิน อากริไมซิน ฉีดพ่น
โรคเน่าเละ
โรคเน่าเละ จะมีจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาจะเกิดการเน่า
  1. โรคเหี่ยวของผักกาดขาวปลี (Fusaarium wilt to Chinese Cabbage)
    สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Fusarium Oxysporum
    ลักษณะอาการ ผักจะมีใบล่างเหลืองและเริ่มสังเกตได้ง่าย คือ มีใบล่างเหี่ยวแห้งซีกใดซีกหนึ่ง ทำให้ใบเบี้ยวงอไปข้างที่ใบเหี่ยว ต่อมาใบทางซีกนั้นจะเหี่ยวเพิ่มขึ้น และเหี่ยวทั่วต้นในวเลาต่อมา หรือผักเจริญเติบโตแต่เพียงซีกเดียวก่อนแล้วเหี่ยวตาย เมื่อถอนดูรากจะขาดหลุดจากลำต้น เพราะผุเปื่อยเป็นสีน้ำตาล ในดินเหนียวและดินทรายมักพบโรคนี้มาก
    การป้องกันกำจัด
    1. ก่อนปลูกผักควรมีการเตรียมดินให้ดี มีการใส่ปูนขาวแก้ไขดินเป็นกรดก่อนปลูก
    2. ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากในระยะต้นกล้า
    3. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับพื้นที่ดังกล่าว
    4. ใช้ยาป้องกันกำจัดในโรคนี้มักได้ผลไม่คุ้มค่า
  2. โรคเน่าคอดิน (Damping off)
    สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pythium SP.
    ลักษณะอาการ โรคนี้จะเกิดเฉพาะในแปลงกล้าเท่านั้น การหว่านที่แน่นอับลมและต้นเบียดกันมาก มักจะเกิดโรค ต้นกล้ามักจะเกิดอาการเป็นแผลซ้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลเน่าและ แห้งไปอย่างรวดเร็วเมื่อ ถูกแสงแดดทําให้ต้นกล้าหักพับ เพราะมีแผลซ้ำที่โคนต้นระดับดินต้นเหี่ยวแห้งตาย บริเวณที่เป็นโรคจะค่อยๆ ขยายวงกว้างออกเป็นวงกลม
    การป้องกันกําจัด
    1. ไม่ควรหว่านเมล็ดผักแน่เกินไป
    2. ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายน้ำในอัตราความเข้มข้นน้อยๆ ราดลงไปบนผิวดินให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง เช่น เทอราคลอเบนฟอร์ด ซึ่งเป็นยาป้องกันเชื้อราในดินโดยตรงจะมีผลยิ่งขึ้น หรือจะ ใช้ริคโดมิล เอ็มแซด 72 ละลายน้ำรดก็ได้ผลดีหรือใช้ปูน ใส่รดแทนน้ำในระยะที่เป็นต้นกล้าก็จะช่วยให้ต้นกล้าแข็งแรง และไม่ต้องใช้ยาอีกเลย
  3. โรคใบด่างของผักกาดขาวปลี
    สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Turnip mosaic Virus
    ลักษณะอาการ ต้นที่เป็นโรคแสดงอาการใบด่างเขียวสลับเขียวเหลือง แคระแกรนตามบริเวณ เส้นใบจะพบเป็นสีม่วงปะปนอยู่เมื่อเป็นโรครุนแรงขึ้นใบจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลืองทั้งใบและมีลักษณะบิดงอเล็กน้อย
    การป้องกันกําจัด
    1. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค
    2. กำจัดต้นที่แสดงอาการของโรคในระยะแรก โดยการเผาทําลาย
    3. ป้องกันกําจัดแมลงพาหะพวกเพลี้ยอ่อนด้วยสารเคมี ไดเมทไทเอท ในอัตรา 30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร
โรคใบด่าง
โรคใบด่าง ใบด่างเขียวสลับเขียวเหลือง แคระแกรนบริเวณใบ
  1. โรคราน้ำค้าง
    สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Peroros Pora SP.)
    ลักษณะอาการ ด้านบนใบเป็นรอยด่างสีเหลืองซีด ต่อมาแสดงอาการไหม้ทับใต้ใบปรากฏเส้น ใยสีขาวเจริญขึ้นมา อาการลุกลามจากใบรอบนอกเข้าสู่ใบดานใน หากเป็นรุนแรงทำให้ใบไหม้
    การป้องกันกําจัด
    เมื่อเริ่ม พบอาการให้ใช้ ไดเมทเอ็ม หรือ อาโคนิล ฉีดพ่น หากมีการระบาดรุนแรงให้ใช้ เอพรอน 35 ฉีดพ่น 1 ครั้ง
  2. โรคใบจุด
    สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Altennaria SP.)
    ลักษณะอาการ เป็นจุดค่อนข้างกลมสีน้ำตาล ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน
    การป้องกันกําจัด
    ห้ามใช้สารเคมี เบนเลท ฉีดพ่น หากมีระบาดมากให้ใช้สารเคมรอฟรัล สลับกับแอนทราโคล ตามฉลากข้างภาชนะบรรจุ

แมลงหนอน

แมลงหนอนที่สำคัญได้แก่

  1. หนอนใยผัก
    หนอนใยผักเป็นหนอนผีเสื้อที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาหนอนผีเสื้อศัตรูผัก จะมีลักษณะหัวท้ายแหลม เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรงและทิ้งตัวลงดิน โดยการสร้างใย มักจะพบตัวแก่ตามใบโดยเกาะอยู่ในลักษณะยกหัวขึ้น หนอนใยผักเกิดจากการที่แม่ผีเสื้อวางไข่ไว้ ไข่มีขนาดเล็กค่อนข้างแบนสีเหลือง ติดกัน 2-5 ฟอง อายุไข่ประมาณ 3วัน อายุดักแด้ 3-4 วัน ตัวเต็มวัยมีเหลืองเทา ตรงส่วนหลังมีแถบสีเหลือง อายุตัวเต็มวัย 1 สัปดาห์ การทําลายของหนอนใยผักจะกัดกินผักอ่อน ดอกหรือใบที่หุ้มอยู่ทําให้ใบเป็นรูพรุน หนอนใยผักมีความ สามารถในการทนต่อสารเคมี และปรับตัวต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกำจัดได้ดี
    การป้องกันกำจัด
    1. ใช้สารเคมีกำจัดตัวหนอนโดยตรง
    2. โดยการใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัสทรูรินเจนซิส ทําลาย
    3. หมั่นตรวจดูแปลงผักกาดขาวปลีเมื่อพบตัวหนอนควรรีบทําลายทันที
  2. หนอนกระทู้ผัก
    หนอนกระทู้ผักมักพบบ่อยในพวกผักกาดโดยจะกัดกินใบ ก้านหรือเข้าทําลายในหัวปลี มักจะเข้าทําลายเป็นหย่อมๆ ตามจุดที่ผีเสื้อวางไข่ หนอนชนิดนี้สังเกตได้ง่าย คือ ลําตัวอ้วนป้อม ผิวหนังเรียบ คล้ายหนอนกระทู้หอม มีสีสันต่างกัน มีแถบสีข้างลำตัว แต่ไม่ค่อยชัดนักเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาด 3-4 เซนติเมตร เคลื่อนไหวช้า ระยะตัวหนอนประมาณ 15-20 วัน และจะเข้าดักแด้ตามใต้ผิวดิน ระยะดักแดประมาณ 7-10 วัน การทําลายจะกัดกินก้านใบและปลีในระยะเข้าปลี
    การป้องกันกําจัด
    1. หมั่นตรวจดูสวนผัก เมื่อพบหนอนกระทู้ผักควรทําลายเสีย เพื่อป้องกันไม่ให้มีการระบาดลุก ลามต่อไป
    2. ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เมโธมิล อัตรา 10-12 กรัม/นํ้า 20 ลิตร หรืออาจใช้เมวินพอส 20-30 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร
  3. เพลี้ยอ่อน
    ตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้ออกจากท้องแม่ได้โดยที่เพศเมียไม่ต้องผ่านการผสมพันธุ์ตัวอ่อนที่ออก จากตัวแม่ใหม่ๆ พบว่ามีลําตัวขนาดเล็กมากต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ลําตัวสีเหลืองอ่อนนัยตาสีดำ ขาทั้ง 3 คู่ สีเช่นเดียวกับลําตัวการทําลายเพลี้ยอ่อนชนิดที่ทำลายทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยการดูดนํ้าเลี้ยงจากพืชทั้งยอด ใบอ่อน ใบแก่ ช่อดอก ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัด คือ ยอดและใบจะ หยิกงอ เมื่อเพลี้ยอ่อนเพิ่่มขึ้นเรื่อยๆ พืชก็จะเหี่ยวใบผักจะถูกทําลาย จะค่อยๆ มีสีเหลืองและร่วงหล่นลําต้นจะแคระแกรน ถ้าทําลายช่อดอกจะทําให้ดอกร่วงหล่นหลุด ทําให้ผลผลิตลดลง
    การป้องกันกําจัด
    ควรใช้สารเคมีกลุ่ม มาลาไธออน มีชื่อการค้า เช่น มาลาเทน มาลาไธออน 83% ในอัตรา30- 55ซีซี./น้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง แต่ละครั้ง ห่างกัน 7 วัน นอกจากนั้น อาจใช้ในอัตรา 5 กรัม/นํ้า 20 ลิตร ทําการพ่นเป็นครั้ง คราว ยาชนิดนี้เป็นยาที่เหมาะสําหรับสวนผักหลังบ้าน ปลอดต่อมนุษย์
  4. หมัดกระโดด พบตลอดปี ฉีดพ่นเซฟวิน 85 หรือแลนเนท เมื่อย้ายปลูก มดทําลายช่วงก่อนกล้างอกสังเกต จากทางเดินมด ป้องกันโดยใช้ เซฟวิน 85 และคูมิฟอสรดแปลงกล้า
แมลงหนอน
แมลงหนอนที่กัดผักกาดขาวปลี ใบจะมีรูพรุนจากการเจาะ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment