โรคใบจุด ราสนิม หนอนแมลงวันในถั่วฝักยาว พร้อมวิธีป้องกันกำจัด

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว เป็นเถาเลื้อย เถาแข็งและเหนี่ยว คล้ายกับถั่วพู เถาสีเขียวอ่อน ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ดี  ผลเป็นฝักกลม มีหลายเมล็ด ฝักของถั่วฝักยาวใช้รับประทานทั้งดิบและสุก เหมาะที่จะรับประทานเมื่อยังอ่อน

ในการปลูกถั่วฝักยาวนั้น เกษตรกรมักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับศัตรูพืชและโรคของถั่วฝักยาว วันนี้เรามีวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูและโรคของถั่วฝักยาวมาฝากกันค่ะ

ศัตรูถั่วฝักยาว

แมลงศัตรูถั่วฝักยาว พบว่าถั่วฝักยาวมีแมลงศัตรูที่สําคัญ หลายชนิด ได้แก่

1. หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว

หนอนชนิดนี้จะเข้าทำลายต้นถั่วตั้งแต่ถั่วฝักยาวเริ่มงอกทำให้ใบเหี่ยวเฉาแห้งตาย นับเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญตัวหนึ่งลักษณะเป็นแมลงวัน ขนาดเล็กสีดำ ลำตัวยาว 0.2-0.3 เซนติเมตร ในขณะที่แดดจัดจะพบบริเวณใบอ่อนเมื่อทำลายแล้วจะเกิดจุดสีเหลืองซีด ถ้าระบาดมากใบจะแห้ง ตัวแก่จะวางไข่บริเวณข้อและยอดอ่อน ตัวหนอนเล็กรูปร่างรีสีขาวลักษณะที่หนองทําลายจะเกิดรอยแตก ใบร่วง และเฉาเหี่ยวตายไปในที่สุด
การป้องกันกําจัด
ใช้สารเคมีป้องกันกําจัดแมลงศัตรูพืชพวกคาร์โบฟูราน (carbofuran) เช่น ฟูราดาน หรือคูราแทร์ รองก้นหลุมอัตรา 2 กรัม/หลุม ซึ่งจะมีผลควบคุมแมลงศัตรูได้ประมาณ 1 เดือน สารเคมีประเภทนี้ควรใช้เฉพาะการหยอด รองก้นหลุมพร้อมเมล็ดเท่านั้น ไม่ควรหยอดเพิ่มระยะหลังเพราะอาจมีพิษตกค้างในผลผลิตได้ หากไม่ได้ใช้วิธีการข้างต้นให้ป้องกันโดยใช้สารเคมีกำจัด แมลงพวกไดเมทโธเอท (dimethoate) หรือพวกโมโนโครโตฟอส (monocrotophos) ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน โดยใช้อัตรา 3-4 ช้อนแกงต่อนํ้า 20 ลิตร หรือใช้ตามฉลากคําแนะนําจนถั่วใกล้ออกดอก

2. หนอนเจาะฝักถั่ว

เป็นหนอนที่ทำลายถั่วหลายชนิด หนอนในระยะแรกจะกัดกินภายในดอก ทําให้ดอกร่วงก่อนติดฝัก เมื่อหนอนโตขึ้น จะเจาะเข้าไปกัดกินภายในดอก ทําให้เกิดดอกร่วงก่อนติดฝัก ทําให้เกิดความเสียหาย ในลักษณะของแมลงศัตรูตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กวางไข่ขนาดเล็ก (0.5-0.81 มิลลิเมตร) ตามกลีบเลี้ยง อายุฟักไข่ประมาณ 3 วัน แล้วจึงเข้าไประหว่างรอยต่อของกลีบดอก และเมื่อเจริญขึ้นหนอนจะเข้าไปทําลายดอกและฝักถั่วฝักยาว
การป้องกันกําจัด
ใช้สารเคมีป้องกันกําจัดแมลงที่มีฤทธิ์ตกค้างสั้น พวกเฟนวาเลอเรท (fenvalerate) ได้แก่ ซูมิไซดิน, ซูมิ 35 หรือไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ได้แก่ ซิมบุซ เป็นต้น หรือสารเคมีกลุ่มอื่น ทั้งนี้ต้องคํานึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคด้วย

3. เพลี้ยอ่อน

มักเข้าทําลายยอดอ่อนและฝักของถั่วฝักยาว โดยดูดกินน้ำเลี้ยงทําให้ต้นแกร็น ดอกร่วง ไม่ติดฝัก และหากฝักอ่อนถูกดูดกินนํ้าเลี้ยงจะทําให้ได้ฝักขนาดเล็กลง
การป้องกันกําจัด
ใช้สารเคมีพวกเมทามิโดฟอส (methamidophos) เช่น ทามารอน โซนาต้า มอลต้า โมนิเตอร์ เอฟ 5 เป็นต้น ฉีดพ่นในอัตราที่กำหนดไว้ในฉลากคู่มือการใช้สารเคมีป้องกันและกําจัดแมลง

แมลงศัตรูถั่วฝักยาว
แมลงศัตรูถั่วฝักยาว แมลงที่ทำลายใบและต้นทำให้เกิดความเสียหาย

โรคถั่วฝักยาว

โรคถั่วฝักยาวนั้น แม้ว่าจะไม่แสดงอาการของโรคให้เห็นทันทีหลังจากเชื้อโรคเข้าทําลาย หากแต่การทําลายของโรคพืชนั้นสร้างความรุนแรง และความเสียหายได้มาก แก้ไขได้ยากกว่าการทําลายของแมลงศัตรูพืช โรคของถั่วฝักยาวที่สําคัญ ได้แก่

1. โรคใบจุด

ลักษณะอาการ
ถั่วฝักยาวมีโรคใบจุดชนิดหนึ่งทําให้เนื้อเยื่อแผลแห่งเป็นวงกลมหรือเกือบจะกลม สีน้ำตาลตรงกลางแผลมีจดุ ไข่ปลาสีดําเล็กๆ ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อราที่ขึ้นเป็นกระจุก และเรียงเป็นวงกลมซ้อนกันมองเห็นชัดด้วยตาเปล่า ทำให้มองเห็นแผลเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้นขนาดของแผลประมาณ 1-2 เซนติเมตร มักจะเกิดกับใบแก่ที่อยู่ตอนล่างๆ
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อ Cercospora sp.
การป้องกันกําจัด
ควรพ่นสารป้องกันกําจัดเชื้อราเมื่อพบโรคนี้ โดยใช้สารไดเทนเอ็ม 45 เดอโรซานบาวิสติน หรือเบนเลท อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตราตามข้างฉลากฉีดพ่นทุก 5-7 วัน

2. โรคราสนิม

ลักษณะอาการ
อาการปรากฎด้านใต้ใบเป็นจุดสีสนิม หรือนํ้าตาลแดง จุดมีขนาดเล็ก ใบที่เป็นโรคมาก จะมองเห็นเป็นผงสีน้ำตาลแดง โรคนี้มักจะเกิดกับใบแก่ทางตอนล่างของลําต้นก่อน แล้วลามขึ้นด้านบน มักจะเริ่มพบเมื่อต้นถั่วอยู่ในระยะออกดอก ถ้าเป็นรุนแรงมาจะทําให้ใบแห้งร่วงหล่นไป
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา Uromyces fabae Pers
การป้องกันกําจัด

  1. ใช้กํามะถันผงชนิดละลายนํ้าอัตรา 30-40 กรัม/นํ้า 20 ลิตร พ่นสัปดาห์ละครั้ง ไม่ควรใช้ในขณะที่แดดร้อนจัด และห้ามผสมสารเคมีชนิดอื่น
  2. ใช้สารเคมีแพลนท์แวกซ์ (plantvax) อัตรา 10-20 กรัมนํ้า 20 ลิตร
โรคราสนิม
โรคราสนิม ใบจะมีจุดสนิมสีน้ำตาลแดง

3. โรคราแป้ง

ลักษณะอาการ
อาการมองเห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า บนใบมองเห็นคล้ายมีผงแป้งจับอยู่ ถ้าอาการไม่มากนักผงแป้งนี้จะเกาะอยู่บนใบเป็นกลุ่มๆ แต่ถ้าเป็นมากจะเห็นผิวใบถูกเคลือบอยู่ด้วยผงแป้งเหล่านี้ อาการที่รุนแรงจะทำให้ใบเหลืองและร่วง โรคนี้มักจะไม่ทําให้ต้นตายอย่างรวดเร็วกว่าปกติ
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา Oidium sp.
การป้องกันกําจัด

  1. ใช้กํามะถันผงเหมือนกับโรคราสนิม
  2. ใช้คาราเทนหรือซาพรอน อัตราตามคําแนะนําที่ฉลาก ฉีด พ่น 7-10 วัน

4. โรคใบด่าง

ลักษณะอาการ
ถั่วจะแสดงอาการใบด่างเหลืองมากน้อยแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม อาการจะมองเห็นได้ชัดเจนบนใบแก่เป็นสีเขียวเข้มสลับกับสีเหลือง หรือด่างเป็นลาย บางครั้งสีเหลืองอ่อนเกือบเป็นสีขาวสลับกับสีเขียวแก่ของใบ มีท้ังชนิดลายแล้วใบเป็นคลื่น และด่างลายใบ เรียบใบอาจจะม้วนงอหรือแผ่ตามปกติ ในกรณี ที่เป็นโรคอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในระยะต้นอ่อนและตายในที่สุด
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม PVY
การป้องกันกําจัด

  1. เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากโรค โดยการเลือกเก็บจากต้นที่ปราศจากโรคใบด่าง
  2. ถอนต้นที่มีอาการของโรค ทําลายเผาทิ้ง
  3. ใช้สารเคมีป้องกันกําจัดแมลงฉีดพ่นแมลงพาหะ
โรคใบด่าง
โรคใบด่าง ใบจะมีสีเขียวสลับกับเหลือง หรือด่างลาย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment