โรคใบไหม้ โรคที่สำคัญของการปลูกเผือก

โรคเผือกที่สำคัญ

เผือก เป็นพืชล้มลุกมีอายุหลายปี หัวและเหง้าอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่สะสมอาหาร ลำต้นสั้น หัวเผือกแก่เปลือกสีน้ำตาลดำ ถ้าหัว เผือกอ่อน แต่ถ้าเผือกดิบจะมีเนื้อกรอบ โดยมีกาบหุ้มดอกสีเหลืองอมเขียวจนถึงส้ม เมื่อนำไปปรุงสุก เนื้อในจะมีสีขาวครีมอมม่วง โดย จะมีเนื้อร่วน รสชาติออกหวานนิดๆ

ในการปลูกเผือก เกษตรกรอาจพบปัญหาในการปลูก เช่น แมลงศัตรูของเผือก โรคของเผือก วันนี้เกษตรตำบล มีวิธีการกำจัดและป้องกันแมลงศัตรูพืช รวมถึงโรคของเผือกมาฝากกันค่ะ

1. โรคใบไหม้ (โรคใบจุดตาเสือ)

สาเหตุ เกิดจากเเชื้อรา Phythopthera colocasiae Rac. อาการบนใบเกิดจุดสีน้ำตาลฉ่ำน้ำ ขนาดหัวเข็มหมุด ถึงขนาดเหรียญบาท ปรากฎเห็นชัดบนผิวใบแผลขยายใหญ่นั้น เป็นวงๆ ต่อกัน ลักษณะพิเศษ คือ บริเวณของขอบแผลมีหยดสีเหลืองข้น ซึ่ง ต่อมาแห้งเป็นเม็ดๆ เกาะอยู่เป็นวงๆ เมื่อบีบจะแตกเป็นผล ละเอียด สีสนิม ในระยะที่รุนแรงแผลขยายติดต่อกัน และทําใหใบม้วนพับเข้าและแห้งเหี่ยว หรืออาจเน่าเละถ้าอากาศชื้น มีฝนพรํา

อาการ บนก้านใบจะเกิดแผลฉํ่าน้ำยาวรีสีน้ำตาลอ่อน แผลขยายใหญ่ข้น เป็นวงๆ เช่นกันต่อมาจะเน่า แห้งเป็นน้ำตาล มีหยดสีเหลืองข้นด้วยทำให้ก้านต้านทานน้ำหนักใบไม่ได้จึงหักพับ มีผลทําให้ใบแห้ง พบมากในระยะโรครุนแรง และมีลมพัด อาการเป็นระยะนี้ทำให้ผลผลิตลดลง และเชื้อนี้อาจเข้าทําลายหัวเผือกด้วยทําให้หัวเผือกเน่าเสียหายได้

ความสัมพันธ์ของความชื้นและอุณหภูมิ จะมีผลต่อการเกิดโรคเชื้อราทําให้โรคมีการระบาดรุนแรงหากช่วงที่ได้รับเชื้อ มีฝนตกพรําตอนใกล้รุ่ง และตอนเช้าติดต่อกัน มีฝนพรําทั้งวัน และมีลมอ่อนๆ เนื่องจากสภาพดังกล่าวเหมาะสมต่อการสร้างสปอรเชื้อรา ซึ่งเชื้อสร้างสปอรบนใบเผือกได้ดีหากมีความชื้น สูง (90-100%) และอุณหภูมิต่ำ (20-25%)

โรคนี้เป็นโรคที่รุนแรงที่สุดของเผือกที่พบในประเทศไทยและในต่างประเทศ โรคนี้เริ่ม ระบาดเมื่อมีฝนตกและอากาศชุ่มชื้น ถ้ามีฝนตกหนักและติดต่อกันหลายๆ วัน โรคจะระบาดอย่างรวดเร็วในแปลงที่เป็นรุนแรง เผือกจะมีใบเหลือประมาณต้นละ 3-4 ใบ เท่านั้น เผือกที่เป็นโรคนีถ้ายังไม่เริ่มลงหัว หรือลงหัวไม่โตนักจะเสียหายหมด หัวที่ลงจะไม่ขยายเพิ่ม ขนาดขึ้น ในช่วงทีห่มอกลงจัดเผือกจะเป็นโรคนี้ได้ง่ายเช่นเดียวกัน

การป้องกันกําจัด

  1. หากพบว่าในเผือกเริ่มเป็นโรคใบจุดตาเสือ ให้ตัดใบเผือกที่เป็นโรคไปเผาทําลายให้หมด ไม่ควรปล่อยทิ้ง หลงเหลืออยู่ในแปลง เชื้อราจะปลิวไปยังต้นเผือกต้นอื่นๆ ได้
  2. ใช้พันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคใบจุดตาเสือ ในแหล่งที่มีโรคนี้ระบาดมากๆ ควรเปลี่ยนใช้ พันธุ์เผือกที่ทนทานต่อโรคใบจุดตาเสือมาปลูกแทน เช่น พันธุ์ พจ.06 เป็นต้น
  3. แยกแปลงปลูกเผือกให้ห่างกันเพื่อ ลดการแพร่กระจายของโรค
  4. ไม่ควรเดินผ่านแถวเผือกในขณะที่แปลงเผือกชื้น แฉะ เพราะทําให้เพิ่มการระบาดของเชื้อ
  5. ใช้สารเคมี ได้แก่ ริโดมิล อัตรา 2-3 กรัมต่อต้น หยอดลงไปที่โคนต้นจะสามารถป้องกันโรค ได้ประมาณ 1 เดือน หรือใช้สารคูปราวิท 50% อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทั้งต้น 5-7 วันต่อครั้ง และเนื่องจากเผือกมีใบลื่นมาก การฉีดสารเคมีทกุครั้ง จึงควรใช้สารจับใบผสมไปด้วยเพื่อให้สารเคมีจับ ใบเผือกได้นาน
โรคใบไหม้
โรคใบไหม้ บริเวณใบจะมีจุดสีน้ำตาล

2. โรคหัวเน่า

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii โรคนี้ อาจเกิดได้ระหว่างการเก็บรักษาหัวเผือก หรือปล่อยทิ้งไว้ในแปลงปลูกนานเกินไป หรือมีน้ำท่วมขังแปลงปลูกเผือกในช่วงเผือกใกล้เก็บเกี่ยว

การป้องกันกําจัด

  1. พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้หัวเผือกที่ใกล้ช่วง เก็บเกี่ยวได้รับน้ำหรือความความชื้น มากเกินไป ถ้ามีน้ำท่วมขังควรสูบนน้ำออก
  2. ในระหว่างการเก็บรักษาหัวเผือกในโรงเก็บนํ้าควรระมัดระวังไม่ให้หัวเผือกชื้น และไม่ควรกองหัวเผือกสุมกันมากๆ ควรทําเป็นชั้นๆ จะได้ระบายถ้ายเทอากาศได้สะดวก

แมลงศัตรูของเผือก

1. หนอนกระทู้ผัก

หนอนกระทู้ผัก
เป็นแมลงศัตรูเผือกที่ระบาดเฉพาะแหล่ง ไม่พบทั่วไป แมลงชนิดนี้มีพืชอาศัยหลายชนิดเช่น บัวหลวง และพืชผักชนิดต่างๆ ลักษณะและการทําลาย เริ่มแรกผีเสือจะวางไข่ไว้ตามใบเผือกแล้วฟักตัวออกเป็นตัวหนอนอยู่เป็นกลุ่มกัดกินใบเผือกด้านล่าง เหลือไว้แต่ผิวใบด้านบนเมื่อผิวใบแห้ง จะมองเห็นเป็นสีขาว ถ้าหนอนกระทู้ผักระบาดมาก จะกัดกินใบเผือกเสียหายทั่วทั้งแปลงได้ ทำให้เผือกลงหัวน้อย ผลผลิตต่ำ 

การป้องกัน
ให้สารเคมีฉีดพ่นช่วงที่หนอนชนิดนี้ระบาด สารเคมีที่ใช้ได้แก่ เพอเมทริน มีชื่อการค้า คือ แอมบุช 10% อีซี ใช้อัตรา 40-60  มิลลิลิตต่อน้ำ 20 ลิตร และแอมบุช 25% อีซี ใช้อัตรา 10-20 มิลลิลิตต่อน้ำ  20 ลิตร หรือสารเฟนวาลีเรท มีชื่อการค้าคือ ซูมิไซดิน 20% อีซี ใช้อัตรา 15-30 มิลลิลิตต่อน้ำ 20 ลิตร ซูมิไซดิน 35% อีซี ใช้อัตรา 10-20 มิลลิลิตต่อน้ำ  20 ลิตร และซูมิไซดิน 10% ใช้อัตรา 30-60 มิลลิลิตต่อน้ำ  20 ลิตร หรืออาจใช้สารเคมีอโซดริน อัตรา 28-38 มิลลิลิตต่อน้ำ 20 ลิตร หรือแลนเนท อัตรา กรัมต่อน้ำ ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่งพ่นในช่วงที่หนอนระบาด

2. เพลี้ยอ่อน

เป็นแมลงศัตรูเผือกที่ระบาดเฉพาะแหล่งไม่พบทั่วไป มีขนาดเล็ก ตัวอ่อนมีสีน้ำตาล โดยเพลี้ย อ่อนจะดูดกินนําเลีี้ยงตามใบและยอกอ่อนของเผือกทําให้เผือกแคระแกรน ไม่ค่อยเจริญเติบโต

การป้องกันกําจัด
ใช้สารเคมี ได้แก่ มาลาไธออน อัตรา 40-45 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ใช้สารคาร์บาริล เช่น เซพวิน 80% อัตรา 47 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นในช่วงเพลี้ยอ่อนระบาด

3. ไรแดง

เป็นแมลงศัตรูขนาดเล็กที่ระบาดเฉพาะแหล่ง ไม่พบทั่วไป ไรแดงมีรูปร่างคล้ายแมงมุม ตัวเล็ก มาก ลําตัวสีแดง พบอยู่ตามใต้ใบเผือกและยอดอ่อนโดยไรแดงจะใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบเผือก ทําให้เกิดเป็นรอยจุด สีน้ำตาลหรือสีขาวอยู่ทั่วไป ถ้าระบาดมากใบเผือกจะเปลี่ยนจากสีเขียวกลายเป็นสีเทา แล้วแห้งในที่สุด ไรแดงเผือกจะพบระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง หรือในช่วงเผือกขาดน้ำ

การป้องกันกําจัด
สารเคมี ได้แก่ สารไดโรฟอล เช่น เคลเทน ไดโคล หรือคิลไมท์ อย่างใด อย่างหนึ่ง อัตรา 40-50 มิลลิกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น บริเวณที่ไรแดงระบาดโดยเฉพาะใต้ใบเผือก

แมลงศัตรูของเผือก
แมลงศัตรูของเผือก จะพบแมลงจำนวนมากวางไข่ไว้บนใบเผือก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment