ไม้วงศ์ยาง ไม้สกุลยาง ชนิดของไม้วงศ์ยาง

ชนิดของไม้วงศ์ยาง

ต้นยางถือเป็นพืชอีกหนึ่งชนิดที่ถูกจัดให้เป็นพันธุ์ต้นไม้ที่มีประโยชน์ทางเศษกิจของประเทศ เนื้อไม้ที่ได้จากต้นยางถือว่ามีคุณค่าอีกทั้งเป็นที่ต้องการของตลาด บางชนิดสามารถใช้เปลือกเป็นยาได้อีกด้วย ปัจจุบันพันธุ์ ยางถูกค้นพบไม่น้อยกว่า 700 ชนิดทั่วโลก เมื่อเติบโตเต็มที่สามารถสูงได้ไม่น้อยกว่า 5 เมตร ขนาดลำต้นเล็กใหญ่ตามแต่ละสกุลที่ต่างกันไป พบได้มากในเขตป่าร้อนชื้น ไม้วงศ์ยางนี้ นอกจาก ยางนาที่รู้จักกันดีในประเทศไทยแล้ว พันธุ์ไม้ที่มาจางวงศ์เดียวกันนั้น ก็มีชื่อที่เรียกที่แตกต่างกันออกไป และยังพบได้ในป่าทั่วไปเช่นเดียวกับยางนา

ลักษณะของไม้วงศ์ยาง

ต้นยางถือเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่พบได้ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย มีลำต้นโตเต็มที่ขนาดใหญ่ มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ เป็นไม้ที่จัดอยู่ในวงศ์  Dipterocarpus  ซึ่งต้นยางนี้จะมีลักษณะเด่นคือเมล็ดหรือผลจะกลีบเลี้ยงขนาดใหญ่ติดมาด้วย ทำให้มองดูแล้ว มีลักษณะคล้ายกับปีก

พืชวงศ์ยางนี้ปัจจุบันมีหลายสายพันธ์ที่ถูกนำมาปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย เกษตรกรนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ยืนต้นในพื้นที่ทำการเกษตรแบบผสมผสาน เนื่องจากฟอกอากาศได้ดี รักษาหน้าดิน ลำต้นสูงใหญ่ ให้ร่มเงาที่ดีแล้วยังสามารถปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่นๆ สร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกด้วย เกษตรกรจึงหันมาปลูกไม้วงศ์ยางนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว

การกระจายพันธุ์

ปัจจุบันนี้มาการค้นพบไม้สายพันธุ์นี้เพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ ทั่วโลก แหล่งข้อมูลที่ได้ที่ไม่เหมือนกัน ทำให้ไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่นอนว่าต้นยางมีกี่ชนิดทั้งนี้หากเป็นในประเทศไทย เมื่อจัดแยกประเภท ทางสกุลของไม้วงศ์ยางแล้ว ปัจจุบันพบว่าสามารถแบ่งออกเป็นหลักใหญ่ๆแล้วได้ 8 สกุลด้วยกัน นอกจากนี้หากนับรวมแต่ชนิดของ 8 สกุลนี้แล้วก็มีไม่น้อยกว่า 60 ชนิดเลยทีเดียว

ต้นยางนา
ต้นยางนา ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่

ไม้วงศ์ยางในประเทศไทย แบ่งชนิดออกได้เป็น 8 สกุลดังนี้

  1. พันธุ์ไม้สกุล กระบาก (Anisoptera) สกุลนี้มีต้นไม้ที่พบในไทยได้แก่ อาทิเช่น ต้นกระบาก, ต้นกระบากแดง, ต้นกระบากทองและช้าม่วง
  2. พันธุ์ไม้สกุล ยาง (Dipterocarpus) สกุลนี้เป็นสกุลที่คนนิยมปลูกมากที่สุด มีหลายชนิด พบได้เยอะสุดคือ ยางนา นอกจากนี้ยังมี ยางขน, ยางบูเก๊ะ, ยางวาด, ยางแดง, ยางเสียน ยางพลวง
    เป็นต้น
  3. พันธุ์ไม้สกุล เคี่ยม (Cotelelobium) สกุลนี้มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ ต้นเคี่ยม
  4. พันธุ์ไม้สกุล พันจำ (Vatica) สกุลนี้เป็นอีกหนึ่งสกุลที่มีหลายชนิด เช่น จันทน์กะพ้อ,สะเดาปัก ,สักปีก, พันจำดง ,พันจำ ,สักน้ำ, จันทร์กระพ้อแดง เป็นต้น
  5. พันธุ์ไม้สกุล ไข่เขียว (Parashorea) สกุลนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ ต้นเกล็ดเข้ และไข่เขียว
  6. พันธุ์ไม้สกุล ตะเคียนชันตาแมว (Neobalanocarpus) สกุลนี้เป็นอีกหนึ่งสกุลที่มีเพียงชนิดเดียว คือต้นตะเคียนชันตาแมว ปัจจุบันหาพบได้ยากมากในประเทศไทย
  7. พันธุ์ไม้สกุล ตะเคียน (Hopea) หลายคนอาจจะไม่รู้ แต่ไม้สกุลตะเคียนก็จัดอยู่ในจำพวกเดียวกับยาง นอกจากนี้สกุลนี้มีหลายชนิดที่พบได้ในประเทศไทยเช่น ตะเคียนใบใหญ่, ตะเคียนทอง, กระบกรัง, ตะเคียนแก้ว, กรายดำ, ตะเคียนทราย, ตะเคียนหินเป็นต้น
  8. พันธุ์ไม้สกุล เต็ง, รัง, สยา (Shorea) สกุลนี้จัดว่ามีชนิดมากที่สุดในบรรดา 8 สกุลที่พบในประเทศไทย เช่น สยาแดง,พยอม, เต็ง,รัง กระบากดำ, สยาดำ, สยาขน,สยาขาว, สยาเหลือง, พยอมนกเขา ฯลฯ

ทั้งนี้ 8 สกุลนี้ไม่นับรวมกับยางพารา

นอกจากยางนาจะถูกปลูกเพื่อให้เป็นพืชเศรษฐกิจแล้ว ปัจจุบันกระทรวงพานิชย์ยังประกาศให้ไม้ยางนี้ สามารถนำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารได้อีกด้วย จึงจัดได้ว่า นอกจากจะมีประโยชน์มากมายแล้ว ไม้วงศ์ยางนี้ ยังมีค่ามากอีกด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งพืชทางเลือกที่ดีให้กับเกษตรกรที่กำลังมองหาไม้ยืนต้น เหมาะสมกับการปลูกระยะยาวในพื้นที่ของตนเอง

ต้นตะเคียนชันตาแมว
ต้นตะเคียนชันตาแมว ไม้ต้นสูง เปลือกสีน้ำตาลเข้ม

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://thfarmers.com/
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment