อาหารประจำจังหวัดสกลนคร แกงหวาย เมนูเชิดชูอาหารถิ่น ประจำปี 2566

แกงหวาย

หวายป่าพบได้ตาป่าละเมาะและป่าเบญจพรรณ ทั่วไป เกิดจากนกถ่ายมูลเมล็ดหวาย เมื่อ หวายตกลงพื้นดินมีอุณหภูมิพอเหมาะจะขึ้น เป็นหวายป่า ในปัจจุบันนิยมนำเมล็ดพันธุ์มาเพาะ ในแปลงหรือกระบะในเรือนเพาะชำ เมื่อเมล็ดหวาย ขึ้นเป็นต้นอ่อนก็ย้ายลงในถุงพลาสติก เพื่อนำ หวายลงไปปลูกในหลุมเป็นแถว เพื่อให้ตัด ยอดอ่อนมาจำหน่ายหรือนำมาปรุงอาหารต่อไป

แหล่งที่ปลูกหวายมากที่สุดคือบริเวณไหล่เขา ภูพาน ในบริเวณอำเภอกุดบาก อำเภอวาริชภูมิ กิ่ง อำเภอภูพาน เป็นแหล่งที่มีหน่อหวายจำหน่ายมาก ที่สุด โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม เป็นช่วงที่หวายแตกยอดอ่อนหน่อเจริญ งอกงาม

แกงหวาย
แกงหวาย รสขม กลมกล่อม

หวายเป็นอาหารที่นิยมรับประทาน แต่เนื่องจากมี ราคาแพง จึงมักเป็นอาหารพิเศษ ในการรับแขก หรืองานเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่ม ชาวผู้ไทยนิยมรับประทานแกงหวายถือว่าหวาย เป็นสมุนไพรอายุวัฒนะ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหวายมีรส ขมเล็กน้อย แต่เมื่อดื่มน้ำหลังรับประทานจะ มีรสหวาน ชาวผู้ไทยจึงนิยมแกงหน่อหวาย เมื่อรับแขกที่มาเยี่ยมเยียนเป็นสำคัญ แกงหวาย ของชาวผู้ไทยอำเภอวาริชภูมิ

แกงหวาย อาหารพื้นบ้านของจังหวัดสกลนคร ได้รับคัดเลือกให้เป็นอาหารประจำจังหวัดสกลนคร หรืออาหารประจำถิ่น ตามการดำเนินการจัดกิจกรรม “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ภายใต้โครงการการส่งเสริม และพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติ…ที่หายไป The Lost Taste” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามประกาศของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566

วันนี้เกษตรตำบลมีวิธีทำแกงหวาย แกงหวายใส่ไก่มาฝากกันค่ะ เรามาดูส่วนผสมและวิธีทำกันเลยค่ะ

ส่วนผสมแกงหวาย

  1. หน่อหวายที่ลอกเปลือกแล้ว
  2. พริกขี้หนู
  3. เนื้อไก่ (ซี่โครงหมูหรือเนื้อปลา)
  4. บวบ
  5. เห็ดหูหนู
  6. ตะไคร้
  7. ผักสะแงะ (หอมแย้)
  8. ใบแมงลัก
  9. ใบย่านาง
  10. ยอดฟักทอง
  11. น้ำปลาร้า
  12. ใบชะอม
  13. เมล็ดข้าวเหนียว

วิธีทำแกงหวาย

  1. นำหวายมาปอกเปลือกให้เหลือแต่หน่อไวายที่เป็นสีขาว
    หวายที่ปอกเปลือกแล้ว
    ปอกเปลือกหวายให้เหลือแต่ยอดอ่อนสีขาว
  2. หั่นหวายเป็นท่อนพอดีคำ แช่น้ำเกลือทิ้งไว้เพื่อไม่ให้หวายเปลี่ยนสี
    หวายแช่น้ำเกลือ
    หั่นหวายแล้วแช่ในน้ำเกลือ
  3. ต้มหวายในน้ำเดือดประมาณ 10 นาทีเพื่อลดความขม จากนั้นนำหวายที่ต้มตักแช่ในน้ำเย็นจัด สักครู่ ก่อนนำไปปรุงอาหาร
  4. นำใบย่านางมาตำผสมกับเมล็ดข้าวเหนียวที่แช่ไว้
    ตำใบย่านางและเมล็ดข้าวเหนียวแช่น้ำ
    ตำใบย่านางและเมล็ดข้าวเหนียวแช่น้ำ (ข้าวเบือ)

    (ข้าวเบือ) ตำให้พอละเอียด แล้วเติมน้ำเปล่าลงไป คั้นเอาแต่น้ำ พักไว้
  5. ตั้งไฟ นำเนื้อไก่ใส่ลงไปในหม้อ ตามด้วยตะไคร้หั่นเป็นท่อน และพริกขี้หนูโขลกพอหยาบ ใส่ลงไปคลุกเคล้ากับเนื้อไก่ แล้วปรุงรสตามชอบ 
    ใส่ไก่
    ใส่เนื้อไก่ ตะไคร้และพริกโขลกพอละเอียดลงไป
  6. ใส่ฟักทองลงไป พอเดือดให้ใส่หวายลงไป ใส่น้ำใบย่านางที่ผสมกับข้าวเบือลงไป ต้มจนเดือดแล้วเติมน้ำปลาร้าลงไป
    ใส่น้ำใบย่านาง
    ใส่น้ำใบย่านางที่ผสมกับข้าวเบือแล้วลงไป
  7. ใส่ผักต่าง ๆ ลงไป บวบ เห็ดหูหนู เห็ดฟาง ผักชีฝรั่ง ผักสะแงะ ใบชะพลู ยอดฟักทอง ใบแมงลัก ทิ้งไว้สักครู่ ก็ยกหม้อแกงลงเป็นเสร็จการปรุงแกงหวาย
    ใส่ผักต่างๆ
    ใส่ผักต่างๆและใส่เห็ดลงไป

เป็นยังไงกันบ้างค่ะกับวิธีการทำแกงหวาย เมนูอาหารพื้นบ้าน จังหวัดสกลนคร ยังไงแล้วอย่าลืมนำไปลองทำกันดูนะค่ะ หรือหากได้มาเที่ยวจังหวัดสกลนคร ก็สามารถหาเมนูนี้ทานกันได้นะค่ะ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.m-culture.in.th, www.youtube.com (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร)

One Comment

Add a Comment