ทุเรียนเป็นไม้ผลเขตร้อน ซึ่งในประเทศไทยมีปลูกกันมากในภาคตะวันออกและภาคใต้พันธุ์ที่ นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์หมอนทองก้านยาว ชะนี และกระดุมทอง ทุเรียนนอกจากจะผลิตเพื่อบริโภคในประเทศแล้วยังมีการผลิต เพื่อส่งไปขายยังต่างประเทศทั้งในรูปของผลสดและแปรรูปในลักษณะต่างๆ แต่เนื่องจากทุเรียนเป็นไม้ผลที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างดี โดยเฉพาะการเข้าทําลายของโรคและแมลง ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่พบเสมอทุกปีดังนั้นเกษตรกรที่ทําสวนทุเรียนควรได้รู้จักโรคของทุเรียน และการป้องกันกําจัดโรคชนิดต่างๆ ให้ถูกต้องเพื่อให้ทุเรียนที่ผลิตได้มีคุณภาพดี
โรคที่สำคัญของทุเรียน มีดังนี้
1. โรครากเน่าและโคนเน่า
เกิดจาก เชื้อราเจริญเติบโตเข้าไปทําลายทุเรียนทั้งที่โคนต้นลําต้น กิ่งและราก โดยจะสังเกตได้จากต้นที่เป็นโรคนี้จะมีใบด้าน ไม่เป็นมันและสีจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือแล้วร่วงหล่น ต้นที่เป็นโรคจะแสดงอาการเน่าและใบเหี่ยว แผลที่ต้นหรือกิ่งจะเน่าเป็นจุดฉํ่านํ้าเปลือกจะเน่าเป็นสีนํ้าตาลและมีเมือกไหลออกมา ซึ่งจะสังเกตได้ในเวลาเช่าหรือช่วงที่มีอากาศชื้น เมื่อถากเปลือกออกจะเห็นเปลือกด้านในมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเข้มและถ้าขุดดูรากจะพบว่าที่รากแก้วและรากฝอยถูกทําลายเน่าเป็นสีน้ำตาลทําให้ต้นทุเรียนทรุดโทรมและโรครากเน่าและโคนเน่าตายในที่สุด
การป้องกัน
- ตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และเก็บส่วนที่เป็นโรคนําไปเผาทําลาย
- อย่าให้น้ำขังแฉะบริเวณโคนต้น
- ถากบริเวณที่เป็นโรคออกเพียงบางๆ แล้วใช้สารเคมีจาพวกเมททาแลคซิลหรือฟอสเอทธิลอะลูมินั่มผสมน้ำทาบริเวณที่ถากออก
2. โรคใบติด
เกิดจากเชื้อรา โรคนี้จะระบาดมากในช่วงฤดูฝน ลักษณะอาการบนใบที่พบจะมีรอยคล้ายๆ ถูกนํ้าร้อนลวก ขอบแผลไม่แน่นอนอาจเริ่มที่ปลายใบ กลางใบ หรือโคนใบ แล้วลุกลามจนเป็นทั้งใบ และจะสังเกตเห็นเส้นใยสีขาวนวลแผ่ปกคลุมคล้ายใยแมงมุมแผ่ไปตามผิวใบใบที่ถูกทําลายจะร่วงหล่นไปในที่สุดถ้าใบที่เป็นโรคไปสัมผัสกับใบที่ปกติไม่ว่าจะเป็นใบที่อยู่ล่างๆ หรือใบที่อยู่เหนือกว่า ใบปกตินั้นก็จะเป็นโรคใบติดได้เช่นกัน
การป้องกัน
- ไม่ควรปลูกทุเรียนให้ชิดกันเกินไปเพราะจะทําให้ทรงพุ่มประสานกัน เกิดเป็นโรคติดต่อกันได้ง่าย
- ตัดแต่งกิ่งที่่เป็นโรคเผาทําลายเสีย ตลอดจนทําความสะอาดบริเวณโคนต้นโดยเก็บใบที่เป็นโรคเผาทําลาย
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น คาร์เบนดาซิม ไทอะเบนดาโซล หรือคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ พ่นทุก 5-7 วันต่อครั้ง
3. โรคราสีชมพู
เกิดจาก เชื้อราเข้าทําลายกิ่งโดยเฉพาะบริเวณง่ามกิ่ง ซึ่งมีผลทําให้ใบมีสีเหลืองร่วงหล่นไปคล้ายกับอาการกิ่งแห้งและใบร่วงที่เกิดจากโรคโคนเน่าแต่จะสังเกตเห็นเส้นใยของเชื้อรามีลักษณะเป็นขุยสีชมพูปกคลุมบริเวณโคนกิ่งที่มีใบแห้งนั้น และทําให้เปลือกของกิ่งทุเรียนปริแตก และล่อนจากเนื้อไม้เมื่อถากเปลือกจะพบว่าเนื้อไม้ภายในมีสีน้ำตาลถ้าเกิดรอบกิ่งจะทําให้กิ่งทุเรียนแห้งตายในที่สุด
การป้องกัน
- ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคเผาทําลายทิ้งเสีย และตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้โปร่งเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีจําพวกคอปเปอร์ออกซิคลอไรด
4. โรคราแป้ง
เกิดจาก เชื้อราเข้าทําลายผลทุเรียนตั้งแต่เริ่มติดผลอ่อนจนกระทั่งผลแก่ ผิวที่ผลอ่อนจะมีผงสีขาวๆ คล้ายโรยด้วยแป้ง และผลอ่อนก็จะร่วงไปแต่ถ้าเชื้อโรคเข้าทําลาย เมื่อผลโตแล้วจะทําให้ผลแก่ มีสีผิวที่ผิดปกติ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
การป้องกัน
- นําผลทุเรียนที่ร่วงหล่นไปเผาทําลาย
- ฉีดพ่นด้วยกํามะถันผงละลายน้ำในขณะทีทุเรียนเริ่มติดผล
5. โรคจุดสนิม
เกิดจาก พืชชั้นตําพวกสาหร่ายทําความเสียหายให้กับทุเรียนโดยดูดอาหารจากใบทําให้ต้นทรุดโทรม อาการของโรคจะพบทั้งที่ใบและกิ่งที่ใบจะปรากฏเป็นจุดหรือดวงสีเทาอ่อนปนเขียว แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ายสนิมมีลักษณะเป็นขุยคล้ายกํามะหยี่ส่วนการทําลายที่กิ่งนั้นจะทําให้เปลือกหนาซึ่งนานเข้าจะทําให้เปลือกแตก กิ่งแห้งและทรุดโทรมในเวลาต่อมา
การป้องกัน
- ตัดกิ่งที่เป็นโรคเผาทําลายทิ้งเสีย
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีจําพวกคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์
6. โรคผลเน่า
เกิดจาก เชื้อราเข้าทําลายผลทุเรียน ตั้งแต่เริ่มติดผลอ่อนจนกระทั่งผลแก่ ผิวที่ผลอ่อนจะมีผงสีขาวๆ คล้ายโรยด้วยแป้ง และผลอ่อนก็จะร่วงไป แต่ถ้าเชื้อโรคเข้าทําลายเมื่อผลโตแล้วจะทําให้ผลแก่มีสีผิวที่ผิดปกติ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
การป้องกัน
- นําผลทุเรียนที่ร่วงหล่นไปเผาทําลาย
- ฉีดพ่นด้วยกํามะถันผงละลายน้ำในขณะที่ทุเรียนเริ่มติดผล
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.farmkaset.org
https://www.flickr.com
One Comment