กล้วยซาบ้า
ชื่ออื่นๆ : กล้วยซาบ้า, กล้วยซาบา
ต้นกำเนิด : ประเทศฟิลิปปินส์
ชื่อสามัญ : Saba
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAB group) “Kluai Saba”
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยซาบ้า
ต้น ลำต้นมีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 38 – 45 เซนติเมตร สูงประมาณ 5.50 – 6.00 เมตร กาบด้านนอกสีเขียวสดเป็นมันเงา กาบด้านในสีเขียวอ่อน ไม่มีปื้นดำที่ลำต้น มีนวลเล็กน้อย กาบด้านในสีเขียวและมีปื้นแดง หน่อมีขนาดใหญ่ เกิดห่างต้นประมาณ 4 – 6 หน่อ
ใบ แผ่นใบกว้างสีเขียวทึบ หนากว่ากล้วยน้ำว้า ก้านใบสีเขียวนวล ร่องใบชิด มีปื้นสีน้ำตาลอ่อนโคนใบเล็กน้อย
ดอก ดอกมีขนาดอ้วนใหญ่ประมาณ 60 เซนติเมตร กาบปลีด้านนอกสีแดงคล้ำปลายปี แหลมไม่มากนัก มีรอยเว้าที่ปลายกาบ กาบปลีด้านในสีแดงสด เมื่อบานเปิดม้วนขึ้นเช่นเดียวกับกล้วยน้ำว้าของไทยเห็นผลกล้วยสีเขียวสด
ผล ใน 1 เครือจะมี 8 – 14 หวี ๆ ละ 17 – 19 ผล ผลดิบรูปร่างเหลี่ยมปลายผลทู่สีเขียวนวล ผลแก่ยังมีเหลี่ยมไปจนกระทั่งสุก ขนาดผลกว้าง 5.0 – 5.6 เซนติเมตร ยาว 13 – 15 เซนติเมตร เปลือกหนาสีเหลืองไพล เนื้อสีครีม ไส้เหลืองค่อนข้างเหนียว กลิ่นหอมรสหวาน
การขยายพันธุ์ของกล้วยซาบ้า
การแยกหน่อ
การปลูก ตั้งแต่ปลูกด้วยหน่อถึงออกปลีประมาณ 14 เดือน และอายุตั้งแต่ออกปลีถึงผลแก่จัด 150 วัน
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยซาบ้าต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยซาบ้า
- ผลสุกรับประทาน เนื้อกล้วยจะมีสีขาวเหลืองน่ารับประทาน
- การใช้ประโยชน์กล้วยซาบ้าเหมือนกล้วยน้ำว้าของไทย เช่น ปลีนำมาประกอบอาหาร
- ผลดิบแก่จัดฝานทอดน้ำมันเป็นกล้วยทอดกรอบ (กล้วยฉาบ)
- ผลดิบหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเสียบไม้สลับเนื้อและสับปะรดย่างเป็นบาร์บีคิว
- ผลสุกทำกล้วยบวชชีได้น้ำสีขาวเพราะไม่มียาง
- ใบใช้ห่อของได้เหมือนกล้วยตานี
สรรพคุณทางยาของกล้วยซาบ้า
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยซาบ้า
การแปรรูปของกล้วยซาบ้า
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.acc.kpru.ac.th
ภาพประกอบ : ชุมชนคนรักษ์พรรณไม้