การทำหญ้าหมัก พืชอาหารสัตว์

หญ้าหมัก

หญ้าหมัก หมายถึง พืชอาหารสัตว์ต่างๆ ที่นำมาเก็บถนอมไว้ในสภาพอวบน้ำในภาชนะปิดที่ป้องกันอากาศ จากภายนอกจนเกิดการหมักซึ่งจะช่วยทําให้คุณค่าทางอาหารของพืชเหล่านั้นคงอยู่สามารถถนอมไว้ใช้ได้ในช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด พืชอาหารสัตว์ที่นํามาใช้ในการหมักได้มาจากพืชอาหารสัตว์ที่มีอยู่มากมายในช่วงฤดูฝนซึ่งเจริญงอกงามดี และมีปริมาณมากเกินพอสำหรับสัตว์เลี้ยงนอกจากนี้ยังไม่สามารถเก็บถนอมโดยการ ทําหญ้าแห้งได้

ต้นข้าวโพด
ต้นข้าวโพด ลำต้นตั้งตรงแข็งแรง ลำต้นสูงประมาณ 1.4 เมตร

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหญ้าหมัก

  1. เครื่องตัดหญ้า สับหญ้า
  2. ภาชนะที่ใช้บรรจุหญ้าสําหรับหมัก เช่น หลุม ถัง ถุงพลาสติก
  3. สารเสริมที่ทำให้การหมักดีขึ้น เช่น กากนํ้าตาล เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพของหญ้าหมัก ถ้าใช้ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ไม่จําเป็นต้องเสริม 
  4. ผ้าพลาสติกสําหรับปิดภาชนะ หลุม หรืออุปกรณ์สาหรับปิดปากภาชนะอย้างอื่นเพื่อป้องกันอากาศจากภายนอก
ต้นข้าวฟ่าง
ต้นข้าวฟ่าง ลำต้นจะมีข้อ ปล้องใบและกาบใบ ห่อหุ้ม

วิธีการทำหญ้าหมัก

หั่นหรือสับหญ้าสดให้มีขนาด 2-3 ซม. บรรจุหญ้าสดที่หั่นแล้วลงในภาชนะสําหรับหมัก ซึ่ง อาจเป็นถุง บ่อซีเมนต์ หลุม ย่ำอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศออกให้หมดในขณะที่บรรจุหญ้าลงในภาชนะละลายกากน้ำตาล พรมให้ทั่วๆ เพื่อช่วยให้การหมักดียิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถหาได้ก็ไม่ต้องใช้ จากนั้นทําการปิดภาชนะบรรจุหญ้าด้วยแผ่นพลาสติกให้มิดชิดแล้วโรยทับด้วยทรายป้องกันอากาศและน้ำหลังจากปิดภาชนะแล้ว หมักไว้ 3-4 สัปดาห์หญ้าเหล่านั้นจะกลายเป็นหญ้าหมัก นํามาใช้เลี้ยงสัตว์ได้

หญ้าหมักที่มีคุณภาพดีสามารถเก็บไว้ได้นาน โดยที่คุณค่าทางอาหารไม่เปลี่ยนแปลง การใช้หญ้าหมักเลี้ยงโครีดนม ไม่ควรใช้เกิน 15 กิโลกรัมต่อวัน และควรให้หลังการรีดนม กรณีเริ่มใช้หญ้าหมัก เลี้ยงควรแบ่งให้วันละน้อยและเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์เคยชิน

การผสมหญ้าหมัก
การผสมหญ้าหมัก ก่อนนำไปบรรจุภาชนะอื่น ป้องกันอากาศเข้า

ลักษณะของหญ้าหมักที่ดี

  1. กลิ่นหอมเปรี้ยว ไม่เน่าเหม็น 
  2. เนื้อพืชไม่เป็นเมือก ไม่เละ
  3. สีเขียวอมเหลือง
  4. รสเปรี้ยวพอดี
  5. ไม่มีเชื้อรา หรือส่วนบูดเน่า

ข้อควรระวังในการทำหญ้าหมัก

  1. การอัดหญ้าลงในภาชนะที่ใช้หมักต้องอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศที่มีอยู่ในภาชนะออกให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การหมักเกิดได้ดีและหญ้าหมักเสียน้อยที่สุด
  2. การปิดภาชนะที่บรรจุต้องทําให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้าไปในกองหญ้าหมัก
  3. เมื่อเปิดภาชนะควรใช้ให้หมดในระยะเวลาอันสั้นและเปิดภาชนะอย่าให้กว้างมาก เพื่อช่วยให้หญ้าหมักเสื่อมช้าลง
  4. หญ้าที่นำมาใช้หมักไม่ควรจะมีความชื้นสูงมากเพราะจะทําให้เกิดนํ้าในภาชนะหมักมากเกินไปและหญ้าหมักเก็บได้ไม่นาน
  5. ระมัดระวังหนูหรือแมลงสาบที่จะมากัดภาชนะหรือพลาสติกที่ปิดให้เป็นรู อากาศจะเข้าไปทําให้หญ้าหมักเสียได้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.youtube.com
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment