มะนาวเป็นไม้ผลที่ปลูกทั่วไปทุกภาคของประเทศไทยและมีความสำคัญต่อวิถีชีวติของคนไทย โดยเฉพาะการนำไปปรุงอาหารไทย มะนาวให้ผลผลิตจำนวนมากในฤดูฝนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ทำให้มีราคาถูกประมาณ 25 สตางค์ต่อผลและเกิดการสูญ เสียหลังการเก็บเกี่ยวมาก หลังจากนั้นผลผลิตลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งมีปริมาณน้อยลงมาก ในช่วงฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเมษายน จึงทำให้มะนาวมีราคาแพงมากถึงผลละ 4 – 5 บาท เกษตรกรและผู้บริโภคเดือดร้อนจน
ดังนั้นถ้าสามารถหาวิธีการยืดอายุการเก็บรักษาผลมะนาวที่มีปริมาณล้นตลาดในฤดูฝน ให้ยาวจนถึงฤดูแล้งได้จะเป็นการเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรสม่ำเสมอตลอดไปและลดค่าครองชีพของผู้บริโภคได้ ตลอดจนการสูญเสียหลังจากการเก็บเกี่ยวด้วย
ภายหลังการเก็บเกี่ยวของผลมะนาว
มะนาวเป็นผลไม้ชนิด non climacteric fruit ซึ่งมีอัตตาการหายใจและสังเคราะห์เอทิลีน ค่อนข้างคงที่ในระหว่างการแก่จนถึงสุก เช่นมะนาวพันธุ์ Euraka ที่อุณหภูมิ 20 c. มีอัตราการหายใจประมาณ 5 มิลลิลิตรของ CO2 ต่อกิโลกรัมต่อชั่วโมงและความเข้มข้นของเอทิลีนต่อกิโลกรัมภายในผลประมาณ 0.1 – 0.2 ppm. มะนาวจึงจัดเป็นผลไม้ที่มีอัตราการหายใจ การสังเคราะห์เอทีลีนต่ำ (et. Al., 1985) ดังนั้น ปัญหาสำคัญที่ทำให้มะนาวมีอายุหลังเก็บเกี่ยวสั้น คือ การคายน้ำ ซึ่งทำ Kaderให้ผลเหี่ยว สีเปลือกเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองและน้ำตาลภายใน 2 สัปดาห์ ที่อุณหภูมิหอ้งเมื่อผลิตผลที่อยู่ในสภาวะขาดน้ำจะมีอัตราการหายใจและสังเคราะห์เอทิลีนเพิ่มขึ้น ทำให้ผลผลิตมีการใช้อาหารสะสมในกระบวนการหายใจและปริมาณ เอทิลีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เอทิลีนไปเร่งปฏิกิริยาของเอนไซน์ที่เกี่ยวข้องกับการสุกและเสื่อมสภาพของผล เช่น chloropyllase ในการสลายคลอโรฟิลล์และ pectimethylesterase ในการนิ่มของผล เป็นต้น นอกจากนี้ผลมะนาวมีปริมาณของแข็งที่ละลายได้ (total soluble soilds : TSS) และกรดอินทรีย์ที่ไตเตรทได้ (tritratable acidity : TA) เพิ่มขึ้นแต่วิตามินซีลดลงภายหลังการเก็บเกี่ยว ดังนั้น อายุการเก็บรักษามะนาว จึงขึ้นอยู่กับกระบวนการสรีรวิทยาและชีวเคมี ตลอดจนสภาพแวดล้อมภายหลังการเก็บเกี่ยว
วิธีการเก็บรักษามะนาว
ผลมะนาวก่อนที่จะนำไปเก็บรักษาระยะยาว ควรมีการเตรียมผลมะนาว ดังต่อไปนี้ คือ ทําการคัดเลือกผลมะนาวที่ปราศจากบาดแผล โรคและแมลง ตัดแต่งก้านผลให้สั้น จากนั้น นำไปล้างทําความสะอาดด้วยนํ้าผสมโซเดียม ไฮโปคลอไรท์ (sodium hypochlorite)โดยใช้ความเข้มข้น 100-200 ppm. และควรเปลี่ยนน้ำล้างทำความสะอาดบ่อยครั้งนำผลมะนาวผึ่งให้ผิวแห้ง
การยืดอายุการเก็บรักษาผลมะนาว สามารถกระทําได้หลายวิธี ดังต่อไปนี้
- การเก็บรักษาในอุณหภูมิต่ำ
การเก็บรักษาในห้องเย็นเป็นวิธีการที่นิยมแพร่หลาย เนื่องจากอุณหภูมิต่ำสามารถ ชะลออัตราเมแทบอลิซึม (metabolism) ของผลมะนาว และการเจริญเติบโตของเชื้อจุลีนทรีย์ ผลิตผลเขตร้อน ควรเก็บรักษาที่อุณหภูมิระหว่าง 10 – 15 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับชนิดและอายุทางสรีรวิทยาของผลิตผล ถ้าเก็บรักษาในอุณหภูมิตํ่าเกินไป อาจทําให้เกิดสะท้าน หนาว (chilling injury) ได้ลักษณะสะท้านหนาวของผลมะนาวคือ เกิดรอยบุ๋ม เล็กๆ กระจายทั่วทั้งผล ที่อุณหภูมิ 9 – 10 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันธ์ 85 – 90 % สามารถยืดอายุ การเก็บรักษามะนาวได้นาน 6 – 8 สัปดาห์ - การฝังในทรายชื้นหรือแกลบชื้น
การฝังในทรายชืน้ หรือแกลบชื้น และวางไว้ที่อุณหภูมิห้องสามารถยืดอายุการเก็บ รักษาผลมะนาวได้นาน 21 วัน และเริ่มพบผลเน่าที่อายุการเก็บรักษา 14 วัน แต่ที่อุณหภูมิ 10 –12 องศาเซลเซียส สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น วิธีนี้มักพบปัญหาการเข้าทําลายของเชื้อจุลินทรีย์ โดยเฉพาะ ผลที่มีตำหนิการฝังในทรายชื้นหรือแกลบชื้นลดอัตราการคายน้ำของผล จึงช่วยรักษา ความเต่งของผล และชะลอการสูญเสียคลอโรฟิลล์ได้ - การบรรจุในถุงพลาสติก
การบรรจุในถุงพลาสติกปิดสนิทและเจาะรูจะช่วยลดอัตราการคายน้ำของผลและการ แลกเปลี่ยนแก่สระหว่างภายในและภายนอกผล จึงทําให้ลดอัตราการหายใจและสังเคราะห์ เอทิลีนได้บ้าง แต่วิธีการบรรจุในถุงพลาสติกปิดสนิท ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิตํ่าที่เหมาะสม มิฉะนั้น จะทําให้เกิดการหายใจแบบไม่ใช่ออกซิเจน ผลเน่าและมีกลิ่น หมักได้ ผลมะนาวที่ เก็บในถุงพลาสติกเจาะรูที่อุณหภูมิห้องมีอายุการเก็บรักษา 28 วัน โดยที่ผลเหี่ยวเล็ก น้อย และมีสีเขียวปนเหลือง แต่เมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส พบว่า ผลมะนาวในถุงพลาสติกปิดสนิทมีอายุการเก็บรักษานาน 13 สัปดาห์ ซึ่งนานกว่า ผลมะนาวในถุงพลาสติกเจาะรู - การเคลือบผิว
การเคลือบผิวของผลมะนาวด้วยไข สามารถลดอัตราการคายนํ้าของผลและการเข้า ทําลายของเชื้อจุลินทรีย์ เมื่อผสมสารป้องกันกําจัดโรคพืชกับสารละลายไข นอกจากนี้ไขบางชนิดยังทําให้ผิวมะนาวมีสีสดใสเป็นมัน เกรียงศักดิ์และคณะ (2518) ได้ทําการเคลือบผิวมะนาวด้วย Tag แล้วเก็บที่อุณหภูมิห้องผลมะนาวจะเก็บไว้ได้นาน 18.3 วัน ในขณะที่ไม่เคลือบผิวจะเก็บได้นาน 8 วัน การเคลือบผิวมะนาวด้วยไข Stafresh 360 เข้มข้น 50 – 70% สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นาน 21 วัน ที่ 14 องศาเซลเซียส โดยที่ผลมีสีเหลืองปนเขียวและเหี่ยวเล็กน้อย - การใช้จิบเบอเรลลิน
จิบเบอเรลลิน เป็นฮอร์โมนพืชที่นำมาใช้ในการชะลอการสุกและเสื่อมสภาพของพืช บางชนิดหลังการเก็บเกี่ยวได้ โดยจิบเบอเรลลินช่วยชะลอการเปลี่ยนสี จากสีเขียวเป็นเหลือง แต่ไม่ชะลอลักษณะการสุกอื่นๆ การสังเคราะห์ จิบเบอเรลลินที่มีการใช้ในการเกษตรอย่างกว้างขวางคือจิบเบอเรลลิค เอสิด (gibberellic acid : GA3) จัดเป็นสารที่มีความปลอดภัยในการนํามาใช้กับอาหาร โดยที่มีค่า LD50 มากกว่า 15,000 การแช่ผลมะนาวในสารละลาย GA3 ที่ระดับความเข้มข้น 200 และ 400 ppm. สามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงสีผิวของมะนาว จากสีเขียวเป็นเหลืองได้ 4 สัปดาห์ ดังนั้น การนําจิบเบอเรลลินไปใช้ร่วมกับวิธีอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วน่าจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการยืดอายุการเก็บรักษาผลมะนาวได้ดียิ่งขึ้น
การเก็บรักษาในสภาพบรรยากาศควบคุม
การเก็บรักษาในสภาพบรรยากาศควบคุม (controlled atmosphere storage : CA storage) หมายถึง การเก็บรักษาผลิตผลภายใต้สภาพบรรยากาศที่มีการควบคุมปริมาณ แก๊สแตกต่างไปจากบรรยากาศปกติ โดยทั่วไปจะเน้นที่การลดปริมาณออกซิเจนให้ต่ำลง และเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ให้สูงขึ้นซึ่งจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับชนิดและ อายุทางสรีรวิทยาของผลิตผลและควรใช้ร่วมกับอุณหภูมิที่เหมาะสม วิธีนี้สามารถลด อัตราการหายใจ การสังเคราะห์เอทิลนี การเข้าทําลายของเชื้อจุลินทรีย์ และความผิดปกติ ทางสรีรวิทยา เช่น การเกิดสะท้านหนาวสําหรับมะนาวควรเก็บในสภาพบรรยากาศที่มีออกซิเจน 5 – 10% และคาร์บอนไดออกไซด์ 0 – 10 % ที่ 10-15 องศาเซลเซียส วิธีนี้ยังไม่มีการนําไปใช้เป็นการค้าในประเทศไทย เนื่องจากการลงทุนสูง และยังไม่มีความจําเป็นที่ต้องการเก็บรักษาผลิตผล เป็นระยะเวลานาน 2-3 เดือน แต่ในต่างประเทศมีการนําวิธีนี้ไปใช้ในการเก็บรักษาผลแอปเปิลและสาลี่
วิธีการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น สามารถนำมาประยุกต์ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการยืดอายุการเก็บรักษาผลมะนาวได้ดียิ่งขึ้น ดังตัวอย่างงานวิจัยต่อไปนี้
การเคลือบผิวด้วย Stafresh 360 เข้มข้น 50% และร่วมกับ GA3 ที่ 200 และ 400 ppm. สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลมะนาวได้นาน 28 วัน ที่ 10 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันธ์ 85% ซึ่งนานกว่าสภาพธรรมชาติ 14 วัน แต่ที่ GA3 400 ppm. สามารถชะลอการสูญเสียคลอโรฟิลล์ และลดความรุนแรงของการเกิดสะท้านหนาวได้ดีที่ สุด (คมสรรค์ และคณะ, 2540)
การเคลือบผิวมะนาวด้วย Stafresh 360 เข้มข้น 50% แล้วบรรจุในถุงพลาสติก หรือ Stafresh 360 + GA3 400 ppm. แล้วบรรจุใส่ถุงพลาสติก จากนั้น นําไปเก็บที่ อุณหภูมิ 10 ซ. สามารถยืดอายุผลมะนาวได้นาน 3 เดือน แต่พบว่า Stafresh 360 + GA3 400 ppm. แล้วบรรจุในถุงพลาสติกให้ผลดีกว่า เนื่องจากผิวมะนาวยังคงมีสีเขียวมาก กว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งเป็นผลจากการทดลองในการศึกษาภาคปฏิบัติวิชาวิทยาการ หลังเก็บเกี่ยวพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์บางพระ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com
One Comment