ประวัติของทุเรียน
พ.ศ. 2230 โดยมี เมอร์ซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ (Monsieur de la Loubere) นักบวชนิกายเยซูอิต เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เพื่อมาเจรจาทำสัญญาทางด้านการค้ากับไทยอีกคราวหนึ่ง จนเป็นผลสำเร็จ ได้บันทึกสิ่งต่างๆ ที่ได้พบเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย รวมทั้งเกษตรกรรมของเมืองไทยบางส่วน และนำไปเขียนเป็น หนังสือเกี่ยวกับเมืองไทยสมัยอยุธยาในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช ตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสในกรุงปารีส เมื่อ พ.ศ. 2336 ในเรื่องที่ เกี่ยวกับเกษตรกรรมของไทย ตอนหนึ่งได้ระบุเรื่องเกี่ยวกับทุเรียนไว้ซึ่งจาก หลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า มีการปลูกทุเรียนในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนจะเข้ามาจากที่ไหนและโดยวิธีใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่น่าเชื่อถือได้ว่าเป็นการนำมาจากภาคใต้ของประเทศไทยนั่นเอง และมีการปรับปรุงพันธุ์อย่างสม่ำเสมอตลอดมาโดยระบบของสังคมไทย เช่น การนิยมเอาผลไม้ดีที่สุดถวายพระหรือเป็นของกำนัลเจ้านาย รวมทั้งระบบ ของรัฐ เช่น การเก็บอากรเกี่ยวกับต้นผลไม้ เป็นการส่งเสริมแกมบังคับให้ทุกคนต้องปรับปรุงพืชผลของตนเอง ส่งผลให้เมืองไทยมีพันธุ์ไม้ผลดีๆ หลากหลายชนิดมาจนถึงสมัยปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่างานปรับปรุงพันธุ์ไม้ผล ของประเทศไทยโดยชาวบ้านได้เริ่มตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา และเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษสู่ชนรุ่นปัจจุบัน
การปลูกทุเรียนในไทย
“ทุเรียน” ได้รับฉายาว่าเป็น ราชาแห่งผลไม้ (King of fruits) เป็นไม้ผลยืนต้นขนาด ใหญ่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในเขตที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่ เหมาะสม ประมาณ 10 – 46 องศาเซลเซียส มีจำนวนปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี มีการกระจายตัวของฝนดี ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศสูงประมาณร้อยละ 75 ถึง 85 ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 5.5 ถึง 6.5 จึงเรียกได้ว่า ทุเรียน เป็นผลไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Tropical fruits หรือกลุ่มผลไม้ในเขตร้อนชื้น (ฝรั่ง ลองกอง ลิ้นจี่ ทุเรียน เสาวรส เงาะ และมังคุด)
การปลูกทุเรียนจะเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 5-6 เป็นต้นไป โดยทุเรียนที่เพาะปลูกใน ประเทศไทยมีหลากหลายสายพันธุ์มากกว่า 200 พันธุ์แต่มีพันธุ์ที่เป็นที่นิยมสำหรับการ บริโภคและการค้า และได้รับการ ส่งเสริมประมาณ 5 พันธุ์ ได้แก่ ชะนี หมอนทอง ก้านยาว พวงมณี และกระดุม นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์ทุเรียนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น สินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) ได้แก่ ทุเรียนนนท์ ทุเรียนป่าละอู ทุเรียนปราจีน ทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์ ทุเรียนหลินลับแลอุตรดิตถ์ ทุเรียน ภูเขาไฟ ศรีษะเกษ ทุเรียนในวงระนอง ทุเรียนสาลิกาพังงา เป็นต้น และทุเรียนพันธุ์พื้นบ้านอีกหลาก ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่พบมากในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง หรือพื้นที่สามจังหวัดชายแดน (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) แต่ ปัจจุบัน มีการหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น เช่น ยางพารา ปาล์ม น้ำมัน แทนที่ทุเรียนบ้านที่มีราคาถูก ทำให้พันธุ์ทุเรียนบ้านเริ่มหายไป
สินค้าทุเรียนและผลิตภัณฑ์
(พิกัดศุลกากร 0810.60 ทุเรียนสด/ 0811.90.00.002 ทุเรียนแช่แข็ง/ 0813.40.90.001 ทุเรียนอบแห้ง/ 2008.99.90.090 ผลไม้ปรุงแต่งรวมถึงทุเรียนทอด/ 2007.99.10 และ 2007.99.20แยม เยลลี่ผลไม้ และผลไม้กวน รวมถึงทุเรียนกวน)
ห่วงโซ่อุปทานสินค้าทุเรียนของไทย
- ต้นน้ำ
ผลผลิตทุเรียนเขาสูอุตสาหกรรมแปรรูปในประเทศไทย เกษตรกรสามารถนำผลผลิตมาขายให้แก่โรงงาน/ บริษัทโดยตรงหรือขายใหกับสหกรณ์/วิสาหกิจชุมชน โดยตรง เนื่องจากเกษตรกรเหล่านั้นอยูใกล้แหล่งผลิต ในขณะเดียวกันเกษตรกรที่อยู่ห่างจากโรงงานแปรรูปนำผลผลิตส่งให้ผู้ประกอบการผ่านผู้รวบรวม/ลงของผู้ประกอบการ ผลผลิตที่ใช้ในการแปรรูปเป็นผลผลิตที่ไม่สามารถส่งออกได้หรือเป็นผลผลิตที่อยู่ในเกรดรอง เกษตรกรในภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทยมีช่องทางหลากหลาย เช่น การขายผลผลิตสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปพร้อมกับผลผลิตส่งออก หรือแยกการขายให้กับผู้ประกอบการ/ผู้รวบรวมโดยตรง - กลางน้ำ
อุตสาหกรรมแปรรูปทุเรียนในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1)โรงงาน/บริษัท 2)สหกรณ์/วิสาหกิจ ชุมชน ทำการจัดหาผลผลิตทุเรียนที่เนื้อมีคุณภาพที่ดี โดย มีการเปิดรับซื้อโดยตรงที่โรงงานรวบรวมผลผลิตผ่าน ผู้รวบรวม/ลงของผู้ประกอบการเองหรือซื้อจากรายอื่น ซึ่งอำนาจในการต่อรองต่ำ - ปลายน้ำ
ผู้ค้าส่ง/ปลีก และผู้ส่งออกทั้งไทยมีการจัดการ ผลผลิตเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วย ตัวเอง เช่น การขายออนไลน์ หรือขายผ่านตัวแทน ร้านค้า/ ห้างสรรพสินค้า โดยมีการจัดทำเอกสารด้วยตนเองหรือจ้างบริษัทตัวแทนออกของ
สถานการณ์การผลิตทุเรียนของไทยและความต้องการบริโภคทุเรียนภายในประเทศ
หมายเหตุ : * คือประมาณการ
- สถานการณ์การผลิตทุเรียนของไทย
ปี 2564 ไทยมีเนื้อที่ให้ผล 854,986 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 7.20 มีผลผลิต 1,201,458 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 7.66 และมีผลผลิตต่อไร่ 1,533 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 0.43 เนื่องจากทุเรียนที่ปลูกในปี 2559 ของแหล่งผลิตที่สำคัญทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้เริ่มเก็บเกี่ยวและให้ผลผลิตได้ ยกเว้นภาคเหนือที่ประสบภัยแล้งในช่วงต้นปี 2563 ทำให้ทุเรียนยืนต้นตาย สำหรับผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงปลายปี 2563 มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ต้นทุเรียนได้รับน้ำเพียงพอ ต้นสมบูรณ์พร้อมสำหรับการออกดอกสามารถออกดอกและติดผลดีกว่าปีที่แล้ว ประกอบกับราคาทุเรียนที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรจึงให้การบำรุงดูแลดีขึ้น ส่งผลให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์ให้ผลผลิตได้มากขึ้น ภาพรวมผลผลิต ทั้งประเทศจึงเพิ่มขึ้นด้วย ปี 2565 คาดว่าจะมีเนื้อที่ให้ผลและผลผลิตจะเพิ่มขึ้นจากในปี 2564 เนื่องจากการขยายเนี้อที่ปลูกใหม่ปี 2560 ราคาอยู่ในเกณฑ์ดีอย่าง ต่อเนื่องจูงใจให้เกษตรกรบำรุงดูแลรักษาดีขึ้น และปรับเปลี่ยนพื้นที่มาปลูกทุเรียนแทนพืชอื่น เช่น ลองกอง เงาะ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ทั้งนี้ หากสภาพ ภูมิอากาศในปี 2565 เอื้ออำนวยต่อการติดดอกและออกผล คาดว่าจะส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้นด้วย - ความต้องการบริโภคทุรียนภายในประเทศ
ระหว่างปี 2560 – 2564 ความต้องการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 147,290 ตัน ในปี 2560 เป็น 291,429 ตัน ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.73 ต่อปี ซึ่งการบริโภคส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปทุเรียนผลสด โดยในปี 2564 มีการบริโภคทุเรียนภายในประเทศ 291,429 ตัน ลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 35.84 เนื่องจากทุเรียนเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดจีน ส่งผลให้ราคาส่งออกสูงกว่าราคาในประเทศ จูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการส่งออก ประกอบกับเส้นทางการขนส่งไปยังจีนในปัจจุบันมีทั้งทางเรือจากท่าเรือแหลมฉบัง ทางบกจากเส้นทาง R9 เส้นทาง R3A และเส้นทาง R12 รวมทั้งทางเครื่องบิน และมีการจำหน่ายผ่านระบบสั่งซื้อล่วงหน้า (Pre-Order platform) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ บริษัทเอกชน และสหกรณ์ผลไม้ อาทิ สหกรณ์เมืองขลุง จังหวัดจันทบุรี ทั้งนี้ ในปี 2565 คาดว่าความต้องการบริโภคภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 12.08 ซึ่งเป็นผลจากปริมาณผลผลิตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น
ราคาทุเรียนสด (บาท/กิโลกรัม)
- ปี 2564
ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง: ราคาที่เกษตรกรขายได้ กิโลกรัมละ 103.98 บาท เพิ่มขึ้นจากในปี 2563 ร้อยละ 11.58 ในขณะที่ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ อยู่ที่กิโลกรัมละ 120.13 บาท ลดลงจากในปี 2563 ร้อยละ 3.08 ทั้งนี้ ในปี 2564 ราคาขายส่งทุเรียนพันธุ์หมอนทองตลาดกรุงเทพฯ สูงกว่าราคาที่เกษตรกรขายได้ กิโลกรัมละ 6.75 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.40
ทุเรียนพันธุ์ชะนี: ราคาที่เกษตรกรขายได้ กิโลกรัมละ 72.34 บาท เพิ่มขึ้นจากในปี 2563 ร้อยละ 5.95 และราคาขายส่งตลาดกรุงเทพอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 90.69 บาท เพิ่มขึ้นจากในปี 2563 คิดเป็นร้อยละ 10.90 ทั้งนี้ ในปี 2564 ราคาขายส่งทุเรียนพันธุ์ชะนีตลาดกรุงเทพฯ สูงกว่าราคาที่เกษตรกรขายได้ กิโลกรัมละ 8.91 บาท คิดเป็นร้อยละ 12.32
ราคาส่งออกทุเรียนสด: ราคาส่งออกทุเรียนสด กิโลกรัมละ123.09 บาท เพิ่มขึ้นจากราคาในปี 2563 ร้อยละ 16.45 - ปี 2565
คาดว่า ราคาที่เกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออกจะมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและตลาดต่างประเทศยังคงมี อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดจีน จึงส่งผลใหร้าคาอยใู่นเกณฑ์ดี อยา่งไรก็ตาม ราคาที่เกษตรกรขายได้ขึ้นอยู่ กับคุณภาพของผลผลิตเป็นสำคัญ
การส่งออกทุเรียนของโลก
ปี 2564 โลกมีการส่งออกทุเรียนสด (พิกัด 0810.60) ปริมาณ 1.13 ล้านตัน มูลค่า 4,268.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปริมาณการส่งออกและมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า ในปี2563 ร้อยละ 22.96 และ 55.45 ตามลำดับ โดยไทยเป็นผู้ส่งออกทุเรียนสดอันดับ 1 ของโลก มีปริมาณการส่งออก 875,097.02 ตัน มูลค่า 3,489.65 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 81.76 ของมูลค่าการส่งออกของโลก) (2) ฮ่องกง (ร้อยละ 15.21) (3) เวียดนาม (ร้อยละ 3.02) (4) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 0.01) และ (5) สาธารณรัฐเช็ก (ร้อยละ 0.002)
การนำเข้าทุเรียนของโลก
ปี 2564 โลกมีการนำเข้าทุเรียนสด (พิกัด 0810.60) ปริมาณ 1.08 ล้านตัน มูลค่า 4,931.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปริมาณและมูลค่าการนำเข้าทุเรียนของ โลกเพิ่มขึ้นกว่าในปี 2563 ร้อยละ 22.33 และ 63.39 ตามลำดับ ประเทศผู้นำเข้าทุเรียนสด 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ (1) จีน มีปริมาณการนำเข้า 807,520.44 ตัน มูลค่า 4,120.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็นร้อยละ 83.56 ของมูลค่าการนำเข้าของโลก) (2) ฮ่องกง (ร้อยละ 14.56) (3) ไต้หวัน (ร้อยละ 0.61) (4) สิงคโปร์ (ร้อยละ 0.34) และ (5) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 0.21)
การส่งออกสินค้าทุเรียนของไทย
- ปี 2564 ไทยมีการส่งออกทุเรียนสดและผลิตภัณฑ์ (พิกัดศุลกากร 0810.60 0811.90.00.002 0813.40.90.001 2008.99.90.090 2007.99.10 และ 2007.99.20) ปริมาณ 956,443.71 ตัน มูลค่า 3,854.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นกว่าในปี 2563 ที่มีปริมาณการส่งออก 689,396.22 ตัน ร้อย ละ 38.74 และมีมูลค่าการส่งออกสูงกว่าในปี 2563 ที่มีมูลค่า 2,355.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ร้อยละ 63.65 เนื่องจากความต้องการในตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง รวมทั้งภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการส่งออกผลไม้ ส่งผลให้ราคาส่งออกทุเรียนและผลิตภัณฑ์จึงอยู่ในระดับที่สูง และมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น
- ปี 2564 ไทยส่งออกทุเรียนสด (พิกัด 0810.60) เป็นอันดับที่ 1 ของโลก มีปริมาณการส่งออก 875,097.02 ตัน มูลค่า 3,489.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็นร้อยละ 81.76 ของมูลค่าการส่งออกทุเรียนสดของโลก) ตลาดส่งออกทุเรียนสดที่สำคัญของไทย ปี 2564 ได้แก่ (1) จีน (ร้อยละ 89.96) (2) ฮ่องกง (ร้อยละ 5.62) (3) เวียดนาม (ร้อยละ 3.40) (4) สหรัฐอเมริกา (0.24%) และ (5) ไต้หวัน (0.21%)
- ปี 2565 คาดว่าการส่งออกทุเรียนสดและผลิตภัณฑ์ของไทยจะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยมีปริมาณ 995,009 ตัน (คิดเป็นปริมาณตันสด 1,000,694 ตัน) แยกเป็น ทุเรียนสด 946,585 ตัน ทุเรียนแช่แข็ง 47,570 ตัน ทุเรียนอบแห้ง 353 ตัน และทุเรียนกวน 502 ตัน เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศยังคงมี อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดจีน ประกอบกับการพัฒนาระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ของจีนให้รองรับพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ ผู้บริโภคของจีนในมณฑลต่างๆ เข้าถึงการบริโภคทุเรียนได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ นโยบายส่งเสริมการส่งออกผลไม้ไทยไปตลาดโลก เน้นใช้ประโยชน์จาก ความตกลงการค้าเสรี (FTA) โดยเฉพาะความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ซึ่งสาธารณรัฐเกาหลีจะ ทยอยลดภาษีนำเข้าทุเรียนสดให้ภาคีสมาชิกจากร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 0 ภายใน 10 ปี นับตั้งแต่ความตกลง RCEP มีผลใช้บังคับ
การนำเข้าสินค้าทุเรียนของไทย
- ในปี 2564 ไทยมีการนำเข้าทุเรียนสดและผลิตภัณฑ์ (พิกัดศุลกากร 0810.60 0811.90.00.002 0813.40.90.001 2008.99.90.090 2007.99.10 และ 2007.99.20) ปริมาณ 32,707.53 ตัน เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 21,099.30 ตัน ในปี 2563 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.02 ขณะที่มีมูลค่าการนำเข้า 71.99 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 43.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.77
ราคาขายทุเรียน
ราคาทุเรียนตลาดสี่มุมเมือง ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2566
- ทุเรียนหมอนทอง (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 160 บาท / กลางสวย 130 บาท / เล็กสวย ราคากิโลกรัมละ 120 บาท
- ทุเรียนกระดุม (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 120 บาท / กลางสวย 100 บาท / เล็กสวย ราคากิโลกรัมละ 80 บาท
- ทุเรียนชะนี (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 100 บาท
- ทุเรียนก้านยาว (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 200 บาท / เล็กสวย ราคากิโลกรัมละ 180 บาท /เล็กสวย ราคากิโลกรัมละ 160 บาท
- ทุเรียนนกกระจิบ (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 130 บาท / เล็กสวย ราคากิโลกรัมละ 100 บาท /เล็กสวย ราคากิโลกรัมละ 80 บาท
- ทุเรียนพวงมณี (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 120 บาท / เล็กสวย ราคากิโลกรัมละ 110 บาท
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : สำนักการค้าสินค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ มีนาคม 2565, www.simummuangmarket.com
ภาพประกอบ : www.flickr.com
สถานการณ์ทุเรียน การส่งออกและนำเข้าทุเรียนของไทย-ของโลก