เมล็ดพันธุ์ OP, F1, F2 การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

เมล็ดพันธุ์

เมล็ดพันธุ์พืช คือ เมล็ดพืชที่มีชีวิตซึ่งเมื่อนำไปปลูก หรือนำไปขยายพันธุ์แล้วจะได้ต้นที่เจริญงอกงามตรงตามพันธุกรรมของพืชนั้น ซึ่งเมล็ดพันธุ์นั้นสามารถแบ่งได้ดังนี้

ประเภทของเมล็ดพันธุ์

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. พันธุ์ผสมเปิด (Open pollinated variety: OP) เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะทางการเกษตรไม่คงที่ มีควาแปรปรวนให้ผลผลิตต่ำกว่าลูกผสม เมล็ดพันธุ์มีราคาถูก สามารถเก็บไว้ทําพันธุ์ต่อได้อีก 23 รุ่น โดยปลูกเว้นระยะห่างจากพันธุ์อื่นอย่างน้อย 200 เมตร
  2. พันธุ์ลูกผสม (Hybrid variety) เป็นพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนาให้มีลักษณะทางการเกษตรคงที่ สม่ำเสมอ เช่นขนาดฝัก ความสูง อายุวันออกดอกตัวผู้และวันออกใหม่ ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยว เป็นต้น
  • ลูกผสมรุ่นแรก (F1) จากการผสมระหว่างประชากรที่มีพันธุกรรมแตกต่างกัน เช่น
    2.1 Inbred line (สายพันธุ์แท้)
    2.2 Pure line (สายพันธุ์บริสุทธิ์)
    2.3 Open variety (พันธุ์ผสมเปิด)
    2.4 Synthetic variety (พันธุ์สังเคราะห์)
    2.5 อื่น
  • ลูกผสม (F2) เป็นผลมาจากการผสมเกสรตัวเองหรือผสมข้ามกันของ F1s ขาดความสม่ำเสมอของ F1s แม้ว่าอาจมีลักษณะที่พึงประสงค์บางประการและสามารถผลิตได้ในราคาถูกกว่า
การปลูกด้วยเมล็ด
การใช้เมล็ดในการปลูก

พันธุกรรม (Heredity)

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

สิ่งมีชีวิตสามารถสืบเนื่องลักษณะของแต่ละชนิดไว้โดยการถ่ายทอดพันธุกรรมจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ การทดลองของ เกรเกอร์ โยฮันน์ เมนเดล (Gregor Johann Mendel) เป็นการทดลองที่ทำให้เข้าใจเรื่องการถ่ายทอดพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตเพิ่มมากขึ้น

กฎการแยก

การทดลองของเมนเดลเป็นการทดลองที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน โดยการผสมระหว่างสายพันธุ์ที่มีความแตกต่างของลักษณะเพียงไม่กี่ลักษณะ เริ่มต้นจากการผสมสายพันธุ์แท้สองสายพันธุ์ที่มีลักษณะต่างกันเพียงหนึ่งลักษณะ เรียกว่า การผสมแบบมอโนไฮบริด (monohybridcross) ลักษณะ ที่เมนเดลศึกษา ได้แก่ สีเมล็ด (สีเขียวและสีเหลือง) รูปร่างฝัก (เรียบและคอด)รูปร่างเมล็ด (กลมและย่น) สีเปลือกหุ้มเมล็ด (สีเทาและสีเขียว) สีฝัก (สีเขียวและสีเหลือง)ตำแหน่งดอก (ด้านข้างต้นและปลายยอด) และความสูง (ต้นสูงและต้นเตี้ย) การผสมแบบมอโนไฮบริดของลักษณะทั้ง 7 ลักษณะ พบว่ามีรูปแบบการถ่ายทอดเหมือนกันทุกคู่ผสม กล่าวคือ ในชั่วรุ่นที่ 1 (F1 , first filial generation) มีลักษณะของชั่วรุ่นพ่อแม่ (P1 และ P2 , parent generation) ปรากฏเพียงแบบเดียว และในชั่วรุ่นที่ 2 (F2 , second filial generation) พบลักษณะของชั่วรุ่นพ่อแม่ทั้งสองแบบ โดยมีอัตราส่วนของลักษณะเท่ากับ 3:1

ตัวอย่างเช่น

การถ่ายทอดลักษณะรูปร่างเมล็ดโดยผสมระหว่างสายพันธุ์เมล็ดกลมและสายพันธุ์เมล็ดย่น (รูปที่ 1) ได้ชั่วรุ่นที่ 1 เมล็ดกลมทุกต้น และชั่วรุ่นที่ 2 มีต้นที่มีเมล็ดกลม 3 ส่วน และต้นที่มีเมล็ดย่น 1 ส่วน และเมื่อศึกษาการถ่ายทอดลักษณะอื่นๆ อีก 6 ลักษณะ ก็ให้ผลการทดลองในทำนองเดียวกัน เมนเดลเรียกลักษณะที่พบในชั่วรุ่นที่ 1 ว่า ลักษณะเด่น (dominant) และลักษณะที่หายไปในชั่วรุ่นที่ 1 แต่กลับมาปรากฏในชั่วรุ่นที่ 2 ในสัดส่วนที่น้อยกว่าว่า ลักษณะด้อย (recessive) เช่น คู่ผสมระหว่างต้นเมล็ดกลมและเมล็ดย่น ลักษณะเด่นคือเมล็ดกลม และลักษณะด้อยคือเมล็ดย่น เป็นต้น

การที่ลักษณะด้อยในชั่วรุ่นพ่อแม่กลับมาปรากฏในชั่วรุ่นที่ 2 แสดงว่ามีหน่วยที่แน่นอนควบคุมลักษณะหนึ่งๆ และมีการถ่ายทอดหน่วยควบคุมลักษณะดังกล่าวไปยังรุ่นลูกแต่ละรุ่น เมนเดลอธิบายผลการทดลองโดยการตั้งสมมติฐานซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญดังนี้

  • ลักษณะพันธุกรรมแต่ละลักษณะถูกควบคุมด้วยหน่วยเฉพาะ ซึ่งในแต่ละบุคคล(ต้นหรือตัว) หน่วยควบคุมลักษณะแต่ละลักษณะปรากฏเป็นคู่ เช่น หน่วยควบคุมลักษณะรูปร่างเมล็ด ประกอบด้วยหน่วยควบคุมเมล็ดกลมและหน่วยควบคุมเมล็ดย่น ดังนั้นในชั่วรุ่นพ่อแม่ สายพันธุ์เมล็ดกลมจึงมีหน่วยควบคุมเมล็ดกลมสองหน่วย และสายพันธุ์เมล็ดย่นมีหน่วยควบคุมเมล็ดย่นสองหน่วย เป็นต้น
  • หน่วยควบคุมลักษณะแต่ละหน่วยถูกส่งไปยังรุ่นลูกทางเซลล์สืบพันธุ์ โดยหน่วยที่อยู่เป็นคู่แยกจากกันเข้าสู่เซลล์สืบพันธุ์ ขณะที่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ดังนั้นเซลล์สืบพันธุ์จึงมีหน่วยควบคุมลักษณะเพียงหนึ่งหน่วย เช่น ในเซลล์สืบพันธุ์ของสายพันธุ์เมล็ดกลม มีหน่วยควบคุมเมล็ดกลมเพียงหนึ่งหน่วย และเซลล์สืบพันธุ์ของสายพันธุ์เมล็ดย่นมีหน่วยควบคุมเมล็ดย่นเพียงหนึ่งหน่วย เป็นต้น
  • การปฏิสนธิระหว่างไข่และสเปิร์มส่งผลให้หน่วยควบคุมลักษณะปรากฏเป็นคู่อีกครั้งหนึ่ง รุ่นลูกได้รับหน่วยควบคุมลักษณะจากพ่อและแม่อย่างละหน่วย ดังเช่นในชั่วรุ่นที่ 1 ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์เมล็ดกลมและสายพันธุ์เมล็ดย่น มีหน่วยควบคุมเมล็ดกลมอยู่คู่กับหน่วยควบคุมเมล็ดย่น โดยหน่วยควบคุมเมล็ดกลมสามารถข่มหน่วยควบคุมเมล็ดย่นไว้ได้ ดังนั้นต้นถั่วลันเตาในชั่วรุ่นที่ 1 จึงมีเมล็ดกลม อย่างไรก็ตามแม้ว่าหน่วยควบคุมเมล็ดกลมจะบดบังผลของหน่วยควบคุมเมล็ดย่นไว้ แต่ไม่ได้ทำให้หน่วยควบคุมเมล็ดย่นเปลี่ยนแปรไป และแสดงผลเหมือนเดิมเมื่อถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นถัดไป ดังจะเห็นได้ในชั่วรุ่นที่ 2 ซึ่งพบต้นถั่วลันเตาที่มีเมล็ดย่นรวมอยู่ด้วย

ขั้นตอนในการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อสร้างพันธุ์ลูกผสมประกอบด้วย

  1. การสร้างสายพันธุ์แท้ (Production of inbred lines)
    อินบรีดดิ่ง ( Inbreeding) เป็นการผสมตัวเองหรือการผสมในหมู่เครือญาติใกล้ชิดซึ่งจะทำให้ ความแข็งแรง (Vigor) ความสมบูรณ์พันธุ์ (Fertility) และผลผลิต (Fecundity) ลดลง ส่วนยีนด้อย lethal genes และ deleterious genes ปรากฏมากขึ้นในกลุ่มพืชที่เป็นพันธุ์ทาง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเป็นพันธุ์แท้ และลดอัตราส่วนของความเป็นพันธุ์ทางในประชากร ดังนั้นจึงเป็นการจึงเป็นการลดความแข็งแรงของพืช
    ในพืชผสมตัวเอง เช่น มะเขือเทศ พริก ถั่ว ต่างๆ ส่วนใหญ่ประชากรมีความเป็นพันธุ์แท้สูสามารถใช้เป็นพันธุ์แท้ได้ ส่วนในพืชผสมข้าม เช่นพืชตระกูลกะหล่ำ (Cole crops) พืชหัว (Root crops) หอม กระเทียม (Bulb crops) และพืชตระกูลแตง (Cucurbit crops) การสร้างสายพันธุ์แท้ทาได้โดยการ ผสมตัวเอง จานวนครั้ง (generations) ของการผสมตัวเองขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการเสื่อมถอยทาง ลักษณะพันธุกรรมอันเนื่องจากการผสมตัวเอง (Inbreeding depression) ของแต่ละพืช จากการศึกษาพบว่าน กะหล่ำดาว (brussels sprout) กะหล่าปลี(cabbage) และ บรอ็คโคลี่ (broccoli) มี inbreeding depression สูง ส่วนในผักกาดหัว (radish) และ แครอท (carrot) มี inbreeding depression ปานกลางถึงต่ำโดยสังเกตได้จากการผสมตัวเองสี่ครั้งในผักกาดหัวพบว่าผลผลิตของเมล็ดพันธุ์ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแสดงว่ามี inbreeding depression ต่ำ ส่วนในพืชตระกูลแตงจากการศึกษาไม่พบว่ามีการแสดงออกของ inbreeding depression เมื่อมีการผสมตัวเองไปหลายครั้ง
  2. การทดสอบสมรรถนะในการรวมตัว (Testing of combining ability)
    ในการคัดเลือกสายพันธุ์แท้ดัชนีหนึ่งที่สาคัญคือสมรรถนะในการรวมตัวทั่วไป (General combining ability: GCA ) และสมรรถนะในการรวมตัวเฉพาะ(Specific combining ability: SCA) โดยทั่วไป SCA สามารถทานายสมรรถนะของพ่อแม่ได้ดีกว่า GCA
    ในการประมาณค่า GCA และ SCA สามารถประมาณได้จากแผนการผสม (Mating design) ดังนี้ ลูกผสมเดี่ยว ลูกผสมสามทาง ใช้ในการประมาณค่า SCA โพลีครอส (Polycross) ใช้ในการประมาณค่า GCA ส่วน การทาทอปครอส (Top cross) ไดอัลลีลครอส (Diallel cross ) สามารถใช้ประมาณค่าได้ทั้ง GCA แล SCA
  3. การพัฒนาสายพันธุ์แท้ (Inbred line)
    ลักษณะของลูกผสมที่ได้จะขึ้นอยู่กับลักษณะของพันธุ์แท้หรือสายพันธุ์ที่นามาใช้สร้าง ในบากรณีสายพันธุ์แท้จะมีลักษณะพิเศษ เช่น ต้านทานต่อโรค หรือ แมลง ดังนั้นในการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีอยู่ให้มีลักษณะดังกล่าวทาได้โดยการผสมกลับ (Backcross) เพื่อสร้าง Isogenic lines ที่มีลักษณะต้านทานโรค หรือแมลงขึ้น เพื่อนาไปใช้ในการสร้างสายพันธุ์ลูกผสมที่มีลักษณะต้านทานโรคเป็นต้น
  4. การผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสม(Hybrid seed production)
    ชนิดของลูกผสมและวิธีการผลิตเมล็ดพันธุ์
     – ลูกผสมเดี่ยว( Single cross) สร้างจากสายพันธุ์แท้ 2 สายพันธุ์ มีความสม่าเสมอของลักษณะสูง (Uniformity) แต่ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวในบางพืชอาจมีข้อจำกัดในเรื่องของราคา การผลิลูกผสมเดี่ยวแต่ละครั้งได้เมล็ดน้อย เช่นข้าวโพด ส่วนพืชอื่นๆ เช่นมะเขือเทศ พริก แตงกวา แตงเทศมีการผลิตลูกผสมเดี่ยวเป็นการค้าอย่างกว้างขวาง
     – ลูกผสมคู่ ( Double cross) ใช้สายพันธุ์แท้ตั้งแต่ 4 สายพันธุ์ขึ้นไป นิยมทำในข้าวโพด กะหล่ำปลี
    ลูกผสมสามทาง (Three way cross) นิยมทำใน คะน้า และ แครอท
    เมื่อเทียบความสม่าเสมอระหว่างลูกผสมทั้งสามชนิด ลูกผสมเดี่ยวจะให้ความสม่าเสมอสูงสุด ดังกลุ่มพืชผักมักนิยมเมล็ดพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวมากกว่าลูกผสมคู่และลูกผสมสามทาง แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณถึงความยากง่ายในการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมด้วย
    การผสม( Hybridization) ในพืชผักที่จัดอยู่ในกลุ่มพืชผสมตัวเอง ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมเป็นการค้ามีขั้นตอนสำคัญ คือ การกาจัดเกสรตัวผู้  (Hand emasculation) และการผสมเกสร (Hand pollination)
    – การกำจัดเกสรตัวผู้ ( Emasculation) ขั้นตอนนี้จะต้องมีการเลือกขนาดของดอกที่เหมาะสม คือเป็นช่วงหนึ่งวันก่อนดอกบาน จากนั้น จะใช้เข็ม หรือปากคีบดึงเกสรตัวผู้และกลีบดอกบางส่วนออ
    การผสมเกสร (Hand pollination) การผสมเกสรจะกระทาในช่วงเช้าของวันถัดมาหลังจากที่มีการกาจัดเกสรตัวผู้ การผสมเกสร อาจใช้แปรง พู่กัน ปากคีบ หรือหลอดรูปตัว J ในการผสมสามารถใช้เกสรตัวผู้จากต้นโดยตรงก็ได้แต่วิธีการนี้จะใช้แรงงานและเสียเวลามาก ในขณะเดียวกันจะได้ปริมาณดอกที่ได้รับการผสมน้อย เมื่อเทียบกับการใช้เกสรตัวผู้ที่เก็บรวบรวมไว้ หลังจากที่มีการผสมเกสรแล้วดอกที่ได้รับการผสมจะต้องทำเครื่องหมายไว้ อาจทำเครื่องหมายโดยการติดแผ่นป้ายหรือใช้วิธีเด็ดกลีบเลี้ยงออก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด การทาเครื่องหมายก็เพื่อให้สามารถแยกผลที่ทาการผสมออกจากผลที่เกิจากการผสมตัวเองได้ในช่วงการเก็บเกี่ยว
เมล็ดพันธุ์ถั่ว
เมล็ดพันธุ์ถั่ว การนำเมล็ดมาตากแห้ง

การผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมโดยใช้ประโยชน์จากการผสมตัวเองไม่ติด

  1. ลูกผสมเดี่ยว (single cross hybrid)
    ในการผลิตลูกผสมเดี่ยวจะใช้สายพันธุ์แท้ 2 สายพันธุ์ ที่สามารถผสมกันได้ปลูกสลับ และใช้แมลงในการช่วยผสมเกสร สามารถปลูกทั้งในโรงเรือนในแปลงปลูก ในกรณีที่มีการทดสอบการผสมสลับ (Reciprocal cross) แล้วพบว่าไม่มีความแตกต่างเกิดขึ้น สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นพ่อต้นแม่รวมกันได้ แต่ถ้าพบความแตกต่างต้องเก็บแยกระหว่างต้นพ่อและต้นแม่ ลูกผสมประเภทนี้จะมีความสม่ำเสมอสูง แต่ต้นทุนการผลิตเมล็ดลูกผสมชนิดนี้จะสูงทำให้ราคาเมล็ดพันธุ์สูงไปด้วย
    สาเหตุเนื่องจาก
    1) การติดเมล็ดของสายพันธุ์แท้ที่ใช้เป็นแม่และพ่ออยู่ในเกณฑ์ต่าทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากการเสื่อมถอยของลักษณะอันเกิดจากการผสมตัวเอง (Inbreeding depression) และ
    2) การผลิตเมล็ดสาย
    พันธุ์แท้ที่ใช้เป็นแม่และพ่อต้องใช้การทำ Bud pollination ซึ่งต้องใช้แรงงานและค่าใช้จ่ายสู
  2. ลูกผสมคู่ ( double cross hybrid)
    ลูกผสมคู่นิยมทาในกะหล่ำปลี ในการผลิตลูกผสมคู่จาเป็นต้องใช้สายพันธุ์แท้ 4 ตัว
  3. ลูกผสมสามทาง (three way cross or triple cross hybrid)
    ลูกผสมชนิดนี้นิยมทำในคะน้า วิธีนี้ช่วยลดต้นทุนการผลิตสายพันธุ์พ่อแม่ เมล็ดลูกผสมมีราคาถูกเมื่อเทียบกับลูกผสมเดี่ยวแต่ความสม่าเสมอจะน้อยกว่า

ปัญหาในการผลิตเมล็ดพันธุ์โดยใช้การผสมตัวเองไม่ติดขึ้นอยู่กับ S allele ว่ามีความเป็น selfincompatibility มากน้อยแค่ไหน และการแสดงออกของยีนที่ควบคุม เช่นในกรณีที่ยีนข่มแบบไม่สมบูรณ์ การใช้สายพันธุ์แท้ที่ไม่คงตัวเหล่านี้ไปผลิตเมล็ดพันธุ์จะได้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ดี มีความสม่าเสมอต่ำ โอกาสเกิดการผสมตัวเอง หรือผสมในหมู่เครือญาติเกิดขึ้น ดังนั้นในการคัดเลือกสายพันธุ์แท้ต้องคัดสายพันธุ์ที่มี S allele ที่คงตัวสูง ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และแสดงการข่มอย่างสมบูรณ์

การเพาะเมล็ด
การเพาะเมล็ดก่อนย้ายต้นกล้า

การเก็บเมล็ดพันธุ์พืช

การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เป็นหัวใจสาคัญและมีความจำเป็นมากที่สุด และเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องเก็บเมล็ดพันธุ์และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพเหล่านั้นไว้ ซึ่งทำได้ไม่ยากถ้าเราช่วยกัน

เทคนิคในการเก็บเมล็ดพันธุ์ง่าย ๆ โดยทั่วไปแบ่งเมล็ดพันธุ์ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มเมล็ดที่อยู่ในฝักแห้ง เช่น พืชประเภทถั่ว ผักกาด ผักคะน้า ผักชี ผักบุ้ง กะหล่ำ ผักสลัด เมื่อต้นโตจะเป็นพุ่มพอปล่อยไปสักระยะหนึ่งใบจะเริ่มมีขนาดเล็กลง เริ่มมีดอกและจะพัฒนาเป็นฝักเล็ก พอต้นเริ่มเหลืองก็สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้เลย แต่ถ้าปล่อยให้แห้งคาต้นโอกาสที่จะแตกและร่วงลงดินมีมาก ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ ต้องตัดในขณะที่ต้นยังเหลือง หลังจากที่ตัดแล้ว นาไปวางบนพลาสติกและผึ่งไว้ในที่ร่ม ประมาณ 3-4 วันหลังจากนั้นก็เอาฝักออกด้วยการนำไปฝั แล้วนาเมล็ดที่ได้เก็บรักษาไว้ในถุงพลาสติกหรือขวด
  2. กลุ่มเมล็ดที่เปียกหรือมีความชื้นสูง เช่น พริก มะเขือ ฟักทอง เป็นต้น ปกติเวลาที่เก็บเมล็ดต้องขูดออกเมล็ดออกมา จากนั้นเอาไปล้างในน้าให้สะอาดและนาไปตากในที่ร่ม นาน 4-5 วัน สามารถเก็บได้เมล็ดพริก ถ้าเอามือจับจะเกิดอาการแสบร้อน ดังนั้นการคัดเลือกเมล็ดพริกที่สุกที่สุด นำไปใส่ในเครื่องปั่น ใส่น้ำลงไปให้ท่วม จากนั้นปั่นสามรอบพอให้ผลพริกแตก แต่ระวังไม่ให้เมล็ดพริกแตกละเอียด จากนั้นเทลงในถังเพื่อหมักให้เกิดความเน่า ประมาณ 1 สัปดาห์ ความเผ็ดของพริกจะหายไป ให้เติมน้ำลงไปในปริมาณมากพอสมควรและเอาไม้คนไปเรื่อยๆ จากนั้นเทน้าออก เมล็ดที่ดีจะจมอยู่ด้านล่างถัง เทน้าล้างประมาณ 3 รอบ ทำให้ได้เมล็ดพริกที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด จากนั้นนำไปตากในที่ร่มประมาณ 4-5 วัน และสามารถนาไปเก็บได้ฟักทองและแตงกวา เก็บผลมาจากต้น จากนั้นนำมาทาความสะอาดและตากให้แห้งและนำไปเก็บรักษาได้วิธีการนี้ทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกลดลงเร็วมาก วิธีการที่ควรทำคือเมื่อเก็บมาจากต้นต้องนำไปบ่มก่อนประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อให้เมล็ดดูดซึมอาหารจากผลให้สมบูรณ์มากที่สุด วิธีการนี้เปอร์เซ็นต์ความงอกสูงมากขึ้น
  3. กลุ่มเมล็ดที่มีเมือก เช่น มะละกอ มะเขือเทศ เสาวรส เมล็ดเหล่านี้จะมีเมือกลักษณะเป็นแผ่นใสๆ หุ้มเมล็ดอยู่ ล้างไม่ค่อยออก เมื่อได้รับความชื้นเมือกนี้จะดูดความชื้นเข้าภายในเมล็ดอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น เพราะฉะนั้นวิธีการแก้ไขคือต้องแช่เมล็ดในน้านาน 1 เดือน เพื่อเป็นการกาจัดเมือก จากนั้นค่อยล้างทำความสะอาดและนำไปผึ่งลมให้แห้งและจึงเก็บรักษา

โดยทั่วไปเมล็ดพันธุ์พืชสวนมีอายุไม่เกิน 1 ปี ความงอกจะลดลงหรือไม่งอก ในกรณีที่ต้องการเก็บรักษานานกว่า 1 ปี ให้เก็บรักษาภายในตู้เย็นอยู่ได้นาน 10 ปี เพราะฉะนั้นการเก็บเมล็ดพันธุ์จึงไม่ใช่เรื่องที่ยากอีกเกินไป

การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

ปัจจัยที่มีผลต่อการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์  คือการดำรงไว้ซึ่งความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์  (seed)  ให้ยาวนานออกไป  ฉะนั้น  ในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์จึงมีปัจจัยต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องหลายประการ  แต่โดยทั่วไปอาจสรุปได้  2  ประการ  คือ

  1. ปัจจัยภายใน
    ชนิดของเมล็ดพันธุ์  (species)  เมล็ดแต่ละชนิดมีอายุการเก็บรักษาแตกต่างกันไปตามพันธุกรรม  เช่น  ข้าวเก็บได้นานกว่าถั่วเหลือง โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของเมล็ดพันธุ์  เช่น  เมล็ดที่มีองค์ประกอบของแป้งจะเก็บไว้ได้นานกว่าเมล็ดที่มีองค์ประกอบของไขมัน
  2. ปัจจัยภายนอก
    อุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ของสภาพการเก็บและความชื้นของเมล็ด  เมล็ดจะเก็บรักษาไว้ได้อย่างปลอดภัยจะต้องมีความชื้นต่ำ  เมล็ดที่มีความชื้นสูงจะมีขบวนการเมตาโบลิซึมสูง  นอกจากนี้โรคและแมลงจะเข้าทำลายได้ง่ายทำให้เสื่อมคุณภาพเร็ว  เก็บไว้ไม่ได้นานและเนื่องจากเมล็ดเป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติที่เรียกว่า  “ไฮโกรสโคปิก”  (hygroscopic)  คือสามารถรับหรือถ่ายเทวามชื้นของตัวเองให้สมดุลกับบรรยากาศภายนอก

สรุปข้อห้าม 7 ประการของการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่ถูกวิธีนั้นคือ  การปฏิบัติต่อเมล็ดพันธุ์เพื่อรักษาหรือชะลอความเสื่อมคุณภาพ  ซึ่งคุณภาพดังกล่าวมีหลายลักษณะ  แต่ในที่นี้จะข้อกล่าวถึงข้อห้าม  7  ประการ  ดังนี้
  1. อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์ที่มีความชื้นสูง  เพราะเมล็ดพันธุ์สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้
  2. อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใกล้กับปุ๋ยหรือสารเคมีเพราะจะเกิดอันตรายโดยตรงต่อความงอกของเมล็ดพันธุ์
  3. อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใกล้กับแหล่งน้ำหรือสถานที่ชื้นแฉะ เพราะมีความชื้นสูงซึ่งจะทำให้เมล็ดพันธุ์มีอายุสั้นเพราะดูดความชื้น
  4. อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์บนพื้นโดยตรง  เพราะพื้นจะถ่ายเทความชื้นสู่เมล็ดทำให้กันความชื้นไม่ได้  อากาศถ่ายเทไม่ดี  เมล็ดจะเน่าเสียหายเร็ว
  5. อย่าให้มีศัตรูโรคแมลงขณะเก็บรักษาเพราะจะทำลายเมล็ดโดยตรง
  6. อย่าเก็บเมล็ดที่ตายแล้วเพราะเสียเวลา  ทุน  แรงงาน  และสถานที่
  7. อย่าละเลยการตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ขณะเก็บรักษาเพราะการตรวจสอบจะทำให้ทราบสภาพของคุณภาพเมล็ดพันธุ์เพื่อการวางแผนปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์

พึงระลึกเสมอว่าเมล็ดพันธุ์เป็นสิ่งมีชีวิตและมีคุณค่าการใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีเพาะปลูก  หมายถึงความสำเร็จของเกษตรกรจึงไม่ควรปล่อยปะละเลย  เมล็ดพันธุ์ไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในสภาพที่ไม่เหมาะสม  ดังนั้น  การให้การดูแลที่ถูกต้องเท่านั้นจะรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ไว้ได้นาน

ดังนั้นเราควรหันมาเก็บเมล็ดพันธุ์พืชเอาไว้ปลูกขยายพันธุ์เอง เป็นวิถีชีวิตแบบพอเพียง อีกทั้งเป็นการปลูกไว้ทานเองแล้ว ยังสามารถนำไปขาย แบ่งปันผลผลิตให้ญาติสนิท เพื่อนบ้าน มิตรสหาย ได้เป็นการได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัย ปลอดสารเคมี และรสชาติอร่อย อีกด้วยค่ะ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th, http:// secondsci.ipst.ac.th, http:// agri.kps.ku.ac.th, http://www.agri.ubu.ac.th, https://www.opsmoac.go.th, https:// www.wisdomking.or.th, https:// rbr-rsc.ricethailand.go.th, https://www.nstda.or.th

Add a Comment