เมื่อยดูก หรือ เมื่อยแดง ไม้เถาเนื้อแข็ง มีสรรพคุณทางยา

เมื่อยดูก หรือ เมื่อยแดง

ชื่ออื่นๆ : เมื่อย, ม่วย (นครราชสีมา ตราด) เมื่อยเลือด (หนองคาย) ม่วยแดง (อุบลราชธานี) กำแพงเพชรเจ็ดชั้น (กระบี่)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gnetum macrostachyum Hook.f.

ชื่อวงศ์ : Gnetaceae

ลักษณะของเมื่อยดูก หรือ เมื่อยแดง

ต้น  เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เนื้อไม้มีวงปีสีแดงเข้ม เปลือกเถาแก่สีน้ำตาล แตกร่อน มีรูอากาศมาก

ใบ  ใบเดี่ยว  เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 14-16 เซนติเมตร เนื้อใบหนาและเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบแหลมถึงมน ก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร

ดอก  ดอกช่อแบบช่อเชิงลด ออกที่ซอกใบหรือตามลำต้น สร้างโคนหรือสตรอบิลัสเดี่ยว ออกเป็นช่อแกนรูปทรงกระบอก มีลักษณะเป็นกลุ่ม เรียงเป็นชั้น สีชมพูแดง ดอกแยกเพศ กว้างประมาณ 0.7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ดอกย่อยเรียงเป็นชั้น ชั้นละประมาณ 10 ดอก มีขนสีน้ำตาลล้อมรอบแต่ละชั้น ขนยาว 3 มิลลิเมตร ปกคลุมหนาแน่น ก้านของโคนยาว 0.5-1 เซนติเมตร

ผล ทรงรี ขนาดกว้างประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร  ออกเป็นช่อ หนึ่งช่อมีประมาณ 20-25 เมล็ด  ช่อยาว 4-5 เซนติเมตร ก้านช่อสั้น ยาวประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร ที่โคนแต่ละเมล็ดมีขนนุ่มสั้นสีน้ำตาลจำนวนมากปกคลุม ขนขนาดยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร เมล็ดไม่มีผลห่อหุ้ม จะมีกลีบนุ่มคล้ายหนังหุ้มอยู่ เมื่อยังอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สีชมพูแกมส้ม ส่วนปลายมีหนามแหลมขนาดเล็กมากหนึ่งอันยื่นออกมาเล็กน้อย พบตามป่าเต็งรัง ออกดอก และติดผลราวเดือนเมษายน

เมื่อยดูก
เมื่อยดูก ไม้เถาเนื้อแข็ง เนื้อใบหนาและเหนียวคล้ายแผ่นหนัง

การขยายพันธุ์ของเมื่อยดูก หรือ เมื่อยแดง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่เมื่อยดูก หรือ เมื่อยแดงต้องการ

ประโยชน์ของเมื่อยดูก หรือ เมื่อยแดง

สรรพคุณทางยาของเมื่อยดูก หรือ เมื่อยแดง

  • เถา แก้เมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ทำให้จิตใจชุ่มชื่น
  • ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ ลำต้น ดองเหล้าดื่ม แก้ปวดเมื่อย ผสมแก่นกัดลิ้น ลำต้นขมิ้นเครือ และลำต้นพรมคตต้มน้ำดื่ม แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ทางภาคใต้ใช้ ลำต้น ผสมลำต้นตีนเป็ดน้ำ หรือรากหมากหมก ลำต้นเถาเอ็นอ่อน และแก่นกันเกรา ต้มน้ำดื่ม บำรุงเส้นเอ็น ผสมสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิตสตรี
ผลเมื่อยดูก
ผลเมื่อยดูก ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีชมพูแกมส้ม ส่วนปลายมีหนามแหลม

คุณค่าทางโภชนาการของเมื่อยดูก หรือ เมื่อยแดง

การแปรรูปของเมื่อยดูก หรือ เมื่อยแดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11228&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment