การปลูกข้าวโพดและวิธีการกำจัดหนอนข้าวโพด

ข้าวโพด

ข้าวโพด เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทยที่ทำรายได้ให้กับประเทศ คิดเป็นมูลค่าประมาณปีละ 10,000 ล้านบาท โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณปีละ 11-12 ล้านไร่ ผลผลิตประมาณปีละ 4-5 ล้านตัน ประมาณ 65% ของผลผลิตใช้บริโภคภายในประเทศในรูปแบบที่เป็นวัตถุดิบ ให้แก่ โรงงานอาหารสัตว์และอุตสาหกรรมอื่นๆ  ส่วนที่เหลือส่งออกในรูปแบบของข้าวโพด, ข้าวโพดบด และแป้งข้าวโพด ซึ่งคิดเป็นมูลค่า ประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2535) การบริโภคภายในประเทศได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก ดังนัันการผลิตข้าวโพดจึงไม่มีปัญหาในเรื่องตลาดรองรับ เพราะเป็นที่ต้องการทั้งภายในและต่างประเทศ

แหล่งปลูกข้าวโพด ที่สำคัญอยู่ในภาคเหนือ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกถึงกว่าครึ่งของทั้งประเทศ ส่วนที่เหลือกระจายปลูกในทุกภาคของประเทศ จังหวัดที่ปลูกข้าวโพดที่สำคัญ ได้แก่ เพชรบูรณ์ นครราชสีมา เลยลพบุรี และนครสวรรค์

ข้าวโพดสามารถใช้เป็นอาหารทั้งของมนุษย์และสัตว์ แม้ว่าพื้นที่เพราะปลูกจะเพิ่มขึ้นเกือบทุกปีจนปัจจุบันไม่สามารถขยายได้อีกต่อไป และมีผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศประมาณ 370 กิโลกรัม/ไร่ เท่านั้นเอง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องพยายามเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ให้ได้ซึ่งการเพิ่มผลผลิตนั้นขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ใช้ปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพดินฟ้าอากาศ ปริมาณและการตกของฝนและการปฏิบัติดูแลรักษา ซึ่งจะกล่าวได้ดังต่อไปนี้

ฝักข้าวโพด
ฝักข้าวโพด ฝักมีสีเหลืองทอง

พันธุ์ข้าวโพด

พันธุ์ข้าวโพดในประเทศไทยที่ทางราชการและบริษัทเอกชน แนะนำส่งเสริมมีหลายพันธุ์ การใช้พันธุ์ที่ดีนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตที่ดี สามารถแยกพันธุ์ออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. พันธุ์ผสมเปิดหรือผสมปล่อย เกษตรกรที่ปลูก ดังกล่าวนี้ สามารถเก็บเมล็ดเพื่อใช้เป็นในฤดูต่อไปได้ แต่ทั้งนี้ไม่เก็บพันธุ์เองเกิน 3 ครั้ง ซึ่งการเก็บพันธุ์ไว้ใช้เองต้องเลือกเก็บฝักจากต้นที่ดี ไม่มีโรคแมลงทำลาย ฝักโต มีลำต้นสูงตามเกณฑ์เฉลี่ยของพันธุ์ไม่ควรเก็บฝักจากต้นที่อยู่รอบนอกของแปลงและไม่ควรเก็บเฉพาะจากส่วนหนึ่งส่วนใดของแปลงปลูก ควรเก็บจากต้นที่ดีตามจุดต่างๆ ของแปลงปลูก
    พันธุ์ที่แนะนำส่งเสริม ได้แก่
    1.1 พันธุ์สุวรรณ 1 เป็นพันธุ์ผสมเปิดที่ให้ผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง ลำต้นสูงประมาณ 2.00-2.50 เมตร เมล็ดมีสีเหลืองส้ม อายุออกดอก 50-55 วัน อายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 550-850 กิโลกรัม/ไร่
    1.2 พันธุสุวรรณ 2 ให้ผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์สุวรรณ 1 เล็กน้อย ลักษณะโดยทั่วไปและสีเมล็ดจะ คล้ายพันธุสุวรรณ 1 ความสูง ต้นประมาณ 2.00 เมตร อายุออกดอก 45-48 วัน อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน
    1.3 พันธุ์สุวรรณ 3 เป็นพันธุ์ผสมเปิดให้ผลผลิตสูงมีความต้านทานโรคราน้ำค้างและโรคราสนิม ลำต้นสูงประมาณ 2.00 – 2.50 เมตร เมล็ดสีส้มเหลือง หัวแข็งถึงกึ่งหัวแข็ง อายุออกดอก 50-55 วัน อายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 594-920 กิโลกรัม/ไร่
  2. พันธุ์ลูกผสม ปัจจุบันมีหลายพันธุ์ด้วยกันทั้งที่ผลิตโดยทางราชการและบริษัทเอกชน โดนทั่วไปลักษณะของข้าวโพดลูกผสมเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์สุวรรณ 1 จะมีลำต้นเตี้ยกว่า อายุสั้นกว่าเล็กน้อยผลผลิตสูงกว่า มีความสม่ำเสมอในลักษณะต่างๆ ดีกว่า แต่ราคาเมล็ดพันธุ์แพงกว่าสิ่งที่ต้องระมัดระวังในการปลูกโดยใช้พันธุ์ลูกผสมก็คือเก็บเมล็ดทำพันธุ์ปลูกเองไม่ได้ ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ปลูกทุกครั้ง เพราะถ้าเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในรุ่นต่อไป จะได้เมล็ดพันธุ์ลักษณะต่างๆ ไม่สม่ำเสมอ และให้ผลผลิตลดลงมาก
    พันธุ์ลูกผสมที่แนะนำส่งเสริม ได้แก่
    2.1 พันธุ์สุวรรณ 2301 เป็นพันธุ์ลูกผสมเดียวความสูงของต้น 1.80-2.00 เมตร เมล็ดสีส้มอายุออกดอก 47-50 วัน อายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน ผลผลิตสูง ทนสภาพแห้งแล้งได้ดีกว่าพันธุ์สุวรรณ 1
    2.2 พันธุ์สุวรรณ 2602 เป็นพันธุ์ลูกผสมสามทาง ความสูงของต้น 2.00-2.50 เมตร เมล็ดสีเหลืองส้ม อายุออกดอก ประมาณ 50 วัน ผลผลิตทั่วไปจะสูงกว่าพันธุ์สุวรรณ 1 และ สุวรรณ 2301 อายุการเก็บเกี่ยว 110-120 วัน พันธุ์สุวรรณ 2602 เทียบกับสุวรรณ 1
    2.3 พันธุ์สุวรรณ 3101 เป็นพันธุ์ลูกผสมสามทาง ความสูงของต้น 2.00-2.20 เมตร เมล็ดสีส้มเหลืองกึ่งหัวแข็ง อายุออกดอก 50-55 วัน ผลผลิตสูงกว่า พันธุ์สุวรรณ 2602 ประมาณ 16 เปอร์เซ็นต์ อายุการเก็บเกี่ยว 110-120 วัน 2.4 พันธุ์ลูกผสมที่ผลิตโดยบริษัทเอกชน ซึ่งมีหลายพันธุ์สามารถให้ผลผลิตได้ดีเช่นเดียวกัน

ฤดูปลูกข้าวโพด

ข้าวโพด เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปีถ้าไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ แต่โดยทั่วไปเกษตรกรไทยปลูกข้าวโพด โดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ดังนั้นฤดูปลูกโดยทั่วไปในประเทศไทย มี 2 ฤดู คือ

  1. ปลูกต้นฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนเมษายน – พฤษภาคม ขึ้นอยู่กับการตกและการกระจายของ ฝนในท้องถิ่น เกษตรกรนิยมปลูกข้าวโพดต้นฤดูฝน เนื้องจากได้ผลผลิตสูงกว่า ไม่มีโรคราน้ำค้างระบาดทำความเสียหาย รวมทั้งปัญหาวัชพืชรบกวนน้อยกว่าปลูกปลายฤดูฝน แต่จะมีปัญหาจากสารพิษอะฟลาท้อกซิน
  2. ปลูกปลายฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม การปลูกในฤดูปลายฝนนี้ ต้องใช้พันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง เพราะเป็นฤดูปลูกที่โรคราน้ำค้างระบาดทำความเสียหายให้แก่ข้าวโพดมากอย่างไรก็ตาม ข้าวโพดที่เก็บได้จากการปลูกต้นฤดูฝนคุณภาพของเมล็ด ทั้งนี้เพราะเมล็ดเก็บเกี่ยวที่ความชื้นสูง ทำให้เกิดเชื้อรา ซึ่งสร้างสารพิษ อะฟลาท้อกซิน ทำให้เมล็ดข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวจากการปลูกต้นฤดูฝนมีสารพิษนี้ในปริมาณสูง จนก่อให้เกิดปัญหาการรับซื้อจากตลาดต่างประเทศ ส่วนเมล็ดข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวจากการปลูกปลายฤดูฝน ไม่มีปัญหาเรื่องสารพิษอะฟลาท้อกซิน ถ้ามีก็น้อยเพราะการเก็บเกี่ยวกระทำในขณะที่ความชื้นในอากาศต่ำ อะฟลาท้อกซินในข้าวโพด
แปลงข้าวโพด
แปลงปลูกข้าวโพด

อัตราปลูกและระยะปลูก

การใช้อัตราและระยะปลูกที่เหมาะสมจะช่วยประหยัดเมล็ดพันธุ์ และช่วยให้ข้าวโพดเจริญเติบโตได้อย่างสม่ำเสมอทั่วกัน โดยใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ปลูก ดังนี้

ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระหว่างต้น 25 เซนติเมตร เมื่องอกแล้วถอนให้เหลือ 1 ต้น/หลุมหรือ ระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร เมื่องอกแล้วถอนให้เหลือ 2 ต้น/หลุม

การเตรียมดิน

การเตรียมดินมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อทำให้สภาพของดิน เหมาะแก่การงอกและการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพด เพราะการไถเตรียมดินทำให้ขนาดของก้อนดินเล็ดลงทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ช่วยกลบเศษพืชและวัสดุอื่นๆ ลงในดิน ช่วยกำจัดวัชพืช รวมทั้งโรคและแมลงบางชนิด ช่วยให้ดินดูดซับน้ำได้ดีขึ้นและช่วยลดการชะล้างดินจากการกระทำของน้ำ ในการไถควนไถให้ลึกประมาณ 6-12 นิ้ว พลิกตากดินไว้ประมาณ 7-14 วัน เพื่อให้วัชพืชตายหลังจากนั้นพรวนดิน 1-2 ครั้ง เพื่อย่อยดินและปรับสภาพดินให้เรียบร้อยต่อการปลูก ถ้าเป็นพื้นที่ที่ลาดเท การไถครั้งสุดท้ายควรให้ขวางกับแนวลาดเท

นอกจากนี้การปลูกข้าวโพดอาจปลูกบนดินที่ไม่ต้องมีการไถพรวนหรือไถพรวนเพียง เพื่อทำแถวปลูกเท่านั้นก็ได้ แต่การปลูกในแปลงที่เตรียมดินแบบนี้จะได้ผลต่อเมื่อการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชโดยมีสารเคมีหลัก คือ กรัมม้อกโซนหรือพารารวอท แล้วมีการใช้สารเคมีปราบวัชพืชชนิดอื่นที่เหมาะสมควบคู่กันไปด้วย เช่น อาทราซีน, อะลาคลอร์ เป็นต้น การปลูกข้าวโพดแบบไม่มีการไถพรวนนี้จะมีเศษซากพืชคลุมดิน เป็นต้น การข้าวโพดแบบไม่มีการไถพรวนนี้จะมีเศษซากพืชคลุมดิน สามารถช่วยในการซับ น้ำและอนุรักษ์ความชื้นในดินให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ช่วยลดความเสียหายจากการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี ผลดีของการปลูกโดยไม่มีการไถพรวนจะเห็นได้ชัดในพื้นที่ที่มีความลาดเทสูง

การเตรียมดิน
การเตรียมดิน การไถเตรียมดินทำให้ขนาดของก้อนดินเล็กลง

การใส่ปุ๋ย

การปลูกข้าวโพดในประเทศไทยมีการใช้ปุ๋ยน้อยมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลผลิตข้าวโพดต่ำและราคาค่อนข้างสูง รวมทั้งการขาดความรู้ในเรื่องการใส่ปุ๋ยในข้าวโพด จึงทำให้ผลผลิตดีขึ้นกว่าไม่ใส่ปุ๋ย ปุ๋ยที่จำเป็น คือ ปุ๋ยไนโตรเจน และ ฟอสฟอรัส ส่วนโปรแตสเซียมนั้น ดินในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่ขาดโปรแตสเซียม (ยกเว้นในดินทราย)

สูตรปุ๋ยและอัตราที่เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่นขึ้นกับการวิเคราะห์ดินและระดับผลผลิตที่ต้องการในทางปฏิบัติเพื่อสะดวก แนะนำให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0, 20-20-0 อัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่

การใส่ปุ๋ยนั้นถ้าในขณะปลูกจะสะดวกที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงแนะนำว่า ควรใส่ปุ๋ยหลังจากดายหญ้า ซึ่งระยะนี้ข้าวโพดโตพอสมควรแล้วพอที่จะคาดคะเนไดว่าการปลูกข้าวโพดฤดูนี้จะล้มเหลว เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ฝนแล้ง ฯลฯ และอื่นๆ การใส่ปุ๋ยอาจกระทำโดยการแซะดินให้ห่างจากโคนต้นข้าวโพด 1 คืบ ใส่ปุ๋ยแล้วกลบดิน

ความต้องการน้ำ

ความต้องการน้ำในระยะต่างๆ ของข้าวโพดไม่เท่ากัน ในระยะแรกๆ ของการเจริญเติบโตข้าวโพดต้องการน้ำไม่มากนักและค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามอายุ และต้องการน้ำสูงที่สุดในช่วงออกดอกและช่วงระยะต้น ของการสร้างเมล็ด หลังจากนั้นการใช้น้ำจะค่อยๆ ลดลง ดังนั้น ถ้าขาดน้ำในช่วงออกดอกจะทำให้ผลผลิตลดลงมาก ต้องคาดคะเนวันปลูกเพื่อไม่ให้ข้าวโพดเจอแล้งตอนออกดอก โดยดูจากข้อมูลการตกและการกระจายของฝนภายในท้องถิ่นจากหลายๆ ปี และติดตามการพยากรณ์อากาศ จะช่วยในการตัดสินใจในการกำหนดระยะเวลาปลูกที่เหมาะสมได้ดีขึ้น

การเก็บเกี่ยว

ควรเก็บเกี่ยวข้าวโพดในระยะที่ต้นและฝักแห้ง แล้วนำมาตากแดด 3-4 วัน จึงนำมากกะเทาะเมล็ด แล้วควรตากเมล็ดข้าวโพดให้แห้งสนิทให้มีความชื้นต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อราบางชนิดที่ติดมากับเมล็ดข้าวโพดการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเพื่อจำหน่ายควรเก็บทั้งฝัก

ต้นข้าวโพด
ต้นข้าวโพด ลำต้นตั้งตรงแข็งแรง ลำต้นสูงประมาณ 1.4 เมตร

การกำจัดวัชพืช

ทำได้หลายวิธี เช่น การใช้แรงงานคน การใช้เครื่องมือไถพรวน และการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช

ในการใช้สารเคมีนั้น สารเคมีแต่ละชนิดมีลักษณะการใช้คุณสมบัติในการปราบวัชพืช แลผลตกค้างแตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนใช้จึงควรอ่านคำแนะนำให้ละเอียด การเลือกใช้สารเคมีชนิดใดขึ้นอยู่กับชนิดของวัชพืชที่ขึ้นอยู่ และชนิดของพืชที่จะปลูกในฤดูถัดไป รวมทั้งราคาของสารเคมีที่ใช้ในไร่ข้าวโพดสารเคมีที่แนะนำ ได้แก่

อาหารซีนชนิดผง 80% เป็นสารเคมีที่ใช้ก่อนพืชปลูกงอกควรใช้อัตรา 500 กรัม/ไร่ ถ้าเป็นดินเหนียวให้ใช้อัตราสูงกว่านี้ สามารถควบคุมวัชพืชใบกว้างและใบแคบได้ดี แต่จะเป็นพิษต่อใบกว้างบางชนิด เช่น ผักและพืชตระกูลถั่ว ดังนั้น ถ้าปลูกถั่วตามหลังข้าวโพดในฤดูถัดไป ไม่ควรฉีดแปลงข้าวโพดด้วย

สารอาทราซีนอะลาคลอร์ เป็นสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นวัชพืชปลูกจะงอก ใช้อัตรา 500-1,000 กรัม/ไร่ กำจัดได้ดีเฉพาะวัชพืชใบแคบและเป็นพิษต่อข้าวฟ่าง ดังนั้น ถ้าจะปลูกข้าวฟ่างในฤดูถัดไปห้ามฉีดสารชนิดนี้การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชจะได้ผลดีถ้าปฏิบัติให้ถูกต้องแต่มีข้อควรระวัง คือ ต้องผสมน้ำและฉีดขณะที่ดินชื้น

แมลงศัตรูข้าวโพด

แมลงศัตรูข้าวโพดในประเทศไทย มีมากกว่า 80 ชนิด แต่ที่สำคัญมีอยู่ 5-6 ชนิด แต่ละชนิดจะทำความเสียหายในช่วงอายุข้าวโพดแตกต่างกัน แบ่งได้ 2 ระยะคือ ระยะกล้าและระยะข้าวโพดย่างปล้องจนถึงเก็บเกี่ยว

  1. แมลงศัตรูข้าวโพดระยะกล้า
    1.1 มอดดิน เป็นด้วงวงขนาดเล็ก ลำต้นป้อม ผิวขรุขระ สีดำปนน้ำตาลเทา จะออกทำลายพืชในเวลาค่ำพร้อมจับคู่ผสมพันธุ์ จะพบมอดดินตลอดทั้งปี เพราะว่ามีพืชไร่อื่นเป็นพืชอาศัยอยู่หลายชนิด ได้แก่ ข้าวฟ่าง อ้อย ละหุ่ง ฝ้าย ถั่วต่างๆ มันแก้ว และวัชพืชอีกหลายชนิด
    การป้องกันการกำจัด
    ใช้สารฆ่าแมลงประเภทคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกจะให้ผลดี โดยใช้ฟูราไธโอคาร์บ (โปรเมท 40 เอสดี) อัตรา 10-15 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือ คาร์โบซัลแฟน(ฟอสล์) อัตรา 20 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์1 กิโลกรัม ใช้ได้ดีในสภาพดินที่มีความสูงและฝนตก ถ้าเกิดมอดดินระบาด เมื่อข้าวโพดงอกแล้ว และสภาพพื้นที่แห้งแล้งแนะนำให้ใช้พอสส์อัตรา 40 มิลิกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
    1.2 หนอนกระทู้หอม เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก ทำลายกล้าข้าวโพดโดยจะกัดกินใบตั้งแต่ข้าวโพดงอกได้ 3-5 วัน จน 3 สัปดาห์ พืชอาศัยมีหลายชนิดได้แก่ หอม ผักกาดทุกชนิด มะระ ถั่วต่างๆ องุ่นและไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ
    การป้องกันกำจัด
    ใช้เชื้อไวรัสอัตรา 12 มิลลิเมตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 3 ครั้ง ตอนเย็น แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน หรือ ใช้ไตรฟลูมูรอน (อัลซิสทิน) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
  2. แมลงศัตรูระยะข้าวโพดอย่างปล้องถึงเก็บเกี่ยว
    2.1 หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน หนอนจะทำลายโดยเจาะลำต้นทำความเสียหายทั้งข้าวโพดไร่และข้าวโพดฝักสด การป้องกันกำจัด ที่ได้ผลคือ หยอดยอดข้าวโพดด้วยคาร์โบฟูราน (ฟูราดาน 3% จี) อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
    2.2 หนอนกระทู้ข้าวโพด ทำลายพืชในระยะที่ใบยอดใกล้จะคลี่ และในระยะที่กำลังออกไหมหนอนจะกัดกินยอดและใบ ทำให้แหว่งวิ่น ถ้าระบาดรุนแรงใบจะถูกกินเหลือเพียงก้านใบ หนอนจะออกหากินในเวลากลางคืนเป็นส่วนมาก
    การป้องกันกำจัด
    สารฆ่าแมลงที่ใช้ได้ผลดี คือ คาร์บาริล (เซพวิน) และเมโทมิล (แลนเนท) พ่นทุก 7 วัน เมื่อมีการทำลายใบถึง 50 %
    2.3 หนอนเจาะฝักข้าวโพด ทำลายพืชโดยกัดกินไหม และเจาะเข้าไปที่ปลายฝัก มักระบาดในฤดูที่มีการปลูกฝ้ายโดยเฉพาะตอนฝ้ายติดเสมอ และทำลายพืชอื่นๆ อีกเช่น ข้าวฟ่าง ยาสูบ มะเขือเทศ ถั่วต่างๆ
    การป้องกันกำจัด
    ในข้าว, พืชไร่ไม่จำเป็นต้องพ่นสารฆ่าแมลง แต่ในข้าวโพดหวานถ้ามีหนอนเจาะฝักในอัตรา 11 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หนอนชนิดนี้จะเข้าทำลายข้าวโพดในระยะออกดอกและออกไหมแล้วจึงควรหมั่นตรวจดูไร่ข้าวข้าวโพดหวานในระยะดังกล่าว
โรคข้าวโพด
โรคข้าวโพด ใบถูกทำลาย เนื่องจากหนอนกัดกิน

โรคข้าวโพด

โรคข้าวที่สำคัญ ได้แก่โรคราน้ำค้าง ส่วนโรคอื่นๆ ยังไม่มีความสำคัญมากนัก การป้องกันกำจัด ที่สะดวกที่สุดคือใช้พันธุ์ต้านทานถ้าพันธุ์ใดไม่ต้านทานให้ใช้สารเคมีคลุก เมล็ดป้องกันโรคราน้ำค้าง ได้แก่ เอพรอน 35% โดย คลุกเมล็ดก่อนปลูกในอัตรา 7 กรัม/เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

ราคาขาย

ราคาขายตลาดสี่มุมเมือง ณ วันที่ 2 มีนาคม 2565

  • ข้าวโพดอ่อน (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 18 บาท / ข้าวโพดอ่อน (เล็กสวย) ราคากิโลกรัมละ 16 บาท
  • ข้าวโพดหวานไฮบริกซ์ 3 (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 6 บาท / ข้าวโพดหวานไฮบริกซ์ 3 (เล็กสวย) ราคากิโลกรัมละ 5 บาท
  • ข้าวโพดข้าวเหนียวม่วงดำ (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 6 บาท / ข้าวโพดข้าวเหนียวม่วงดำ (เล็กสวย) ราคากิโลกรัมละ 5 บาท

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.simummuangmarket.com
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment