การปลูกมะพร้าวอ่อนเพื่อการส่งออก

มะพร้าวอ่อน

มะพร้าวอ่อนผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศจะนึกถึงรสชาติของนํ้ามะพร้าวที่หวานหอม และเนื้อที่หวานมันสามารถช่วยดับความกระหายคลายร้อนได้ดี สําหรับตลาดในต่างประเทศแถบยุโรปมะพร้าวอ่อนเป็นผลไม้ที่ค่อนข้างใหม่และกำลังเป็นที่นิยมบริโภคในหมู่นักบริโภคทั้งหลาย ทําให้ปริมาณความต้องการในตลาดต่างประเทศมีมาก ประกอบกับมะพร้าวอ่อนของไทยมีรสชาติที่หอมหวานดีกว่าประเทศคู่แข็งที่สำคัญอย่างประเทศฟิลิปปินส์หรือศรีลังกา

การจําหน่ายมะพร้าวอ่อนในปัจจุบันจะมีทั้งการจําหน่ายในรูปบริโภคผลสด และการแปรรูปผลสดโดยเอาเฉพาะส่วนเนื้อและนํามาบรรจุในภาชนะต่างๆ เช่น บรรจุในภาชนะพลาสติกหรือกระป๋อง ทําให้แนวโน้มด้านการตลาดและการส่งออกของไทยค่อนข้างสดใส และถ้าเกษตรกรได้มีการพัฒนาการผลิตมะพร้าวอ่อนให้มีคุณภาพดีขึ้นตามความต้องการของตลาดรวมทั้งมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการแปรรูป ให้มะพร้าวอ่อนสามารถเก็บไว้บริโภคได้นานๆ โดยรสชาติไม่เปลี่ยนแปลงแล้วนั้นประเทศไทยก็จะเป็นประเทศผู้ส่ง ออกมะพร้าวอ่อนที่สำคัญระดับโลกประเทศหนึ่ง

มะพร้าวอ่อน
มะพร้าว สามารถบริโภคได้ทั้งน้ำและเนื้อ

พันธุ์

พันธุ์มะพร้าวแบ่งตามลักษณะของผลที่แตกต่างกัน ดังนี้ คือ

  1. มะพร้าวนําหอมชนิดผลยาวหรือผลเล็ก
    ขนาดผลค่อนข้างเล็กลักษณะผลยาวรี ผลภายในหัวแหลมท้ายยาวรี ผลภายในหัวแหลมท้ายแหลม ทรงผลไม้สวยงาม
  2. มะพร้าวนํ้าหอมชนิดผลกลม
    เป็นมะพร้าวนํ้าหอมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดามะพร้าวนํ้าหอมด้วยกัน รูปทรงจะเป็นทรง กลมไม่เหมาะที่จะนํามาขายผลสดเพราะเปลือกบางและกะลาแตกง่ายเวลาปอกเปลือก
  3. มะพร้าวนํ้าหอมชนิดผลรีหรือชนิดก้นจีบ
    เป็นพันธุ์ที่ให้ผลรีก้นจีบมีขนาดใหญ่พอสมควร ซึ่งเหมาะแก่การนําไปปลูกเป็นผลสดส่งขาย ปลีกแก่ผู้บริโภคโดยตรงเพราะเป็นรูปทรงที่สวยงาม รวมทั้งนํ้ามีรสชาติกำลังดี กลิ่นหอม น่ารับประทาน
การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวมะพร้าว ควรใช้เชือกผูกทะลายแลเวหย่อนลงพื้น

การปลูก

นิยมปลูกในช่วงฤดูฝน การปลูกมะพร้าวอ่อนโดยทั่ว ไปมี 2 แบบ คือ

  • ปลูกบนแนวคันโอบ (คันสวน)
  • ปลูกแบบเป็นสวน
    ระยะปลูกที่เหมาะสม 6X6 เมตร โดยขุดหลุมให้มีความกว้าง ยาว และลึก ประมาณ 50X50X50 เซนติเมตร

ถ้าปลูกในร่องสวน ให้หลังร่องสวนกว้าง 7-8 เมตรขุดหลุมปลูก 50X50X50 เซนติเมตร ปลูกบนหลังร่อง 2แถวให้ระยะระหว่างต้นห่างกัน 6 เมตร และแต่ละแถวห่างจากท้องร่องข้างละ 1 เมตร แล้วนําหน่อพันธุ์ที่มีความสูงประมาณ 1 ฟุต ปลูกลงในหลุมที่เตรียมไว้ หากสูงเกินกว่านี้ต้องใช้ไม้ปักยึด กลบดินเพียงครึ่งลูกมะพร้าว ไม่ให้กลบจนถึงโคนต้นเพราะจะทําให้เจริญเติบโตช้า หลังจากนั้น รดนํ้าให้ชุ่ม และควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

ต้นมะพร้าว
ต้นมะพร้าว ลำต้นตั้งตรง แข็งแรง

การใส่ปุ๋ย

ปุ๋ยที่ให้ควรมีทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ โดยแบ่งใส่ปีก ละ 2 ครั้ง จํานวนปุ๋ย ที่ใส่ต่อต้นต้นมีดังนี้

การใส่ปุ๋ยมะพร้าวอ่อน
วิธีการใส่ปุ๋ยมะพร้าวอ่อน

การปลูกพืชแซม

ในแปลงปลูกมะพร้าวอ่อนสามารถปลูกพืชแซมได้ เช่น พืชผักสวนครัว พืชตระกูลถั่วต่างๆ ข้าวโพด สับปะรด เพราะพืชเหล่านี้มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น สามารถเพิ่มรายได้ให้กับผู้ปลูกมะพร้าวอ่อนได้

การให้ผลผลิต

จะเริ่มให้ผลผลิตหลังจากปลูกได้ 3 ปี แต่จะให้ผลไม้ค่อยดก ประมาณทะลายละ 2-3 ผล และ จะทําให้ผลดกในปีที่ 4-5 ประมาณทะลายละ 10 ผล ปีละ 8-10 ทะลาย

มะพร้าว
มะพร้าว มีผลโตสม่ำเสมอทั้งละลาย

โรคและแมลงศัตรูมะพร้าว

  1. โรคราแป้ง จะพบบนต้นมะพร้าวขนาดเล็กๆ
    การป้องกันกําจัด
    ฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น แคปแทน
  2. โรคผลร่วงของมะพร้าว จะระบาดในช่วงฤดูฝน เมื่อมะพร้าวเป็นโรคนี้ จะแสดงอาการผลร่วงตั้งแต่อายุ 2-10 เดือนในมะพร้าวอายุ 3-4 เดือน จะพบเส้นใยขาวบริเวณขั้วผลที่ร่วงแต่ในที่มีอายุ4-10 เดือน จะมีแผลบริเวณเปลือกที่ผลสัมผัสกัน แผลมีสีน้ำตาลอ่อน
    การป้องกันและกําจัด
    ใช้สารป้องกันและกําจัดเชื้อราได้แก่แคปตาโฟล
  3. ด้วงแรด ลักษณะการเข้าทําลาย ตัวเต็มวัยจะเจาะใบมะพร้าวบริเวณโคนทางใบที่ 2 หรือใบที่ 3 ทะลุไปถึงส่วนยอดอ่อน เจาะทําลายยอดที่ยังไม่คลี่ใบ ส่วนใบมะพร้าวที่โดนทําลาย เมื่อถึงระยะคลี่ใบใบจะขาดแหว่งเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือหากด้วงกัดกินทางใบจะทําให้ใบหักพับลงมา ต้นมะพร้าวจะชะงักการเจริญเติบโต หรือหากส่วนยอดอ่อนโดนทําลายมากอาจเกิดจากโรคเน่า นอกจากนี้รูที่ด้วงแรดเจาะไว้ จะเป็นช่องให้ด้วงงวงเข้าวางไข่และทําลายเจาะชอนไชภายในลําต้นจนตายในที่สุด
    การป้องกันและกําจัด
    ใช้สารฆ่าแมลงโมโนโครโตฟอส เช่น อโซดริน อัตรา 40 ซีซี ผสมนํ้า 20 ลิตร ราดบริเวณคอมะพร้าวในช่วงระบาดทุก 15-20 วัน ในมะพร้าวต้นสูงให้ใช้สารประเภทเดียวกันผสมน้ำฉีดเข้าลําต้น โดยใช้ส่วานเจาะรูให้เฉียง 45 องศา ในทิศทางตรงกันข้าม 2 รู รูละ 5 ซีซี ปิดรูด้วยดินหรือจุกไม่จะป้องกันด้วงแรดกัดกินคอมะพร้าวได้
  4. ด้วงงวงมะพร้าว ด้วงชนิดนี้จะทําลายมะพร้าว โดยเจาะเข้าไปในลําต้นและส่วนยอดบริเวณคอมะพร้าวโดยตัวหนอนซึ่งเกิดจากการวางไข่ของตัวแก่จะเข้ากัดกินลําต้นจนเป็นโพรงส่วนใหญ่ด้วงงวงมะพร้าวจะเข้าทำลายตามรอยของด้วงแรดมะพร้าวที่ถูกด้วงชนิดนี้ทำลายมักจะตาย
    การป้องกันกําจัด
    ใช้วิธีเดียวกับการป้องกันกําจัดด้วงแรด และบริเวณโคนต้นมะพร้าวให้ใช้นํ้ามันเครื่องหรือชันผสมน้ำมันยางทาเพื่อ ป้องกันการวางไข่
  5. แมลงจําพวกหนอน ได้แก่ หนอนร่าน หนอนบุ้งหนอนปลอก
    การป้องกันกําจัด
    ใช้สารเคมี เช่น เซฟวินหรืออโซดรินฉีดพ่นใบที่ถูกทําลาย โดยผสมน้ำในอัตรา 3-5 ช้อนแกงต่อนํ้า 20 ลิตร
  6. สัตว์ศัตรูมะพร้าว ได้แก่ หนู กระรอก ซึ่งจะกัดกินผลอ่อน
    การป้องกันและกําจัด
    – วางเหยื่อพิษบนคอมะพร้าว
    – ควรทําความสะอาดคอมะพร้าวให้สะอาดและโปร่ง
แมลงศัตรูของมะพร้าว
ด้วงงวงมะพร้าว ตัวแก่จะเข้ากัดกินลําต้นจนเป็นโพรง

การแปรรูปมะพร้าวอ่อน

การส่งมะพร้าวอ่อนไปจําหน่ายยังต่างประเทศ จะมีการส่งออกในรูปของผลสดทั้งทะลายกับผลสดปอกเปลือกส่วนที่เขียวออกตกแต่งผิวให้สวยงามแล้วผ่านขบวนการบรรจุหีบห่อ นอกจากนี้แล้วยังมี การแปรรูปมะพร้าวอ่อนในรูปแบบต่างๆ อีก คือ

  1. มะพร้าวอ่อนบรรจุพลาสติก ภายในถุงจะบรรจุทั้งเนื้อ และน้ำมะพร้าวที่ผ่านขบวนการฆ่าเชื้อแล้วด้วยความร้อน 1 ครั้ง แล้วเก็บไว้ในตู้เย็น อายุการบริโภคประมาณ 2 สัปดาห์
  2. น้ำมะพร้าวอ่อนบรรจุกระป๋อง นําน้ำมะพร้าวอ่อนมาปรุงแต่งรสและกลิ่นแล้วผ่านขบวนการฆ่าเชื้อ บรรจุกระป๋องแล้วผ่านขบวนการฆ่าเชื้อทั้งกระป๋องอีกครั้งหนึ่ง
  3. เนื้อมะพร้าวอ่อนบรรจุกระป๋อง แกะเนื้อใส่กระป๋องขนาดชิิ้นที่พอเหมาะแล้วนําไปฆ่าเชื้อด้วยความร้อน เติมด้วยน้ำเชื่อมที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วบรรจุกระป๋อง นํามาฆ่าเชื้ออีกทีหนึ่งวิธีนี้สามารถเก็บไว้ได้นาน วิธีนี้จะต้องใช้เนื้อมะพร้าวสดจํานวน 10 ผลต่อ 1 กระป๋อง
มะพร้าวอ่อน
มะพร้าวอ่อนบรรจุพลาสติก

ราคาขายมะพร้าว

ราคา ณ วันที่ 6 เมษายน 2565

  • มะพร้าวน้ำหอม ใหญ่สวย ราคาลูกละ 20 บาท / กลางสวย ราคาลูกละ 18 / เล็กสวย ราคาลูกละ 15 บาท
  • มะพร้าวเผา ใหญ่สวย ราคาลูกละ 20 บาท / กลางสวย ราคาลูกละ 17 / เล็กสวย ราคาลูกละ 14 บาท

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.simummuangmarket.com
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

Add a Comment