พืชสมุนไพร มีสารธรรมชาติออกฤทธิ์ที่สกัด บำบัดโรค

พืชสมุนไพร

ในอดีตบรรพบุรุษ ของเรามีความสนใจใช้พืชสมุนไพร เป็นอาหารและยามานานนับร้อยปี เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ จึงมีข้อมูลเป็นมรดกอันล้ำค่าตกทอดให้กับนักวิจัยสมัยใหม่ได้ค้นคว้าวิจัยกว้างไกลยิ่งขึ้น ความรู้พื้นฐานเพื่อการวิจัยพืชสมุนไพร อาจทําได้หลายแบบเพื่อเป้าหมายต่างๆ กัน ได้แก่

  1. รู้จักลักษณะสรีรวิทยาของต้นพืช ใบ ดอก เนื้อผล ราก เมล็ด อย่างครบ ทุกระบบ
  2. รู้จักการขยายพันธุ์แบบธรรมชาติและหาเทคนิคทันสมัยเพื่อเร่งขยายพันธุ์ด้วย
  3. รู้จักลักษณะพื้นที่เหมาะสมเพื่อการปลูกให้เจริญเติบโตได้ผลผลิตดีและมี คุณภาพตามต้องการ
  4. รู้จักคุณภาพทางชีวเคมีของทุกๆ ส่วนของพืชสมุนไพร ซึ่งได้แก่ การรู้ฤทธิ์ เด่นชัดของสารเป็นยาที่มีอยู่ตามธรรมชาติในพืชนั้นๆ เพราะส่วนต่างๆของ พืชอาจสะสมสารต่างชนิดกัน และควรทราบว่าสารออกฤทธิ์เป็นสารประเภท ใดเช่น มีสารเป็นยาสําหรับบําบัดอาการโรคใดฤทธิ์อ่อนแรงอย่างไร มีพิษ มากน้อยเพียงใด
  5. รู้จักวิธีปรับปรุงพืชสมุนไพรอย่างไรเพื่อ การบริโภคอย่างปลอดภัย
ว่านหางจระเข้ หางตะเข้ ว่านไฟไหม้ ไม้ล้มลุกลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น เนื้อเป็นวุ้น
ต้นว่านหางจระเข้

การใช้พืชสมุนไพรในยุคนี้ก็เพื่อประสงค์ให้ประชาชนมีไว้เสริมสุขภาพให้แข็งแรงอายุยืนนานโดยไม่มีผลข้างเคียงรวมทั้งเพื่อการผลิตเป็นสินค้าพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และทดแทนการนําเข้ายาบางชนิดที่สังเคราะห์จากสารเคมี ซึ่งประกอบด้วย ด้านกสิกรรมต้องรู้จักพืชสมุนไพรในเชิงพฤกษศาสตร์แขนงต่างๆ เพื่อการเพาะปลูกผลิตให้ได้ปริมาณมากเพียงพอในเชิงพาณิชย์นามาซึ่งอุตสาหกรรมอาหารและยา ทางด้านเภสัชกรรมต้องรู้จัก ผลิตสารออกฤทธิ์เป็นยาหรืออาหารอนามัยเสริมสุขภาพขั้นสุดท้ายการแพทย์ควรสานต่อนําไปใช้ในการบําบัดโรคด้านสาธารณสุขมูลฐานของประชาชนทั้งในชนบทและในเมือง

เท่าที่ทราบพืชสมุนไพรมีจำนวนมากนับหมื่นชนิด แต่ต่างพันธุ์อาจมีคุณสมบัติของสารธรรมชาติออกฤทธิ์เหมือนกันจึงสามารถใช้บำบัดอาการโรคเดียวกันได้ นักวิทยาศาสตร์ได้จัดพืชสมุนไพรตามชนิดสารธรรมชาติออกฤทธิ์ที่สกัดได้ รวมทั้งวิจัยค้นคว้าบําบัดโรคและนํามาใช้ได้อย่างเหมาะสม ดังการจัดหมวดหมู่ต่อไปนี้

  1. ใช้เป็นยาระบาย เช่น ผักมะขามเปรี้ยว ใบฝักมะขามแขก วุ้นว่านหางจระเข้ เนื้อเมล็ดคูณ เมล็ดชุมเห็ดเทศ ฯลฯ
  2. ใช้เป็นยาแก้ท้องอืดขับลม เช่น จุกเร่ว เหง้าขิง ไหลว่านน้ำ ใบกะเพรา โหระพา ฯลฯ
  3. ใช้เป็นยาระงับพิษภายนอก พิษแมลงกัดต่อย พิษร้อน เช่น ใบเสลดพังพอน ตัวเมียหัวหรือใบว่านมหากาฬ วุ้นว่านหางจระเข้ ฯลฯ 
  4. เป็นยาบําบัดโรคผิวหนังหรือบํารุงรักษาผิวและผม เช่น รากขมิ้นชัน วุ้นว่านหางจระเข้ ว่านนางดํา ฯลฯ
  5. ใช้ทาถูแก้บวม เช่น ไพล เอ็นเหลือง ฯลฯ
  6. ใช้บริโภคเพื่อเคลือบกระเพาะสําหรับผู้ป่วยโรคกระเพาะ เช่น บุก ฯลฯ
  7. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ เช่น หญ้าหนวดแมว รากสามสิบ ฯลฯ
  8. ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ เช่น ใบพลูจีน หัวกระเทียม น้ำมันกานพลู ฯลฯ
  9. ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย เช่น เปลือกมังคุด เนื้อผลดิบฝรั่ง ฯลฯ
  10. ใช้เป็นยาลดความดันโลหิต เช่น รากกระท่อม ฯลฯ
ขมิ้นชัน
ขมิ้นชัน เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีเหง้าจำนวนมาก

นอกจากนี้ยังมีพืชสมุนไพรที่ใช้ประโยชน์ได้อีกมาก การศึกษาค้นคว้าพืชสมุนไพร แบ่งออกได้ 2 แนวทางด้วยกัน คือ ยุคเก้านิยมในความขลังของพืชซึ่งเชื่อถือตามศาสนาและมีการทดลองใช้โดยอาศัยรูปร่างที่มีความคล้ายคลึงกับอวัยวะของมนุษย์และสัตว์ เพื่อนํามารักษาบําบัดโรคที่เกิดกับอวัยวะนั้นๆ โดยอาศัยสถิติแบบง่ายๆ บางครั้งก็เป็นการเสี่ยงแต่ไม่ได้ยึดเป็นหลักตายตัวเสมอไปซึ่งเป็นพื้นฐานการค้นคว้าวิทยาการทางแพทย์และเภสัชกรรมยุคต่อๆ มา ส่วนยุคใหม่ปัจจุบันเป็นช่วงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่มีกฎเกณฑ์ทฤษฎีพิสูจน์ความถูกต้องได้แม่นยํา ในเรื่องชนิดสารธรรมชาติในพืชนั้นๆ ปริมาณที่สกัดได้และนํามาใช้ปรุงแต่งเป็นตําหรับยาแพทย์แผนปัจจุบัน หรือนักวิจัยบางกลุ่มมุ่งไปในเรื่องสารเคมีในพืชชนิดต่างๆ เพื่อสร้างอุตสาหกรรมผลิตยาและอาหารเสริมสุขภาพจากพืชสมุนไพร

ขณะนี้สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ และอื่น ๆ กําลังผลิตสารธรรมชาติสำคัญจากพืชสมุนไพรโดยใช้เทคนิคการเพาะเนื้อเยื่อ เพื่อเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว และตัดขั้นตอนด้านการสังเคราะห์ ในอนาคตต้องใช้วิทยาการไปโอเทคโนโลยียังตามไม่ทัน คงต้องผลิตพืชสมุนไพรในรูปสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสําเร็จรูป ในระยะเริ่มวิจัยพัฒนานี้การปลูกพืชสมุนไพรจะต้องคํานึงถึงชนิดที่สนองความต้องการนําไปใช้เป็นยาบําบัดโรคนานาชนิดที่ฝ่ายแพทย์เภสัชค้นคว้าได้ผลดีแล้ว รวมทั้งส่งออกไปจําหน่ายยังต่างประเทศด้วย อุตสาหกรรมที่ใช้พืชสมุนไพรเป็นวัตถุดิบ ได้แก่

  1. อุตสาหกรรมการผลิตจากพืชเส้นใยเพื่อสุขภาพบรรเทาอาการโรคเบาหวาน ผู้ไม่อยากอ้วนเกินความจําเป็น และผู้ที่มีระบบการระบายไม่ปกติ 
  2. อุตสาหกรรมการผลิตทดแทนสารเคมีเพื่อใช้ในการป้องกันกําจัดโรคแมลง ศัตรูพืช เช่น หางไหล ว่านน้ำ ข่า สะเดา หนอนตายยาก ฯลฯ เพื่อช่วยลดมลภาวะจากสารเคมีทั้งในดินและน้ำ
  3. อุตสาหกรรมสีผสมอาหาร ยา เครื่องสําอาง
  4. อุตสาหกรรมน้ำมันปรุงยาทา ถู นวด
  5. ผลิตยาจําพวกที่ใช้ปฐมพยาบาลในชนบทห่างไกล เช่น ยาห้ามเลือด เป็นต้น
  6. ผลิตต้นอ่อนสมุนไพรพันธุ์ดีขาย เช่นเดียวกับ จีน เกาหลี ที่น้ำเงินเข้า ประเทศได้มาก
มะขามแขก
ผงใบมะขามแขก

ประเทศที่มีการวิจัยพืชสมุนไพรเพื่ออุตสาหกรรมจนเป็นที่ยอมรับทางด้านการใช้ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน อาทิเช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน อินเดีย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศล อิตาลี ไต้หวัน เกาหลีใต้ แคนนาดา รัสเซีย ฯลฯ ซึ่งได้ 3 กลุ่ม คือ ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ได้แก่ สหรัฐอเมริกามีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์สูง สุดในโลกได้ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อผลิตสารธรรมชาติอย่างแพร่หลาย สําหรับที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยได้แก่ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส ส่วนที่ไม่มีเทคโนโลยีหรือต้องซื้อเทคโนโลยีมาผลิตซึ่งมีไทยรวมอยู่ด้วย

โดยมีบริษัทข้ามชาติเข้ามาดําเนินการค้ายาแผนปัจจุบันที่ผลิตจากพืชหลายชนิด เช่น บริษัททาเคดะก็มีสวนพืชสมุนไพรอยู่ที่เกาะคิวชิวด้วย บริษัทนัทเตอร์มานของเยอรมันมีสํานักงานตัวแทนอยู่ที่ลพบุรี รับซื้อใบและฝักมะขามแขกเพื่อใช้ผลิตยาระบายรวมทั้งรับซื้อเมล็ดและเหง้าดองดึงด้วย บริษัทไทยซังเงียวของญี่ปุ่นมาปลูกและรับซื้อเปล้าน้อยที่ประจวบคีรีขันธ์เพื่อส่งออกไปผลิตยารักษาโรคแผลในกระเพาะมีผู้รายงานว่า ญี่ปุ่นได้สะสมพันธุ์พืชของไทยไว้แล้วมากกว่า 600 ชนิด ขณะนี้นักวิจัยทางการแพทย์ในประเทศดังกล่าวข้างต้นต่างกําลังค้นคว้าวัชพืชที่ขึ้นในเรือกสวนไร่นาทางแถบเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือและอัฟริกา สำหรับใช้ป้องกันบําบัดโรคมะเร็งและโรคเอดส์ ดังนั้น เปล้าน้อยพืชพื้นบ้านของเราเป็นบทเรียนที่มีค่ายิ่งที่ญี่ปุ่นไปจดทะเบียนสิทธิบัตรนานแล้ว นักวิจัยไทยพบว่า เมล็ดมะระขี้นก ของเราสามารถบรรเทาอาการโรคเอดส์ทําให้ผู้ป่วยเจริญอาหารสุขภาพดีมีชีวิตยืนนานขึ้น ทางราชการควรจะได้รีบเร่งพิจารณาจดสิทธิบัตรด่วนเพื่อป้องกันต่างชาติเอาไปอีก นอกจากนี้นักวิจัยน่าจะได้เฝ้าระวังติดตามตรวจสอบการวิจัย พืชสมุนไพรและวัชพืชที่มีอยู่ในต่างประเทศเพื่อ ประโยชน์ของประเทศชาติด้วย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment