เคล็ดลับการปลูกผักสวนครัวและปลอดภัยจากสารเคมี

พืชผักสวนครัว

การปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคต้องยึดหลัก 4 ประการ คือ ใช้พื้นที่ปลูกให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ต้องปลูกผักให้ได้มากชนิดที่สุดเพื่อจะมีผักไว้บริโภคหลายๆ อย่าง ต้องเลือกชนิดผักที่ชอบบริโภคสามารถรับประทานได้ทุกวันมีคุณค่าทางอาหารแมลงไม่ชอบ และปลอดภัยจากสารเคมี

วิธีเลือกผักในบ้านให้ได้ผลดีต้องเลือกพันธุ์ที่ปลูกง่ายไม่ยุ่งยากจนเกินไป และใช้บริโภคในครัวเรือนเป็นประจํา เช่นกวางตุ้ง ผักกาดเขียว ผักชี ผักบุ้ง กระเพรา เป็นต้น ปลูกได้ตลอดทั้งปีอายุการเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่าง 35-55 วัน หรือเรียกว่าผักอายุสั้น สภาพแสงเงาที่ผักแต่ละชนิดต้องการไม่เท่ากันโดยแบ่งความต้องการออกได้เป็น 2 ประเภท คือผักที่ไม่ต้องการแสงแดดตลอดทั้งวัน แปลงปลูกประเภทนี้ควรปลูกผักที่สามารถเจริญเติบโตในร่มได้ เช่น ชะพลู สะระแหน่ ตะไคร้ ขิง ข่า กะเพรา เป็นต้น ประเภทที่ต้องการแสงตลอดวัน ผักที่ควรปลูกได้แก่ ถั่วฝักยาว คะน้า ผักกาดเขียว กวางตุ้ง พริกต่างๆ การปลูกผักนั้นควรมีความพิถีพิถันในการดูแล ในการปลูกผักสวนครัวผู้ปลูกควรมีเวลาดูแลวันละ 2-3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับเนื้อที่ปลูก สําหรับผู้ที่เริ่มปลูกผักสวนครัวนั้น อาจต้องมีการวางแผนกันเล็กน้อยก่อน เริ่มลงมือปลูก ทั้งนี้เพื่อขจัดปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น และทําให้การปลูกผักสวนครัวไม่ลุล่วงไปด้วยดี จึงขอนําเสนอเคล็ดลับในการปลูกผักสวนครัวเพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นสําหรับผู้ที่จะหันมาปลูกผักสวนครัวในที่พักอาศัย 

การเก็บถั่วฝักยาว
การเก็บถั่วฝักยาว ให้ปลิดขั้ว ระวังไม่ให้ดอกใหม่หลุดเสียหาย

ขั้นตอนการเลือกผักที่จะปลูก

ขั้นเตรียมการเลือกผักที่จะปลูก ควรเลือกผักที่ใช้บ่อย โดยเลือกปลูกทั้งพืชยืนต้น และพืชล้มลุก พืชยืนต้นที่น่าปลูกได้แก่ แค มะกรูด มะนาว โหระพา กะเพรา แมงลัก ข่า ตระไคร้ พริก และมะเขือ ซึ่งพืชพวกนี้ปลูกง่ายเก็บผลได้นาน ส่วนพืชล้มลุก ควรเลือกที่สมาชิกในบ้านชอบในการวางแผนปลูกนั้นต้องเลือกทยอยปลูก จะประหยัดเวลาในการดูแลรักษา ประหยัดน้ำและปุ๋ยด้วย ส่วนปุ๋ยนั้น สามารถทําเองได้ในบ้านโดยนําเอาเศษผัก เปลือกผลไม้ เศษหญ้า เปลือกไข่มากองรวมกัน รดนํ้า 7-10 วันต่อครั้ง อีก 3-4 เดือน ก็จะผุเปื่อยกลายเป็นปุ๋ยนํามาใช้กับ แปลงผักสวนครัวในบ้านได้ ปุ๋ยคอกที่ขายตามร้านต้นไม้มีราคาค่อนข้างแพง แต่ก็หาซื้อได้สะดวก แต่ถ้ามีเวลา ขอแนะนําให้ไปเลือกซื้อแถบชานเมืองของกรุงเทพ เช่น ปทุมธานี นครปฐม เป็นต้น ผู้ที่อยู่ใจต่างจังหวัดจะได้เปรียบในเรื่องนี้เพราะสามารถหาซื้อปุ๋ยคอกได้ง่าย ส่วนแกลงนั้น หาซื้อได้จากโรงสี ถ้าไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหนก็ถามร้านขายต้นไม้ดูก็ได้ หรือใช้วัสดุที่มีภายในบ้านทําปุ๋ยเองก็ได้ ซึ่งจะเป็นการประหยัดอีกวิธีหนึ่งด้วย

ผลมะนาวสุก
ผลมะนาวสุก ผลมีสีเหลืองหรือสีทอง

การเตรียมแปลงผัก

สิ่งที่ต้องคํานึงถึงอย่างมากก็คือ ควรเลือกปลูกใกลเสถานที่อยู่อาศัยดินดีหรือควรมีการปรับปรุงดิน ก่อนเช่นการใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ย คอกก่อน แปลงผักควรตากแดด อย่างน้อยครึ่งวัน ถ้าปลูกผักติดกันหลายๆ แปลงต้องให้แปลงผัก ขนาดไปกับทิศตะวันตกและตะวันออก เลือกปลูกผักที่มีความสูง ตําแตกต่างกันไว้ในแปลง ใกล้กันเพื่อ จะได้ไม่บังแดดกัน ช่วยใน การสะสมอาหารและป้องกันโรค

การเตรียมแปลงเพราะปลูกนั้น ต้องมีการขุดดินขึ้นมาตากแดดไว้ 7-5 วัน ใส่ปุ๋ยเพื่อปรับสภาพดิน ยกหน้าดินให้สูงจากพื้นทางเดิน 10 ซม. แต่งหน้าดินให้เรียบการหว่านเมล็ดพันธุ์ทำได้ 2 วิธีคือ วิธีการหว่านเมล็ดพันผักนั้นควรหว่านให้สม่ำเสมอ อย่าให้แน่นเกินไป จะทําให้ติดโรคได้ง่ายแล้วหว่านดินกลบ ใช้จอบตีร่องให้เป็นแถวตามความกว้างหรือความยาวของแปลงเพาะกล้าก็ได้ ให้แต่ละแถวมีระยะห่างกัน 1 คืบ โรยเมล็ดด้วยดินแล้ว ควรใช้แกลบหรือฟางแห้งคลุมดินเพื่อ รักษาความชื้น และป้องกันการเคลื่อนย้ายของเมล็ดพันธุ์ผัก และกล้าอันเนื่องจาการรดน้ำ และต้นกล้าไม่บอบชําหรือสูญเสียการงอก

ส่วนการเพาะในกระบะเป็นวิธีที่สะดวก สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายที่หมาะสมสําหรับการปลูก ผักสวนครัวควรมีขนาด 30*50*10 ซม. ทําจากไม่หรือวัสดุใดก็ได้ตามแต่สะดวก ดินที่ใส่ควรอัตราผสมระหว่างทราย ปุ๋ยหมัก ดินละเอียดอย่างละเท่าๆ กัน และทําเป็นร่องเล็กๆ ห่างกันประมาณ 3-4ซม. ความลึกของร่องประมาณ 1 ซม. และโรยเมล็ดพันธุ์ที่จะปลูกลงไป กลบด้วยดินบางๆ ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์คลุมปิดหน้ากระบะไว้เพื่อรักษาความชื้นประมาณ 7-10 วัน เมล็ดจะงอกดันกระดาษหนังสือพิมพ์จึงเปิดกระดาษหนังสือพิมพ์ออก

เมล็ดพันธุ์ผัก

มีทั้งที่ต้องซื้อและไม่ต้องซื้อ ที่ต้องซื้อได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดต่างๆ เป็นต้นควรเลือกซื้อจากร้าน ที่ไว้ใจได้เมล็ดพันธุ์ไม่วางตากแดด เมล็ดที่เหลือจากการปลูกให้เก็บใส่กระป๋องหรือขวดปิดฝาให้แน่นวางไว้ในที่เย็นอย่าตากแดดกรือวางใกล้ไอร้อนถ้าเก็บไว้ในตู้เย็นจะดีมาก ประเภทที่ไม่ต้องซือ มี 2 ประเภทคือพวกกิ่งก้าน เช่น ตระไคร้ ผักบุ้ง กะเพรา เป็นต้น โคนกิ่งที่ใช้มีดคมๆ ตัดโคนทิ้งเล็กน้อยทิ้งให้แผลแห้งแล้วจึงนําลงปลูกเอนๆ โดยเอาไม่เล็กๆ แทงดินนําก่อนอย่าเอาก้านผักแทงโดยตรงและผักประเภทผล แกะเอาเมล็ดปลูกได้เลย เช่น พริก มะเขือ ส่วนถั่ว มะเขือ เอาผลแก่ๆ ตากแดด เอาผึ่ง ไว้ในร่ม 7-8 วันแล้วแกะ เมล็ดไปปลูก

ปัญหา ที่ผู้ปลูกผักสวนครัวอาจต้องเจอคือ การเพาะเมล็ดแล้วงอกไม่ค่อยดี ทั้งนี้อาจมาจาก หลายสาเหตุดังนี้ คือ เมล็ดพันธุ์ซื้อมาจากร้านค้าเป็นเมล็ดพันธุ์ที่เก่าเกินไป เหลือค้างหรือตากแดดเก็บในที่ร้อน หรือกระทบร้อนกระทบเย็นบ่อยๆ ควรเลือกจากร้านที่ไว้ใจได้หรือร้านที่มีลูกค้ามาก เนื่องจากจะได้เมล็ดพันธุ์ที่ค่อนข้างใหม่ และสังเกตที่ซองหรือกระป๋องไม้ควรเก่าเป็นสนิม หรือซองเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือฉีกขาด เมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ๆ จะมีกำกับการตรวจสอบเปอร์เซ็นต์การงอก และความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ จากพระราชบัญญัติเมล็ดพันธุ์เพื่อควบคุมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีแต่ผู้ปลูกขาดประสบการณ์ เนื่องจากบางพันธุ์ มีระยะพักตัว เช่นเมล็ดแตงกวา ถ้าเพาะทันที มักจะพบเปอร์เซ็นต์การงอกตํ่า ถ้าเก็บไว้ระยะหนึ่ง เปอร์เซ็นต์การงอกจะเพิ่มขึ้น บางชนิดมี เปลือกหุ้ม หนาหรือแข็งถ้าเพาะธรรมดาจะใช้เวลานาน แต่ถ้าแช่น้ำอุ่นไว้ก็จะมีส่วนช่วยกระตุ้นการงอกของเมล็ดได้ไวขึ้น และสามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ บางครั้งการห่อเมล็ดไว้ในผ้าที่ชื้นประมาณ 2-3 วัน โดยให้เมล็ดเริ่มงอกรากอ่อนก่อน แล้วจึงนําไปหว่านลงในแปลงเพาะกล้าด้วยการนําเมล็ดมาห่อใส่ผ้าไว้แล้วนําไปแช่ในน้ำธรรมดานานประมาณ 3 ชั่วโมง แล้วนําออกจากห่อผ้าวางไว้ในทีร่ม คอยพรมนํ้าให้ชื้นทุกวันนาน 2 วัน เมื่องอกจึงหว่านในแปลงเพาะกล้าเมล็ดที่เพาะแบบนํ้างอกได้ไว้ประมาณ4-5 วันเพื่อให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวลงเมื่อนำไปหว่านลงแปลงเพาะเมล็ดจึงสามารถดูดนํ้าและความชื้น ในดินได้ง่าย ทําให้เมล็ดงอกได้ไวขึ้น แมลงในดินรบกวน ถ้าแปลงปลูกเป็นแหล่งสะสมของไข่แมลงหรือแมลงในดินมาก ทําให้เมล็ดพันธุ์ถูกแมลงในดินคาบไป หรือเมื่อยังงอกยังไม่พ้นดินก็ถูกแมลงในดินทําลาย ดังนั้นจึงมีการเน้นให้ขุดดินในแปลงปลูกขึ้นมาผึ่งแดดประมาณ 7-15 วันรวมทั้งอาจต้องมีการคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยยาฆ่าแมลงเป็นการป้องกัน

วิธีการปฏิบัติดูแลไม่ถูกต้อง มีหลายสาเหตุ เช่น วิธีการหยอดเมล็ดถ้าหยอดลึกเกินไป หรือมีดินทับเกิน 2 ซม. ต้นกล้าอ่อนมักโผล่ไม่พ้นดิน เน่าตายอยู่ในดินเสียก่อนวิธีการลดนําควรใช้ฝักบักหัวฝอยที่สุดถ้าแรงเกินไปเมล็ดพันธุ์จะกระเด็นออกจากแปลงหรือหล่นเข้าไปติดอยู่ในซอกลึกๆ หรือการลดนํ้าในช่วงที่อากาศร้อนจัดก็ไม่เป็นผลดีนักกับผักสวนครัวควรดูแลอย่างใช้ความเข้าใจ

เมล็ดพันธุ์พืช
เมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ

การเพาะกล้า

เมล็ดพันธุ์ผักมักจะมีเชื้อโรคติดอยู่ด้วยจึงควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่นจัดขนาด มือทนได้อย่างน้อย 2 นาที ผึ่งหมาดแล้วจึงนําไปเพาะกล้าแล้วย้ายปลูกได้ ยกเว้น ผักชี ผักบุ้งและผักกินหัวต่าง ๆ ควรเพาะในถุงและทยอยปลูก ทําให้ต้นกล้าไม่ชะงักการเจริญเติบโตในสภาพดินที่มีความชื้นสูงหรือการปลูกหน้าฝน การพักกล้า อาจจะไม่จำเป็นแต่ไนช่วงฤดูแล้งการพักกล้าทําให้เปอร์เซ็นต์การตายน้อยและประหยัดแรงงานและวัสดุ การพักต้นกล้าทําได้โดยนํากระทงเพาะกล้าใส่ดิน แล้วนําต้นกล้าย้ายลงไปในกระทงวางไว้ในร่มประมาณ 7-10 วัน เมื่อ ต้นกล้าตั้งตัวได้แล้ว ก่อนย้ายปลูกให้นําออกจากร่มประมาณ 3 วัน จึงย้ายปลูก เทคนิคการย้ายปลูกนัน้ มีหลักปฏิบัติคือกล้าควรมีใบจริง 3-5 ใบควรย้ายปลูกในเวลาเย็นแดดอ่อน สําหรับกล้าที่รวมกันในกระบะหรือแปลงเพาะก่อนย้ายควรลดนํ้าต้นกล้าเสียก่อน ส่วนกล้าที่เพาะในกระทงหรือถุงต้องงดการรดน้ำ 1 วัน ในการย้ายควรจับเบาๆ เอาไม่บางๆ แงะให้ดินติดรากไปด้วยมากๆ ถอนแล้วควรรีบปลูกทันที เลือกปลูกแต่ต้นที่แข็งแรง ลําต้นตรงใบสมบูรณ์ ยอดไม้ห้อยเวลาปลูกควรตั้งต้นให้ตรง และกดดินรอบโคนให้แน่นพอสมควร เมื่อปลูกกล้าเสร็จแล้วให้รีบ รดน้ำทันที

การเพาะเมล็ด
การเพาะเมล็ด การเพาะเมล็ดก่อนย้ายต้นกล้า

การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ย ที่จําเป็นได้แก่ ปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอก ต้องใส่ทุกครั้งก่อนการปลูกพืช เรียกว่าปุ๋ยรองก้นหลุม หรือปุ๋ยรองพื้น นับว่ามีความสําคัญมากในการปรับสภาพทางกายภาพของดินเพื่อให้ดินโปร่ง ระบายนํ้าได้ดี และปรับความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยและช่วยให้ดินอุ้มน้ำรักษาความชื้นหรืออาจใช้ปุ๋ยหมักด้วย ส่วนปุ๋ยเคมีนั้นใส่เสริมเล็กน้อย ตอนปลูก เพื่อเร่งใบ เร่งใบดอกเท่านั้น โดยมีสูตรว่าผักที่กินผลต้องใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ส่วนผักกินใบนั้นใช้ปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมซัลเฟตมาใส่ การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์นั้น ก่อนปลูกใส่ไว้ที่ก้นหลุม 1 ช้อนกาแฟ คลุกให้เข้ากับดินกลบดินทับหนา 2 นิ้ว แล้วจึงเอากล้าหรือเมล็ดลงปลูก แล้วใส่ปุ๋ยเสริมทุก 15 วัน โดยใช้ปุ๋ย 1 ช้อนกาแฟโรยบางๆ ราบต้นให้ห่างจากต้นอย่างน้อย 1 ฝ่ามือ ส่วนผักต้นใหญ่ เช่น พริก มะเขือ เมื่อโตแล้วต้องใส้ปุ๋ยห่างจากต้นไม้น้อยกว่า 1 คืบ พรวนดินกลบแล้วรดน้ำตามสูตรและอัตราการใส่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นยอุ่กับชนิดของดินแต่ละแห่ง ในพืชกินใบบางชนิดที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้น เช่น ผักกาดหอม หอมแห้ง ผักบุ้งจีน ผักชี เป็นต้น หากปลูกในแปลงเล็กๆ อาจใช้ปุ๋ย แอมโมเนียซัลเฟตอัตรา100 กรัม หรือใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 50 กรัมต่อเนื้อที่ปลูก 1 ตารางเมตร ผสมปุ๋ยคอก 2-3 กิโลกรัม เมื่ออายุ 7-10 วันและ 22-30 วัน

การดูแลรักษา

นอกจากการรดนําพรวนดินและใส่ปุ๋ย ตามปกติแล้วจะต้องตรวจผักในสวนครัวอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง แต่ใบที่แก่เกินไปหรือเป็นสีเหลืองออก ถ้าพบแมลงหรือไข่หนอนให้จับและทําลาย ในแปลงพืชที่มีดอกตัวผู้และตัวเมียคนละดอกกัน เช่น แตงกวา บวบ ฟักทอง มะระ เป็นต้น ถ้าไม่ติดลูกให้เด็ดดอกตัวผู้ที่เพิ่งบานมาครอบดอกตัวเมียที่เพิ่งบานและเคาะเบาๆ ให้ละอองเกสรหล่นบนดอกตัวเมีย จะทําให้ติดผลดีขึ้นดอกตัวผู้ 1 ดอก สามารถครอบดอกตัวเมียได้ 4-5 ดอก นับได้ว่าการปลูกพืชผักนั้น ต้องการการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้การกําจัดโรคและแมลงนับได้ว่าเป็นเรื่องสําคัญอย่างมาก โดยเฉพาะผักบางชนิดนั้นแมลงชอบมากเป็นพิเศษ เช่น ผักกาดขาว กวางตุ้ง เป็นต้น สามารถใช้วิธีการปลูกผักที่แมลงไม่ชอบล้อมรอบหรือเป็นผักกันชนอย่างไรก็ตามการกําจัดโรคและแมลงศรัตรูพืชสําหรับผักสวนครัวนั้นเน้นวิธีธรรมชาติคือ การปฏิบัติดูแลให้ผักที่ปลูกแข็งแรง เพื่อได้มีความต้านทานโรค ส่วนการกําจัดแมลงศัตรูเน้นการใช้มือจับทําลาย ถ้ามีการระบาดมากก็ใช้สารธรรมชาติ เช่น สะเดา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ผักที่ปลูกนั้นปลอดสารเคมีอย่างแท้จริง

สะเดา
เป็นพืชที่นิยมนํามาใช้สกัดเป็นสารควบคุมโรคและแมลง เนื่องจากสะเดามีสารอะซาดิ แรคติน ซึ่งช่วยในการป้องกันกําจัดแมลงโดยสามารถฆ่าและไล่แมลงบางชนิดได้ ทําให้แมลงไม่กินอาหารและทําให้การเจริญเติบโตของแมลงบางชนิดได้ ทําให้แมลงไม่กิน อาหารและทําให้การเจริญเติบโตของแมลงผิดปกติ ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง ยับยัง้ การวางไข่ของแมลง และการลอกคราบเป็น

พิษต่อไข่ของแมลง ทําให้ไข่ไม่ฟัก และยับยั้ง การสร้างเอนไซม์ในระบบย่อยอาหารของแมลง วิธีการใช้ คือ ให้นําผลสะเดาแช่ในน้ำ 20 ลิตร ทิ้งค้างไว้ 1 คืน จากนั้น กรองเอาแต่น้ำมาผสมด้วยสารจับใบ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วนําไปรดผักทันที ส่วนกากสะเดาที่เหลือให้นําไปโรยโคนต้นเพื่อ ปรับปรุงสภาพดินและกําจัดแมลงในดินด้วยแต่อาจมีผลกระทบทําให้อาการใบไหม้เหี่ยวย่น แคระแกรนเมื่อ พบอาการดังกล่าวควรงดใช้สารสะกัดสะเดาทันที พืชผักที่ควรใช้สารสะเดาคือ ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักกาดหอม กะหลํ่าปลี กะหลํ่าดอก แตงกวา มะเขือเทศ พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้น แปลงปลูก เมื่อทราบการระบาดของแมลงและศัตรูพืช รีบทำการป้องกันกำจัด ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมได้อาจใช้สารเคมีในการควบคุมแมลงศัตรูพืช โดยขอให้พิจารณาว่าเป็นสารเคมีที่เหมาะสมกับการกําจัดแมลงศัตรูพืชนั้นๆ สามารถสลายตัวเร็ว โดยใช้ในอัตราที่เหมาะสมกับคําแนะนํา และเว้นระยะการใชก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตตามคําแนะนํา ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย หรือมีสารเคมีตกค้างในพืชผัก เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค

การทำสารสกัดจากสะเดา
การทำสารสกัดจากสะเดา

การเก็บผัก

การเก็บผัก ผักประเภทกินผลต่างๆ เช่น พริก ถั่ว มะเขือ ควรเก็บขณะยังไม่แก่จัดและเก็บ ติดขั้วด้วย ส่วนผักกินใบ เช่น ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า ต้องตัดให้ใบติดที่ต้น 2-3 ใบ และดูแลรักษาต่อไปผักจะแตกยอดใหม่ ให้เก็บกินได้อีกหลายครั้ง เคล็ดลับการเก็บผักสดเพื่อ นํามาประกอบอาการนั้น คือสดน่ารับประทานมีรสชาดเหมือนเดิม และมีสารอาหาร เกลือแร่ วิตามินครบถ้วนเพียงแต่พิถีพิถันในการเก็บการปรุงโดยการเก็บผักสดให้ได้คุณค่าทางอาหารสูงนั้นควรเป็นผักที่อ่อนและสดไม่ควรเก็บผักที่แก่เกินไป หรือเริ่มเหี่ยว นอกจากนี้ผักต้องไม่ช้ำและขั้ว ตอนในการล้างก็ควรทําอย่างระมัดระวังข้อแนะนําคือมีดที่หั่นผักมีความคม หากเป็นผักที่มียางควรใช้มีดสแตนเลสจะช่วยไม่ให้ผักดําหรืออาจใช้นาผสม

นํ้ามะนาวเจือจาง ในการล้างผักประเภทนี้จะช่วยให้ผักขาวน่ารับประทาน ในการล้างผักควรล้างท้งต้นหรือผล ไม่ควรหั่น ตัด หรือปอกก่อน เพราะจะทําให้แร่ธาตุ วิตามินหลุดไปกับนําได้

การเก็บผลผลิต
การเก็บผัก เก็บผลผลิต

การเก็บพันธุ์เอง

ผักบางชนิดสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ได้เอง โดยเลือกเก็บจากต้นที่สมบูรณ์ ผลดก รสดี ไม่มีโรคล้างเมล็ดพันธุ์ให้สะอาดแล้วตากให้แห้งสนิทซึ่งควรตากประมาณ 3-4แดดอย่าตากในถาดอลูมิเนียมเพราะร้อนจัดเกินไป เมล็ดจะไม่งอก ระหว่างที่ตากอาจมีมอดมาวางไข่จะมีสีขาวจุดเล็ก ๆ ซึ่ง ฟักตัวกลายเป็นหนอนภายใน 24 ชั่วโมง หนอนจะเจาะกินเข้าไปในเมล็ด ดังนั้นหลังจากการตากให้แห้งสนิทแล้วควรคลุกด้วยสารกันแมลง ก่อนนําไปเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด หรือถุงพลาสติกที่ปิดปากแน่นแล้วจึงนําไปเก็บในที่เย็นและมีอากาศแห้งต่อไป

การปลูกผักในครั้งต่อไป

การปลูกผักในครั้งต่อ ๆ ไป ในการปลูกผักในครั้งต่อๆ ไป ให้ปลูกให้เหมาะสมกับความ ต้องการของครอบครัว โดยใช้ประสบการณ์จากการปลูกครั้งแรกควรปลูกผักติดต่อกันตลอดทั้งปีอย่าให้แปลงว่าโดยเฉพาะในฤดูร้อนและฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่มีผักมีราคาแพง ทําให้ประหยัดได้มาก ปัจจุบันได้มีการจัดโครงการส่งเสริมการพึ่งตนเองเพื่อให้เกษตรกรและประชาชนได้ปลูก พืชผักสวนครัวรั้วกินได้

สำหรับการบริโภคผักในครัวเรือนและการลดค่าใช้จ่ายอีกทางหนึ่งด้วยซึ่งความหมายของผักสวนครัวรั้วกินได้ คือผักที่ปลูก เพื่อบริโภคในครัวเรือน แบ่งเป็น กลุ่มพืชผัก เช่น กล้วย กลุ่มพืชผักและสมุนไพรที่ใช้เป็นเครื่องครัว เช่น พริกขี้หนู กลุ่มพืชผักที่ใช้รับประทานสดหรือใช้ประกอบอาหารประจําวัน เช่น ฟักทอง และกลุ่มพืชผักที่เป็นรั้วกินได้หรือปลูกบริเวณบ้านทั่วไปส่วนใหญ่เป็นผักพื้นบ้าน เช่น ผักหวาน

สําหรับข้อแนะนําในการปลูกและดูแลรักษาโดยจําแนกตามกลุ่ม ของพืชผักสวนครัวทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางคร่าวๆ ในการเริ่ม ต้นปลูก สําหรับผู้ปลูกผักสวนครัวมือใหม่โดยการจัดแบ่งพืชผักสวนครัวเป็นกลุ่มๆ นี้ ทําให้เห็นว่าหลักการปฏิบัติในการปลูกและการดูแลรักษาของพืชสวนครัวใน กลุ่มเดียวกันจะคล้ายๆ กัน นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ในการจัดแปลงพืชสวนครัวด้วย โดยถ้ามีการวางแผนจัดพืชผักสวนครัวในกลุ่มเดียวกันไว้ใกล้กัน จัดแปลงพืชผักสวนครัวด้วย โดยถ้ามีการวางแผนจัดพืชผักสวนครัวในกลุ่มเดียวกันไว้ใกล้กัน จะทําให้การดูแลนั้นง่ายขึ้นด้วย

กลุ่มตระกลูแตง ถั่วแดง

เตรียมดินตากแดดทิ้งไว้ 7-15 วัน ย้อยดินให้ร่วนซุยรดนํ้าทุกวันล่วงหน้าก่อนปลูก 3 วัน ขุดหลุมกว้าง 20 ซม. ลึก 10 ซม. ใส่ปุ๋ย คอกหลุมละ 1 กํามือ ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หลุมละ 2 ช้อนกาแฟคลุกเคล้าให้ทั่วกลบหลุม หยอดเมล็ดบนผิวดินของหลุมที่กลบไว้ 5-7 เมล็ดกดเมล็ดให้จมดินลึกประมาณ 2-4 ซม. ปิดด้วยฟางหรือแกลบเมื่อกล้างอกมีใบอ่อนประมาณ 6-7 ใบเลือกกล้าต้นที่สมบูรณ์ที่สุดไว้หลุมละ 3 ต้นดูแลรดนําและกำจัดวัชพืชดดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยอีกจนกว่าจะเก็บเกี่ยวกลุ่มพืชบางชนิดต้องปักค้างควรปักหลังจากการหยอดเมล็ดแลัว

กลุ่มผักกาด กะหล่ำ

เตรียมดินเช่นเดียวกับพืชกลุ่ม แตงหรือขุดดินตากแดดทิ้งไว้ 7-15 วัน ใส่ปุ๋ยคอกตารางเมตรละ 2 กิโลกรัมปุ๋ยเคมีสูตรเสมอตารางเมตรละ 10 ช้อนกาแฟคลุกเคล้าให้เข้ากันผักกลุ่มนี้มีวิธีการปลูก 2 วิธี คือการหยอดหลุมเนื่องจากผักกลุ่มนี้มีปัญหาในเรื่องการย้ายปลูกจะชะงัก

การเจริญเติบโตและมีอัตราการตายสูงมาก และสําหรับผักกาดหัว การย้ายปลูกในระยะต้นกล้าจะทําให้เกิดปัญหามีหลายหัวในต้นเดียวใช้ไม่กดหลุมประมาณ 0.5 ซม. หยอดเมล็ดหลุมละ 5-7 เมล็ดกลบดินบาง ๆ เอาฟางหรือแกลบกลบทับอีกชั้นหนึ่งรดนํ้าด้วยฝักบัวตาถี่ภายใน 3 วัน จะเกิดใบเลี้ยงเมื่อเกิดใบจริง 2-3 ใบให้แยกเลือกต้นอ่อนแอออกเหลือหลุมละ 2 ต้น เมื่อมีใบจริง 5 ใบ ถอนแยกเหลือหลุมละ 1 ต้น การเพาะและกล้าทนทานต่อการย้ายปลูกควรทําการเพาะต้นกล้าก่อนเมื่อกล้ามีอายุ 25-30 วัน จึงย้ายลงแปลงปลูก

แปลงกะหล่ำปลี
แปลงปลูกกะหล่ำปลี

กลุ่มพริก มะเขือ

เพาะกล้าในภาชนะที่โปร่ง เครื่องปลูกประกอบด้วยดินร่วน ปุ๋ยหมัก ขี้เถ้า แกลบอย่างละ 1 ส่วน เกลี่ยเครื่องปลูกให้เรียบ หยอดเมล็ดให้กระจายทั่วกัน กลบด้วยเครื่องปลูกหนา 0.5 ซม. รดนํ้าเมื่อกล้ามีใบจริง 2 ใบ ย้ายลงปลูกที่เตรียมไว้

กลุ่มหอม สะระแหน่

เตรียมดินโปร่ง ลึก 20 ซม. ใส่ปุ๋ยเช่นเดียวกับพวกแตง ให้น้ำล่วงหน้าก่อนปลูกประมาณ 3 วัน กลุ่ม หอมต่างๆ ให้หัวที่มีการพักตัวดีแล้วประมาณ 4 เดือนหลังการเก็บเกี่ยวนํามาตัดรากแห้งออก แยกเป็นหัวเดี่ยวๆ ฝังลงในดินให้ปลายหัวเสมอผิวดิน ปิดฝาหนาประมาณ1 ซม. เมื่องอก 15 วันหวานปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต ตารางเมตรละ 15 กรัมระวังวัชพืช อย่าใหดินแห้งควรให้น้ำวันละครั้ง กุยช่าย ปลูกด้วยเมล็ดเพาะกล้า 45-60 วัน ย้ายลงแปลงปลูกอีก 60 วัน จึงเก็บดอกหรือใบรับประทานได้ สะระแหน่ ใช้ยอดปักชําโดยตัดยอดที่มีความยาวประมาณ 3 ซม. ปักชําระยะ 10*10 ซม. พรางแสง 15-20 วัน จึงเก็บรับประทานได้ กระเทียมหัว ปลูกด้วยหัวแก่จัดอายุ 4-5 เดือน เหมาะที่สุดช่วงเดือน ตุลาคม ถึง ธันวาคม

สะระแหน่
สะระแหน่ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย

กลุ่มขิง ข่า

ขั้นตอนที่สำคัญคือ การเตรียมดินให้ร่วนซุย โปร่งลึกประมาณ 25-30 ซม.หว่านปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี 15-15-15 ประมาณ 50 กรัม ต่อตารางเมตร คลุกให้เข้ากัน คัดเป็นท่อนยาว 1 นิว้ เอาปูนแดงทาให้แผลแห้ง นําปลูกโดยให้มีส่วนของต้น หรือใช้เหง้าแก่มาชําในทราย กระชาย แบ่งหัวโดยให้มีส่วนของต้น หรือใช้เหง้าแก่มาชําในทราย กระชายควรตัดรากก่อนปลูกเมื่อแทงยอด แตกใบอ่อน 2-3 ใบจึงย้ายลงแปลงปลูก

ต้นขิง
ต้นขิง แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน

 

เหง้าขิง
เหง้าขิง หรือ หัวขิง

กลุ่มผักชี ผักบุ้ง ขึ้นฉ่าย

เตรียมดินให้ร่วนซุยใส่ปุ๋ยคอก 2-4 กิโลกรัม ปุ๋ยเคมี 15-15- 15 จํานวน 90 กรัมต่อตารางเมตร หยอดเมล็ดผักชีและผักบุ้งจีนในรองกลบดินทับหนาประมาณ 0.5– 1 ซม. ส่วนการปลูกขึ้นฉ่ายไม่ต้องกลบดินจนกระทั้งเก็บเกี่ยว

กลุ่มโหระพา กะเพรา แมงลักและผักชีฝรั่ง

เตรียมดินเช่น เดียวกับการปลูกผักทั่วไปหว่านเมล็ดให้ทั่วใช้ฟางกลบหรือใช้ปุ๋ยคอกโรยบางๆ ให้ทั่ว รดนํ้าตามด้วยบัวลดน้ำตาถี่เมล็ดจะงอกภายใน 7 วันเมื่อกล้าอายุ 1 เดือน ถอนแยกจัดระยะให้โปร่ง ระยะระหว่างต้นประมาณ 20-30 ซม. ระหว่างเจริญเติบโตนั้นให้หมั่นเด็ดดอกทิ้ง ทั้งนี้เพื่อให้ลำต้นและใบเจริญได้ อย่างเต็มที่ การเก็บเกี่ยวโหระพา กะเพรา และแมงลัก ทําได้หลังจากเมล็ดงอก 45-50 วัน ส่วนผักชีฝรั่ง เก็บเกี่ยวได้หลังจากหยอดเมล็ดประมาณ 60 วัน

โหระพา
โหระพา ใบใช้แต่งกลิ่นอาหาร

กลุ่มพืชผักชนิดอื่นๆ

กลุ่มที่น่าสนใจคือ ชะพลู บัวบก และผักหวานบ้าน สําหรับชะพลูใช้กิ่งยาว 25 ซม. ริดใบออกเหลือใบยอดสุดไว้ 1-2 ใบ ฝังกิ่ง ตามแนวนอนให้ส่วนยอดโผล่พ้นดิน ประมาณ 10 ซม. กิ่งจะออกเป็นรากและต้นภายใน 1 เดือน ระยะต้น 30 ซม. ระยะแถว 50 ซม. สามารถเก็บใบรับประทานได้ตลอดทั้งปีควรปลูกในพื้นที่ที่มีร่มเงามากๆ ในใบบัวบกใช้ต้น ขนาดเล็กที่มีรากเพียงเล็กน้อย ปลูกโดยฝังส่วนโคนต้นลึกจากผิวดินประมาณ 15 ซม. ใช้ระยะปลูกต้นต่อแถวประมาณ 20 ซม. ภายใน 1 เดือน บัวบกจะเจริญชนกันเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 1-2 เดือนขึ้นไป ส่วนผักหวานบ้าน เด็ดยอดยาวประมาณ 12-15 ซม. ภายใน 10 วัน จะแตกยอดอ่อนออกมาให้รับประทานได้ทั้งปี การปลูกอาจใช้กิ่งชําหรือกล้าเมล็ด เมื่อต้นกล้ามีอายุได้ 45-60 วัน ก็ย้ายไปปลูกพรางแสงไว้ 10 วัน ต้นกล้าก็จะตั้งตัวได้ หรือขาดขุดดินตามแนวรั้วหยอดเมล็ดหรือปักชํากิ่งลงบนแปลงแล้วรดน้ำตาเมล็ดผักหวานจะงอกไปเรื่อยๆ ใช้เวลา 2-3 เดือนจึงงอกหมด

ผักหวานบ้าน
ผักหวานบ้าน ต้นเป็นพุ่ม ใบสีเขียวเข้ม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com
https://www.youtube.com

One Comment

Add a Comment