หลักการปลูกพืชผักต่างๆ เพื่อการบริโภค และเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญ

พืชผัก

พืชผัก หมายถึง พืชที่มนุษย์ใช้บริโภคเป็นอาหารประจําวัน ที่คุณค่าทางอาหารได้ครบถ้วน ให้แป้ง (คาร์โบไฮเดรท) และไขมัน ซึ่งให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย ให้โปรตีนที่ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ให้วิตามินและเกลือแร่ที่ช่วยทําให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อโรคภัยไข้เจ็บ สามารถดํารงชีวิตได้ตามปกติความสําคัญ

ผักเป็นพืชอาหารที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจของโลก ประเทศต่าง ๆ ในโลกนี้อาจมีการปลูกพืชต่างๆ กันเพื่อเป็นอาหารหลัก บางประเทศปลูกข้าวเป็นอาหาร แต่บางประเทศปลูกข้าวโพด ข้าวสาลี หรือมันฝรั่ง มันสําปะหลัง เพื่อเป็นอาหาร แต่พืชที่ทุก ๆ ประเทศต้องปลูกเพื่อการบริโภคเป็นอาหาร อย่างขาดไม่ได้เลยคือ พืชผัก เพราะพืชผักมีความสําคัญต่อการดํารงชีวติ ของร่างกายให้ดํารงอยู่ได้ตามปกติ บางประเทศมีการปลูกผักในพื้นที่กว้าง และเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญ สามารถทํารายได้เข้าสู่ประเทศอย่างมหาศาล ประเทศปลูกผักที่สําคัญของโลกได้แก่ อิสราเอล เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สเปน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่มีการปลูกผักเพื่อการบริโภค และมีการส่งพืชผักบางชนิด อาทิเช่น ข้าวโพดฝักอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น

การปลูกพืชผัก
การปลูกพืชผักเพื่อใช้บริโภคเป็นอาหาร

การจำแนกพืชผัก

การจําแนกพืชผักออกเป็นกลุ่มต่างๆ นั้น มีประโยชน์ในการใช้เรียกหาเพื่อให้เป็นสากลที่ทุกประเทศยอมรับ เข้าใจกันในการติดต่อสื่อสารกัน เพื่อให้ทราบแหล่งกําเนิดที่มา ทราบถึงลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ทราบอุปนิสัย การเจริญเติบโต สภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการเจริญเติบโต และทราบถึงส่วนของลําต้นที่น่าใช้ประโยชน์ เป็นต้น

การจําแนกพืชผักจึงแยกได้หลายลักษณะ ในที่นี้จะแยกเพียง 2 ลักษณะ

  1. การจําแนกพืชผักตามอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต การแบ่งกลุ่มพืชผักตามอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตจะทําให้เราสามารถเลือกฤดูกาลปลูก หรือสถานที่ปลูกที่เหมาะสมในการปลูกผักแต่ละชนิดได้
    1.1 ชนิดพืชผักที่ชอบอากาศเย็น เป็นกลุ่มผักที่เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศอยู่ที่ 16-18 องศาเซลเซียส พืชผักในกลุ่มนี้จึงเหมาะที่จะปลูกในฤดูหนาว หรือพื้นที่สูงที่มีอากาศเย็นกว่าพื้นที่ราบ ทุก ๆ ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 100 เมตร อุณหภูมิจะลดลง 1 องศาเซลเซียส พืชผักกลุ่มนี้ได้แก่ บรอกโคลี กะหลํ่าดอก กะหลํ่าดาว กะหลํ่าปลี กะหลํ่าปม ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหอม แครอท หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า กระเทียม ขึ้นฉ่าย ผักกาดหัว หอมหัวใหญ่ ปวยเล้ง ถั่วลันเตา เทอร์นิพ อองดิฟ พาร์สเล่ย์ พาร์สนิป ชาด เซลอรี่ เฟนเนล มันฝรั่ง ฯลฯ
    1.2 ชนิดพืชผักที่ต้องการอากาศอบอุ่น เป็นกลุ่มผักที่เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 18-30 องศาเซลเซียส พืชผักในกลุ่มนี้ได้แก่ แตงกวา แตงไทย มะเขือเทศ มะเขือยาว พริก พริกยักษ์ ฟักทอง มะระ บวบ นํ้าเต้า ฟักเขียว ถั่วเขียว ข้าวโพดฝักอ่อน
  2. การแบ่งกลุ่มพืชผักตามส่วนของการใช้ประโยชน์
    2.1 ราก ได้แก่ ผักกาดหัว แครอท หัวผักกาดแดง เทอร์นิพ พาร์สนิป มันเทศ มันสําปะหลัง
    2.2 ลําต้น ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง หน่อไม้ไผ่ตง กะหล่ำปม มันฝรั่ง เผือก กลอย มันมือเสือ ผักบุ้ง
    2.3 ใบ ได้แก่ คะน้า กะหลํ่าปลี ผักกาดขาวปลี ผักกวางตุ้ง ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ กระเทียมหัว กระเทียมต้น หอมแดง กุยช่าย
    2.4 ดอก ได้แก่ บรอคโคลี่ กะหลํ่าดอก ดอกโสน ดอกแค
    2.5 ผล ได้แก่ ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่ว เหลืองฝักสด ข้าวโพดหวาน กระเจี๊ยบ แตงกวา แตงเทศ มะระ ฟักเขียว ฟักทอง พริก พริกหวาน มะเขือเทศ มะเขือยาว ฯลฯ
หัวกะหล่ำปลี
หัวกะหล่ำปลี เป็นทรงกลม เปลือกสีเขียว

การจัดการดินและการเตรียมแปลงปลูกพืชผัก

การจัดการดิน
ผักสัวนใหญ่เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุค่อนข้างสั้นมีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว จึงต้องการธาตุอาหารอย่างมากจากดินที่ปลูก
การเตรียมแปลงปลูกผัก
ในพื้นที่เปิดใหม่ หรือที่ไม่ได้มีการทําการเกษตรมาก่อน หรือ แม้แต่พื้นที่ที่ปลูกพืชมานาน จนโครงสร้างของดินแน่นทึบ ก็จําเป็นต้องมีการไถพลิกดินขึ้น มาทําการย่อยดินให้ร่วนโปร่ง ลักษณะของแปลงปลูกผักที่เหมาะสมขึ้นกับสภาพพื้นที่ ในพื้นที่ลุ่มเขตภาคกลางของประเทศ เช่น นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร เพื่อการระบายน้ำที่ดี และความสะดวกในการให้น้ำ นิยมยกร่องกว้างและลึก แบบที่เรียกว่า ร่องจีน

การเพาะเมล็ดและเตรียมกล้าผัก

ในอดีตการปลูกผักนิยมทั้งวิธีการหว่านเมล็ดลงในแปลง และการเพาะเมล็ดลงในแปลงเพาะก่อนทําการย้ายกล้า แต่ในปัจจุบันมีการผลิตพันธุ์พืชดีออกมาใช้ ซึ่ง เมล็ดมีราคาแพงมาก แต่มีคุณภาพดี ดังนั้นการปลูกจึงได้เปลี่ยนมาใช้วิธีการเพาะกล้าก่อน แล้วจึงทําการย้ายกล้าที่แข็งแรงดีแล้วนั้น ลงสู่แปลงปลูกอีกที ซึ่งวิธีนี้ช่วยประหยัดเมล็ดพันธุ์ และยังได้ต้นพืชที่แข็งแรง สม่ำเสมอ

การเพาะต้นกล้า
การเพาะต้นกล้าก่อนนำไปปลูก

การดูแลรักษาแปลงผัก

การให้น้ำผักเป็นพืชอวบน้ำ จึงต้องการน้ำมากถ้าขาดน้ำผักจะเหี่ยวเฉาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะวันที่อากาศร้อนและมีลมแรง ซึ่งชักนําให้พืช ต้องคายนํามากเป็นพิเศษ ผักจะชะงักการเจริญเติบโต ถ้าผักได้รับน้ำไม่เพียงพอ ผลผลิตจะลดลงอย่างมาก ในระยะแรกเมื่อ ผักยังเล็ก จะต้องการน้ำไม่มากนักแปลงผักยกร่องกว้างแบบร่องจีน ในที่ราบลุ่มภาคกลาง การให้นํ้ากระทําโดยวิดนําจากท้องร่องขึ้นมาราดบนสันแปลงปลูกผักแปลงปลูกบนที่ดอนแบบยกร่อง การให้นาสามารถกระทำได้โดยปล่อยน้ำเข้าท่วมร่องแล้ว ให้นํ้าซึมเข้าสู่ด้านข้างแปลงทั้งสองด้าน

แปลงปลูกแบบไม่ยกร่องบนที่ดิน กระทําได้ 2 วิธี คือ

  1. แบบฉีดพ่นฝอยเหนือหัว ที่เรียกว่า สปริงเกอร์ ด้วยการวางท่อนําเข้าไปในแปลงปลูก และจะมีท่อตั้งขึ้นมา ความสูงแล้วแต่ขนาดความสูงของผัก ที่ปลายสุดของท่อจะเป็นหัวจ่ายน้ำ ด้วยแรงดันของน้ำที่พ่นออกมากระทบแผ่นกระจายนํ้า สายน้ำจะถูกทําให้กระจายตัวออกเป็นฝอย พ่นออกครอบคลุมพื้นที่ส่วนหนึ่ง ซึ่งขึ้นกับแรงดันน้ำ และลักษณะของหัวจ่าย
  2. แบบน้ำหยด เป็นการวางท่อนําเข้าไปในแปลงปลูกเช่นเดียวกัน แต่ท่อจะมีขนาดเล็กกว่าและวางชิดกับต้นพืชมากกว่า เมื่อผ่านต้นพืชแต่ละต้นจะมีรูเปิดเล็ก ๆ หรือท่อย่อยยื่น ออกมายังโคนต้นพืช เพื่อปล่อยน้ำให้หยดลงใกล้กับโคนต้น ซึ่ง เป็นบริเวณที่อยู่ของราก วิธีนี้ประหยัดน้ำมากที่สุด

การให้ปุ๋ยแก่พืชผัก ปุ๋ยที่ใช้ในการปลูกผัก แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์จะมีธาตุอาหารที่พืช ต้องการครบถ้วน และมักจะมีอยู่ในปริมาณค่อนข้างมาก
  2. ปุ๋ยอนินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ย เคมีชนิดต่างๆ ปัจจุบันดินปลูกผักมักขาดความอุดมสมบูรณ์ลง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียวจะปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับผักไม่ทันใช้ จึงต้องมีการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มให้กับผัก

การให้ปุ๋ยพืชผักในโรงเรือน ในต่างประเทศที่มีการปลูกผักในโรงเรือนและมีการให้นาไปตามท่อน้ำหยดจะมีระบบการผสมปุ๋ย ที่อยู่ในรูปสารละลาย ให้ผสมไปกับนํ้าในอัตราที่เหมาะกับระยะการเจริญเติบโตของผักไปพร้อมๆ กัน ปุ๋ยดังกล่าวจะถูกละลายน้ำเตรียมไว้ในลักษณะที่มีความเข้มข้นสูงและมักแยกเป็นถังอย่างน้อย 2 ถัง เนื่องจากธาตุอาหารบางตัวเมื่ออยู่ในรูปที่เข้มข้น จะทําจับกันตกเป็นตะกอน จึงต้องแยกออกจากกัน จากถังเก็บนํ้าปุ๋ย เข้มข้นมีท่อเชื่อมจากถังมายังระบบให้น้ำและมีปั๊ม ที่จะดูดปุ๋ยจากแต่ละถังในปริมาณที่ต้องการมาผสมกับนํ้าให้เจือจางลง และปล่อยไปตามท่อนํ้าไปหยดลงที่ต้นผักโดยตรง

การตัดแต่งกิ่ง ผักบางชนิดที่มีลำต้นสูงและมีอายุยืน เช่น พริก มะเขือเทศ โดยเฉพาะที่ปลูกในโรงเรือน จะมีการตัดแต่งกิ่ง บ้างเพื่อ ให้โปร่ง และตัดเอากิ่ง และใบที่ไม่มีประโยชน์ออกไป ซึ่งได้แก่ กิ่งและใบด้านล่าง ซึ่งมีอายุมากแลว

การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวผักกินใบมักจะดูจากอายุนับตั้งแต่ปลูก ส่วนผักกินผลนั้นขึ้นอยู่กับ ชนิด พริกและมะเขือเทศ สามารถดูได้จากสีผล หรือดูการเริ่มเปลี่ยนแปลงของสีซึ่งจะบอกถึงการสุกแก่ของผัก

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ผักเป็นพืชที่อวบนํ้าจึงบอบบาง ไม่ทนทานต่อแรงกระแทก การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติใดๆ หลังการเก็บเกี่ยว ควรกระทําอย่างระมัดระวังรวดเร็ว และมีน้อยขั้นตอนที่สุด จึงจะช่วยลดความเสียหายลงได้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment