โพแทสเซียม
โพแทสเซียม คืออะไร โพแทสเซียม เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมจะลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด
- ระดับโพแทสเซียมปกติในเลือด 3.5 – 5.0 mEq/L
- ระดับโพแทสเซียมต่ำในเลือด < 3.5 mEq/L ซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว
- ระดับโพแทสเซียมสูงในเลือด > 5.0 mEq/L เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

อาหารและโพแทสเซียมสำคัญอย่างไร
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังควรใส่ใจในการเลือกรับประทานผัก ผลไม้ ซึ่งเป็นกลุ่มอาหารหลักที่มีผลต่อแร่ธาตุโพแทสเซียมในเลือด การเลือกรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ จะช่วยลดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด และช่วยรักษาสภาวะน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ ลดภาวะบวมน้ำ รวมทั้งป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
ระดับโพแทสเซียมในอาหารชนิดต่างๆ
- อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง (กลุ่มผักสีเข้ม)
ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง - อาหารที่มีโพแทสเซียมปานกลาง
ได้แก่ สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู (ฝักอ่อน) พริกหวาน - อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ (กลุ่มผักสีซีด)
ได้แก่ ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว แฟง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา
รับประทานผัก-ผลไม้อย่างไรจึงเหมาะสม
การจำกัดผัก-ผลไม้ขึ้นอยู่กับระดับโพแทสเซียมในเลือด ถ้าผลเลือดอยู่ในระดับปกติ ไม่จำเป็นต้องงดผัก ผลไม้ ควรเลือกรับประทานผักผลไม้หมุนเวียนได้ตามปกติ สีเข้ม-อ่อน สลับกันไป แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ ควรปรับการรับประทานอาหารผัก-ผลไม้ ดังนี้

รู้ไว้ใช่ว่า
- หากนำผักมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มในน้ำแล้วเทน้ำทิ้ง จะสามารถลดโพแทสเซียมลงได้ แต่ข้อเสีย คือ วิตามินที่อยู่ในผักจะสูญเสียไปด้วย
-
ผู้ป่วยโรคไตที่มีเบาหวานร่วมด้วย ควรคำนึงถึงปริมาณของผลไม้ โดยกำหนดให้ไม่เกิน 2 ส่วน/วัน (2 จานรองกาแฟ) โดยรับประทานแยกมื้อกัน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-62
One Comment