ปฏิทินผลไม้ประจำฤดูกาล
ผลไม้เป็นสิ่งที่กินกันอยู่ประจำ แต่ถ้าใครสนใจอยากเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับผลไม้ที่มีประจำฤดูกาลต่าง ๆ จากเกษตรกร หรือผลไม้แต่ละเดือน โดยเฉพาะมือใหม่อาจยังสับสนว่าแต่ละฤดูกาลมีผลไม้ชนิดไหนออกบ้าง พร้อมแนะนำทริคการปลูกแบบนอกฤดูชนิดได้ผลลัพธ์ตรงใจ และการแปรรูปที่สามารถนำไปต่อยอดเสริมเป็นอีกธุรกิจได้สบาย ๆ ว่าแล้วไปศึกษาพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลยดีกว่า

ผลไม้ประจำฤดูกาลของประเทศไทย
ผลไม้ประจำฤดูกาล ฤดูกาลของผลไม้ไทย จะออกมาตามธรรมชาติ ผลไม้ของประเทศไทย ไม่ได้มีกระบวนการตกแต่งใด ๆ แม้กระทั่งปุ๋ย ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ก็ไม่มีกระตุ้นช่วยเลย จึงมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยจากสารเคมี ผลไม้บางชนิดก็ออกผลผลิตให้ตลอดปี เช่น มะพร้าว สับปะรด ส้ม กล้วย มะละกอ ส้ม แต่บางชนิดก็ออกแค่ช่วงสั้น ๆ หรือเป็นเดือน ราคาค่อนข้างถูก เพราะออกผลผลิตเยอะ หากินง่าย ได้ของสด รสชาติดั้งเดิม โดยผลไม้ที่ปลูกในประเทศไทย แต่ละช่วงเดือนมีผลไม้ประจำฤดู ดังนี้

- ช่วงเดือนมกราคม : จะมีส้มเกลี้ยง ฝรั่ง มะขามป้อม อ้อย องุ่น ชมพู่ มะตูม กล้วยหอม ชมพู่มะเหมี่ยว กระจับ มะขาม พุทรา
- ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ : มะขามป้อม องุ่น อ้อย ชมพู่ แตงโม กล้วยหอม ลูกตาล มะขาม มะตูม มะขามเทศ สับปะรด
- ช่วงเดือนมีนาคม : จะมีเป็นขนุน กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม มะม่วง แตงโม มะปราง มะพร้าว มะขาม
- ช่วงเดือนเมษายน : จะมีเป็นลิ้นจี่ ขนุน กล้วยหอม มะไฟ ลูกหว้า ทุเรียน แตงโม ชมพู่ แก้วมังกร
- ช่วงเดือนพฤษภาคม : จะมีเป็นขนุน ทุเรียน ระกำ เงาะ ลูกหว้า
- ช่วงเดือนมิถุนายน : จะมีเป็นระกำ กระท้อน สับปะรด ขนุน มะละกอ เงาะ ทุเรียน มังคุด
- ช่วงเดือนกรกฎาคม : จะมีกล้วยหักมุก กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ ส้มโอ มะยม แตงไทย ฝักบัว น้อยหน่า ส้มเขียวหวาน สับปะรด ฝรั่ง
- ช่วงเดือนสิงหาคม : จะมีกล้วยหอม ฝรั่ง มะเฟือง ลำไย ลางสาด ส้มโอ สับปะรด ส้มเกลี้ยง มะยม น้อยหน่า
- ช่วงเดือนกันยายน : จะมีส้มโอ มะกอกน้ำ มะยม ฝรั่ง ลางสาด กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ องุ่น มะเฟือง กล้วยหอม
- ช่วงเดือนตุลาคม : จะมีเป็นส้มซ่า ขนุน มันแกว ฝรั่ง ลางสาด มะเฟือง สาเก กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม องุ่น
- ช่วงเดือนพฤศจิกายน : จะมีเป็นองุ่น ส้มเขียวหวาน (บางมด) อ้อย กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า ละมุด มะขามป้อม มะละกอ แตงโม มันแกว ฝรั่ง
- ช่วงเดือนธันวาคม : จะเป็นพุทรา ขนุน ชมพู่ สับปะรด อ้อย มะละกอ ละมุด กล้วยน้ำว้า มะขามป้อม แตงโม ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน กล้วยหอม มะขาม
- ผลไม้ที่ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี : จะมี กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม ฝรั่ง มะเฟือง

การปลูกผลไม้นอกฤดูด้วยเทคนิคต่างๆ
ผลไม้ในฤดูไม่มีให้รับประทานแล้ว จะเลือกซื้อแบบนอกฤดูแทนแม้ว่าจะมีราคาที่แพงกว่าก็ตาม ทำให้ต้องประยุกต์ใช้ให้มีผลผลิตออกต่างฤดูกาลมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรก็ยอมรับและพากันทำตาม เพื่อให้มีผลผลิตส่งออกขายตามปกติ โดยเทคนิคที่น่าสนใจ ได้แก่
- ให้ใช้พันธุ์ผลไม้ที่สามารถออกดอกช่วงนอกฤดูได้อย่างสบาย ๆ อยู่แล้ว เช่น เลือกมะม่วงก็ให้เป็นพันธุ์น้ำดอกไม้ โชคอนันต์ พิมเสนมันทะวาย เป็นต้น ช่วยให้ออกผลตลอดปี
- เลือกช่วงเวลาที่ต้องการปลูกให้ไม่ตรงกับเกษตรกรคนอื่น ๆ เลือกเป็นผลไม้ที่มีอายุการเจริญเติบโตสั้น แต่ก็ออกดอกแล้วติดผลได้ดี เช่น มะละกอ กล้วย ที่โดยทั่วไปแล้วไม่ต้องดูแลอะไรมาก หากใครมีน้ำชลประทานอยู่ใกล้แนะนำให้ปลูกช่วงปลายฤดูฝนแทน หรือช่วงร้อนหน้าแล้งไปเลย เกิดผลผลิตที่ไม่ตรงกับแหล่งจำหน่ายอื่น ก็จะมีลูกค้าซื้อ เท่ากับมีผลไม้กินตลอดปี
- ผลไม้ที่ผลิดอกออกผลได้ไว แนะนำว่าให้ตัดแต่งกิ่ง เพื่อเกิดการแตกใหม่ ออกช่อดอก ออกผลมาอีกครั้ง เช่น ฝรั่ง น้อยหน่า องุ่น เป็นต้น
การวิจัยเกษตรที่ สวก.ให้การสนับสนุนทุนวิจัยเกษตรนั้น ก็ได้มีการศึกษาเรื่องของการผลิตนอกฤดูกาล เช่นการผลิตลำไยนอกฤดู โดยใช้เทคนิคต่างๆ ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลกำไรเพิ่มมากขึ้น และยังได้มีการศึกษาการปลูกสตรอเบอรี่นอกฤดูโดยทำการปลูกในโรงเรือนและมีการปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับการเติบโตของผลไม้นอกฤดูอีกด้วย


การแปรรูปผลไม้
ขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ แม้จะมีความละเอียดประณีต แต่เราสาสมารถแบ่งกระบวนการต่างๆ ได้ดังนี้
- ทำลายเอนไซม์และจุลินทรีย์ด้วยการใช้ความร้อน
ปกติแล้วสามารถใช้ความร้อนเพื่อทำลายจุลินทรีย์และเอนไซม์ได้ แบ่งออกเป็น 2 เทคนิคความร้อน คือ การพาสเจอไรส์ที่ทำลายจุลินทรีย์แบบบางส่วน เอาไปทำเป็นผลไม้กระป๋อง และอีกเทคนิคคือการสตอริไรส์ที่ใช้ความร้อน 121 องศาเซลเซียส มีระยะเวลาการทำลายที่นาน - การอบแห้ง
เป็นการแปรรูปที่ใช้กันเนิ่นนาน โดยไล่เอาน้ำออกจากผลผลิต หรือให้เหลือน้อยที่สุดด้วยความร้อนในระดับหนึ่ง สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใส่ตู้อบแห้งแบบสุญญากาศ ตากแดด ใช้ตู้อบแบบลมร้อน การทำแห้งแบบลูกกลิ้ง การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง - แปรรูปด้วยการหมักดอง
ผลไม้หมักดองคงได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งเป็นอีกการแปรรูปที่น่าสนใจ อาศัยการทำงานของจุลินทรีย์ที่จะสร้างเอนไซม์ออกมาเปลี่ยนสารอาหาร องค์ประกอบทางเคมีจะเป็นกรดอินทรีย์ ก๊าซคาร์บอนแอลกอฮอล์ ให้เนื้ออยู่ในลักษณะสัมผัส มีส่วนประกอบทางเคมีที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถเก็บไว้กินได้นานมากขึ้น
จริง ๆ แล้วเทคนิคการแปรรูปผลไม้ยังมีอีกมากมาย เช่น การให้ความเย็นเพื่อไปลดอุณหภูมิผลผลิต การใช้น้ำตาลให้ผลผลิตมีรสหวานมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งการเข้าใจถึงรายละเอียดเหล่านี้ จะช่วยเริ่มต้นทำผลผลิตผ่านไปด้วยดี สามารถวางแผนการทำงานได้อย่างราบรื่น คิดจะปลูกผลผลิตใดก็ผลิดอกออกผล หรือแม้แต่การสร้างผลผลิตนอกฤดู ช่วยให้มีการค้าขายอยู่ตลอดปี เกิดการหมุนเวียนทางกำไรได้เรื่อย ๆ ไม่ต้องห่วงเรื่องเงินขาดมือ เพราะถึงอย่างไรสิ่งนี้ก็เป็นความอิ่มท้อง และให้ประโยชน์ทางโภชนาการที่ร่างกายต้องการเสมอ



แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
www.arda.or.th
www.flickr.com
5 Comments